ในหลายกรณี อุบัติเหตุมักจะเกิดจากความผิดพลาดของผู้ขับเอง และจะดีแค่ไหนถ้ามีระบบที่สามารถทำนายสิ่งเหล่านี้ได้ก่อนที่เรื่องร้ายแรงจะเกิดขึ้น

150417103011-cornell-distracted-driving-exlarge-169

นี่คือเทคโนโลยีใหม่ที่พัฒนาขึ้นโดยนักวิจัยจาก Cornell และ Stanford university ในขณะที่รถยนต์รุ่นใหม่ๆติดตั้งเซนเซอร์และกล้องเอาไว้เพื่อดุรถยนต์และสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบคันรถ แต่ระบบใหม่นี้จะใช้กล้องติดตั้งในรถเพื่อสอดส่องคนขับรถ

การเคลื่อนไหวของศีรษะและร่างกายนั้นสามารถบ่งบอกได้ว่าผู้ขับกำลังจะกลับรถหรือเปลี่ยนช่องทางในอีกไม่กี่วินาทีข้างหน้า เมื่อข้อมูลเหล่านี้มารวมกับข้อมูลจากเซนเซอร์ด้านนอกรถ คอมพิวเตอร์ในรถจะทำการประมวลผล จนสามารถทำนายว่าผู้ขับจะมีพฤติกรรมเสียงหรือไม่ เช่นกำลังจะเลี้ยวซ้ายในขณะที่มีรถตามมาด้านหลังในระยะกระชั้นชิด ระบบจะทำการแจ้งเตือนทันทีเพื่อไม่ให้เกิดการชน อกจากนั้นยังมีการใช้ข้อมูลจาก GPS ในการแจ้งเตือนการทำผิดกฎจราจร เช่น การกลับรถในที่ห้ามกลับ

ในการพัฒนาระบบนี้ Ashutosh Saxena และเพื่อนร่วมงานจาก Cornell ได้ทำการบันทึกวิดีโอคนขับรถ 10 คน มารวมกับวิดีโอที่บันทึกจากด้านนอกของรถในขณะขับขี่ ซึ่งระยะทางที่ขับรวมๆแล้วเกือบ 1,200 ไมล์ ใช้เวลามากกว่า 2 เดือนในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล คอมพิวเตอร์จะค่อยๆเรียนรู้ความเชื่อมโยงระหว่างการขยับของศีรษะกับการควบคุมรถ เลี้ยววซ้าย เลี้ยวขวา เปลี่ยนเลนหรือกลับรถ ซึ่งมันสามารถทำนายได้แม่นยำถึง 77.4% เฉลี่ยใช้เวลาเตือนล่วงหน้าก่อนที่จะเปลี่ยนเลน 3.5 วินาที

แน่นอนว่าระบบนี้ยังต้องได้รับการพัฒนาขึ้นไปอีก บางครั้งระบบการตรวจจับใบหน้าก็ไม่สามารถทำงานได้ เมื่อขับรถในที่ที่มีเงาใหญ่ๆพาดผ่านใบหน้า การเพิ่มการตรวจจับเวลาที่คนขับพูดคุยปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นๆที่อยู่ในรถ บางคนก็มีพฤติกรรมการขับก็ไม่ได้มีความสัมพันธ์กับการขยับของร่างกาย เป็นต้น นอกจากนั้นการเพิ่มการตรวจจับการเคลื่อนไหวของดวงตา รวมถึงการเพิ่มเซนเซอร์จับการหมุนพวงมาลัยและการเหยียบคันเร่ง/เบรค จะทำให้ระบบมีความแม่นยำขึ้น

VIA CNN