ตอนนี้ผู้ใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิตินอกจากของใช้แล้ว ตอนนี้นักวิจัยจากจีนสามารถใช้พิมพ์ข้อกระดูกสันหลังเพื่อเปลี่ยนให้เด็กอายุ 12 ปีได้สำเร็จ

rtr43aap

นี่ถือเป็นครั้งแรกในวงการแพทย์ที่นำเครื่องพิมพ์สามมิติมาใช้ผลิตชิ้ส่วนอวัยวะที่นำมาใช้การผ่าตัด โปรเจคนี้นำโดย  Dr. Liu Zhongjun จากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง

เมื่อหลายเดือนก่อนเด็กชายชื่อ หมิงห่าว ได้เกิออาการบาดเจ็บที่คอหลังจากโหม่งลูกฟุตบอล หลังจากที่แพทย์วินิจฉัยก็พบโรคอื่น นั่นก็คือ โรคมะเร็งซาร์โคมาหรือโรคมะเร็งกระดูกที่พบน้อยมากๆ มะเร็งนี้พบที่กระดูกต้นคอข้อที่สองจึงจำเป็นต้องผ่าตัดออกและใส่ข้อกระดูกเทียมเข้าไปแทน หมิ่งห่าวต้องนอนโรงพยาบาลเป็นเวลาหลายเดือนและไม่สามารถยกคอได้

rtr43aaz

ปกติการเปลี่ยนข้อกระดูกเทียมนั้นจะใช้ซีเมนต์และน็อตยึดกับท่อไทเทเนียมติดไปแทนกระดูกชิ้นเดิม ส่วนการพักฟื้นนั้นต้องใช้เวลา 2-3 เดือนเพราะกระดูกเทียมที่ใส้เข้าไปนั้นมันจะไม่ได้พอดีอย่างเป็นธรรมชาติเป๊ะๆกับกระดูกข้ออื่นๆ  นอกจากนี้ผู้ป่วยยังมีความเสี่ยงเรื่องข้อกระดูกเทียมเลื่อนหรือทำงานติดขัดกับกระดูกข้ออื่นๆ

แต่ในเดือนที่ผ่านมาทางด็อกเตอร์ Zhongjun และทีมแพทย์ได้ตัดสินใจใช้เครื่องพิม์สามมิติพิมพ์ข้อกระดูกเทียมออกมาแล้วเปลี่ยนแทนของเดิมเพื่อให้มีขนาดพอดีกับกระดูกชิ้นอื่นๆ ซึ่งเค้าได้ทำการศึกษาเทคโนโลยีนี้มาหลายปีและเริ่มทดสอบครั้งแรกในปี 2012 แต่หมิงห่าวถือเป็นผู้ป่วยรายแรกที่ผ่าตัดด้วยวิธีนี้

 

ปกติเครื่องพิมพ์สามมิติส่วนใหญ่นันจะใช้พลาสติกแทนหมึกในการพิมพ์ของต่างๆออกมา แต่เราก็สามารถเปลี่ยนวัสดุที่ใช้ได้ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับเครื่องพิมพ์ด้วย อย่างในเคสนี้ทีมแพทย์ได้ใช้ผงไทเทเนียมแทนพลาสติก ซึ่งมันถูกใช้ผลิตข้อกระดูกเทียมอยู่แล้วเพราะร่างกายเกิดการต่อต้านน้อย แถมยังมีน้ำหนักเบาและแข็งแรง ก่อนการพิมพ์ แพทย์จะทำการสแกนกระดูกอย่างละเอียด เพื่อให้ข้อกระดูกเทียมนี้ใกล้เคียงกับของเดิมมากที่สุด หนึ่งเดือนหลังผ่าตัดหมิงห่าวก็มีอาการดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด การที่ข้อกระดูกเทียมมีขนาดพอดีจึงทำให้ร่างกายฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วกว่าวิธีเดิม

นี่ถือเป็นอีกก้าวสำคัญของวงการแพทย์และเทคโนโลยีที่จะช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ในอนาคตก็น่าจะมีการวิจัยให้สามารถสั่งพิมพ์อวัยวะอื่นๆได้อีก

VIA businessinsider