ช่วงวันหยุดยาวมีคำถามจากผู้ติดตามรายการ Weekly C3 ท่านหนึ่งสอบถามมายังทีมงานเกี่ยวกับ Windows XP ว่า หลังไมโครซอฟท์ยกเลิกการซัพพอร์ตปรากฎว่ามีการอัพเดทโน่นนี่ที่คอมพิวเตอร์เต็มไปหมด ประเด็นคือ อัพเดทเหล่านี้จริง หรือปลอมอ่ะ?

windows-xp-many-patches-is-it-ok

เป็นคำถามที่น่าสนใจดีนะคะ เผื่อว่าใครหลายๆ คนที่ยังใช้ Windows XP อยู่ แล้วเจอปรากฎการณ์ลักษณะเดียวกันนี้จะได้ประโยชน์ไปด้วย ข้อเท็จจริงที่เพื่อนๆ ควรทราบก่อนเป็นประเด็นแรกก็คือ ไมโครซอฟท์ได้ออกแพตช์ตัวสุดท้ายให้กับ Windows XP เพื่อความปลอดภัยของระบบการทำงานในวันที่ 8 เมษายน ที่ผ่านมา ในขณะเดียวกัน เหล่าบรรดาซอฟต์แวร์ และผู้ให้บริการระบบรักษาความปลอดภัยรายอื่นๆ ก็ได้ออกอัพเดทของตัวเองตามมาหลังจากไมโครซอฟท์ออกแพตช์ตัวสุดท้ายด้วย ซึ่งซอฟต์แวร์แก้ไขข้อบกพร่องของการทำงาน และอุดช่องโหว่ หรือแพตช์ตัวล่าสุดสำหรับ Windows XP จะเป็นการแก้ไขจุดอ่อน 6 แห่งที่อาจถูกนำไปใช้ในการโจมตี เพื่อเข้าควบคุมการทำงานของระบบโดยผู้บุกรุก ดังนั้น อัพเดทจากไมโครซอฟท์ที่แฟนคลับรายนี้ได้รับ คงจะเป็นของจริงแท้ทีสุด ในขณะที่อัพเดทจากซอฟต์แวร์ต่างๆ ควรสังเกตด้วยว่า มันเป็นอัพเดทที่มาจากซอฟต์แวร์ หรือโปรแกรมที่เราใช้อยู่ในเครื่องจริงๆ ไม่เช่นนั้น อาจโดนเล่นงานได้ค่ะ ข้อเท็จจริงที่เพื่อนๆ ควรทราบต่อมาก็คือ หลังยกเลิกการซัพพอร์ต XP เหล่าบรรดาแฮคเกอร์จะสามารถใช้แพตช์ของ Windows 7 และ Windows 8 ที่จะออกมาในอนาคต เพื่อหาวิธีกลับมาโจมตีช่องโหว่ใน Windows XP ได้ง่ายขึ้น – -”

windows-xp-many-patches-is-it-ok-2

ที่เผลอท่องเว็บดังกล่าว ถูกโจมตี และควบคุมระบบ ยิ่งไม่มีการซัพพอร์ท ผู้เล่นเหล่านี้ยิ่งกระโดดเข้ามาได้ง่ายขึ้น ทั้งนี้ไม่ขึ้นอยู่กับว่า ผู้ใช้จะใช้บราวเซอร์อะไร เนื่องจากช่องโหว่ที่พบไม่ได้เกี่ยวกับบราวเซอร์โดยตรง แต่เป็นที่ระบบปฏิบัติการเนื่องจากอย่างที่ทราบกันดีกว่า แค่เปิดอีเมล์ แหรือใช้โปรแกรมสนทนาต่างๆ นั่นก็เท่ากับเป็นการเชื้อเชิญให้มัลแวร์จากผู้ไม่หวังดีมีโอกาสเข้าไปติดในเครื่อคอมพิวเตอร์แล้ว และเช่นเดียวกัน มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่า โปรแกรมอีเมล์ที่ใช้ หรือโปรแกรมสื่อสารเป็นตัวไหน เพราะมันมีความเสี่ยงเท่ากันหมด วิธีที่ปลอดภัยในการท่องเว็บด้วยโปรแกรมเหล่านี้สำหรับคุณก็คือ อย่าคลิกบนลิงค์ใดๆ หรือเปิดไฟล์แนบ ถ้าไม่แน่ใจ หรือแม้แต่จะแน่ใจ แต่ก็ยังคงเสี่ยงอยู่ว่า มันอาจจะถูกส่งมาจากเครื่องของเพื่อนจริงๆ แต่เป็นไวรัสที่อยู่ในเครื่องของเขาที่ส่งมา – -” นอกจากการเชื่อมต่อเน็ตตอนนี้จะไม่ปลอดภัยสำหรับผู้ใช้ XP แล้ว อีกประการหนึ่งที่อยากจะแนะนำก็คือ อย่าคิดว่า การใช้ไดรฟ์ USB ในการถ่ายโอนไฟล์จะปลอดภัย เพราะอุปกรณ์สื่อบรรทึกพวกนี้ เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่เหล่าบรรดาแฮคเกอร์ชอบใช้ในการแพร่กระจายมัลแวร์ ถ้าเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงการถ่ายโอนไฟล์จากแฟลชไดรฟ์ที่ไม่มั่นใจว่าปลอดภัยนะคะ

[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=-RGnNT91b1w[/youtube]

via: Daily-IT