ถ้าคอมพิวเตอร์ไม่มีจอ หลายคนคงมองว่าเปล่าประโยชน์ แต่ในประเทศด้อยพัฒนา มันกลับกลายเป็นเครื่องมือชิ้นสำคัญสอนเด็กๆ ช่วยให้ความรู้เกี่ยวกับการทำยังไงให้มีชีวิตรอดปลอดภัยได้

talking-book-970x0

คอมพิวเตอร์เครื่องนี้มีชื่อว่า Talking Books เป็นคอมพิวเตอร์ที่ไม่มีจอ เอาไว้ทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์พกพาสำหรับคน 40,000 คนในประเทศกาน่า นี่ถือเป็นอีกหนึ่งความพยายามของสามองค์กร คือ Literacy Bridge, UNICEF และ ARM Unite

เจ้า Talking Books นี้บรรจุการ์ด micro SD เอาไว้ ซึ่งภายในบรรจุบทเรียนและความรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพเอาไว้ยาวมากกว่า 100 ชั่วโมง นำไปแจกจ่ายให้หมู่บ้านยากจนในกาน่า 50 หมู่บ้าน เมื่อเปิดฟังคนในหมู่บ้านก็จะรู้จักวิธีป้องกันตัวเองจากการระบาดของเชื้ออีโบล่า, โรคอหิวาห์ รวมถึงการรักษาเบื้องต้น, การให้นมทารกในช่วง 6 เดือนแรกนับตั้งแต่คลอดออกมา, การระบุและรักษาโรคที่เกิดกับพืชที่ปลูก, การผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากมูลสัตว์ และหัวข้อสำคัญๆอีกเพียบ โดยในแต่ละเครื่องนั้นจะบรรยายด้วบภาษาท้องถิ่น รวมถึงมีปุ่มให้กดเพื่อบอกว่าสนใจเรื่องที่กำลังฟังอยู่ โดยเรื่องที่เล่านั้นจะไม่ได้ใช้การบรรยายแบบเดียว แต่จะมีทั้งเป็นเพลง, นิทาน, ละครวิทยุ สัมภาษณ์เจ้าหน้าที่สาธารณะสุขหรือเพื่อนในหมู่บ้าน

ผู้ฟังสามารถปรับความเร็วของเสียง มีระบบ  “audio links” ที่เปรียบเหมือนพจนานุกรม เอาไว้คอยอธิบายความหมายของคำศัพท์ที่ไม่เข้าใจได้ นอกจากนั้นตัวเครื่องยังมีไมโครโฟน ช่วยให้ผู้ฟังโต้ตอบกับสิ่งที่ฟังได้ด้วยการให้ความเห็นกลับไป รวมถึงตอบคำถามทดสอบความเข้าใจหลังฟังบทเรียนจบแล้ว

Talking Books นั้นถูกสร้างมาให้มีความทนทานต่อพายุฝุ่นและฝนเขตร้อน, ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ zinc-carbon ที่มีราคาถูก หาซื้อในกาน่าได้, ใช้งานต่อเนื่องได้ 15 ชั่วโมง แต่ตอนนี้ทางนักวิจัยจาก University of Michigan กำลังพัฒนารุ่นใหม่ใส่ชิพเสริมเข้าไปที่จะช่วยให้ใช้งานได้ยาวนานขึ้น พร้อมวางแผนนำไปแจกในประเทศอื่นๆเพิ่มอีก

VIA digitaltrends