คุณเป็นคนหนึ่งไหม…ที่ที่ “ไม่เข้าใจ” เนื้อหาที่คุณครูสอน?

คุณเป็นคนหนึ่งไหม…ที่มีความ “ไม่รู้” อยู่เต็มสมอง?

และคุณเป็นคนหนึ่งไหมที่มีความ “อยากรู้” อยู่ล้นตัวคุณ?

Digital for EDU

ปัญหาเหล่านี้จะหมดไปด้วยเครื่องมือวิเศษจาก google  เครื่องมือวิเศษที่กำลังพูดถึงอยู่นี้คือโครงการ google for education ที่ทางกูเกิ้ลประเทศไทยได้ประกาศก้าวแรกแห่งความสำเร็จไปเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2558 โดยเชิญผู้ผลิตสื่อทางด้านการศึกษาที่ประสบความสำเร็จเหล่านี้ไม่ว่าจะเป็นตัวแทนครูจากโรงเรียนต่างๆ  ตัวแทนอาจารย์จากทางมหาวิทยาลัยต้นแบบที่เข้าร่วมโครงการ  และตัวแทน Content creator ที่ประสบความสำเร็จมาร่วมแชร์ประสบการณ์ในครั้งนี้

Josh Engel

โดยแขกคนสำคัญจากทาง Google คือคุณจอช เองเกล Youtube Content Partnership, Asia Pacific ผู้อยู่เบื้อหลังการผลิตเนื้องหาทางด้านการศึกษาบน YouTube โดยเฉพาะ  โดยคุณจอชได้เลือกประเทศไทยเป็นประเทศแรกในเอเชียในการที่มาเยือนในครั้งนี้เนื่องจากมองว่าคนไทยมีความสามารถในการผลิตสื่อทางด้านการศึกษาและคนไทยมีความเติบโตในการใช้งาน YouTube อย่างมาก  โดยคุณจอชฝากถึงความตั้งใจที่จะเปลี่ยนโฉมประสบการณ์การเรียนในประเทศไทยด้วย YouTube และเชิญชวญให้คนไทยทุกๆคนร่วมกันผลิตเนื้อหาทางการศึกษาดีๆเพื่อแบ่งปันกัน

IMG_3585

ฟากเจ้าภาพอย่าง  คุณอริยะ พนมยงค์ หัวหน้าฝ่ายธุรกิจ กูเกิลประเทศไทย  ได้ให้สัมภาษณ์กับทีมข่าวว่า “วันนี้ถือเป็นวันที่ฝันของใครหลายๆคนรวมถึงผมเป็นจริง  ไม่ใช่แค่มุมมองของ google ที่เป็นเจ้าของแพลตฟอร์มที่ให้ทุกๆคนได้ใช้งานแล้วแต่ในมุมมองของผู้เป็นพ่อเช่นผม  ผมรู้สึกดีที่จะมีสื่อดีๆเหล่านี้ให้เด็กๆได้เข้าไปหาความรู้”  ทีมข่าวสอบถามคุณอริยะต่อว่าทางกูเกิลประเทศไทยวางแผนอะไรเกี่ยวกับ google for education ไว้บ้าง  คุณอริยะได้ให้คำตอบว่าจริงๆแล้ว Google มองว่าในเรื่องของการศึกษาในยุคดิจิตอลจะเป็นส่วนสำคัญในโครงการ digital economy ที่ทางภาครัฐกำลังพลักดัน  เนื่องจากการศึกษาคือระบบพื้นฐานในการพัฒนาคนและพัฒนาประเทศ  โดยเราต้องหาทางทำให้สิ่งเหล่านี้เป็นจริงและถูกใช้งานอย่างแพร่หลายต่อไป  โดยที่ผู้เข้ามาศึกษาจะได้รับเนื้อหาที่มีคุณภาพและที่สำคัญคือ “ฟรี”

ด้านหน่วยงานที่ไม่ใช่หน่วยงานทางการศึกษาหรือบุคคลภายนอกที่ผลิตสื่อทางด้านการศึกษาอย่าง “ormschool” ผู้อยู่ในวงการนี้มากว่า 10 ปี ได้เล่าให้เราฟังว่า “เราเริ่มนับหนึ่งจากวันที่มีวีดีโอหลักร้อย  และตอนนี้เรามีวีดีโอมากกว่า 10,000 คลิป  และเราตั้งเป้าไว้มากกว่า 100,000 คลิปเพื่อให้ความไม่รู้ในเรื่องต่างๆหมดไป”  และทางคุณนิติการณ์  ประกอบธรรม ผู้ก่อตั้งออมสกูล  ได้เล่าถึงความภูมิใจในการผลิตเนื้อหาเหล่านี้ว่ามีหลายๆเคสที่ทำให้มีกำลังใจในการทำต่อไป เช่น “จากเด็กนักเรียนที่สอบตกวิชาเคมีกลับทำคะแนนขึ้นมาอยู่ในอันดับ 1 หรือ จากเด็กหลังห้องผู้ไม่พูดจากับใครท้วงติงครูผู้สอนว่าสอนผิดและอธิบายสิ่งที่ตนเข้าใจ  จนคุณครูทราบสิ่งที่สอนผิดและมองเด็กคนนี้เปลี่ยนไป”  ถือว่าเป็นสังคมออนไลน์  สังคมแห่งการแบ่งปันความรู้อย่างสาธารณะ

Google-EDU

คำถามที่ใครหลายๆคนกำลังสงสัยตอนนี้คงจะไม่พ้นว่า “แล้วเราจะเริ่มต้นอย่างไร?”

คุณครูสวรรค์​ ดวงมณี ครูชำนาญการพิเศษวิชาคอมพิวเตอร์ โรงเรียนสุรธรรมพิทักษ์ จังหวัดนครราชสีมา  ได้ให้คำแนะนำกับเราว่าก่อนอื่นต้องทำการสำรวจความพร้อม  ซึ่งระบบต่างๆที่ทาง google มีสามารถเข้าถึงได้ง่ายๆ เช่น คุณครูแต่ละท่านสามารถใช้ Smartphone ที่มีถ่ายคลิปได้เลย  หรือแม้แต่กระทั่งการนำสื่อการเรียนการสอนที่มีอยู่แล้วมาใช้อัพโหลดลงบน YouTube ก็ทำได้  นั้นแสดงให้เห็นถึงความง่ายในการใช้งานแต่คุณครูสวรรค์ได้ฝากสิ่งสำคัญในเรื่องของการตรวจสอบความถูดต้องของเนื้อหาผู้ผลิตเนื้อหาควรมีจรรยาบรรณในการจัดทำ  ควรคำนึงถึงความถูกต้องและมีการตรวจสอบก่อนเผยแพร่

แต่สิ่งหนึ่งที่เราอยากจะบอกทุกๆท่านคือ…ในเมื่อมีผู้ที่ไม่รู้และต้องการที่จะหาความรู้อยู่มากมาย  ในเมื่อ google มีพื้นที่ให้นำเนื้อหาต่างๆไปเผยแพร่เพื่อลบล้างความไม่รู้ให้หมดไป  และเมื่อมีผู้ผลิตเนื้อหาต่างๆเพื่อให้ผู้ที่เข้ามาได้ศึกษาหาความรู้ที่มีคุณภาพได้อย่างฟรีๆ  แล้วคุณหละ…ไม่อยาที่จะนำสิ่งที่คุณรู้มาสร้างเป็นเนื้อหาเพื่อแบ่งปันผู้อื่น  เพื่อสร้างสังคมออนไลน์ให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ที่ไม่ว่าใครๆก็สามารถเข้าถึงได้  ทุกที่และทุกเวลา!!