Facial recognition

อาจารย์ด้านวิทยศาสตร์คอมพิวเตอร์นำ Facial recognition ระบบตรวจจับใบหน้าและอารมณ์มาช่วยวัดระดับความตั้งใจฟังของนักศึกษาในชั้นเรียน

.

Facial recognition

ศาสตราจารย์ Wei Xiaoyong ได้พัฒนาระบบ “face reader” สำหรับใช้กับนักศึกษาเพื่อดูว่ามีความสนใจในการเรียนมากน้อยแค่ไหน จากนั้นนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์เพื่อปรับการสอนให้ดีขึ้น

ไอเดียเริ่มแรกนั้น เค้าตั้งใจที่จะใช้ระบบนี้เป็นตัวช่วยในการเช็คชื่อว่าใครเข้าเรียนบ้าง เค้าก็มานั่งคิดต่อว่ายังมีข้อมูลอย่างอื่นอีกที่เก็บมาพร้อมกัน เช่น ความสัมพันธ์ของแต่ละคนโดยดูจากการนั่งว่าชอบนั่งกับใคร เป็นต้น จากจุดนั้นเองทำให้เค้าเริ่มใส่ใจไม่ใช่แค่เรื่องการสอนเท่านั้น แต่เรื่องอารมณ์ความรู้สึกก็สำคัญ ตัวระบบก็เลยพัฒนาให้เช็คอารมณืความรู้สึกของนักศึกษาด้วย

ข้อมูลที่เก็บมาเอามาใช้วิเคราะห์พฤติกรรมของนักศึกษาในชั้นเรียน เพื่อเอามาใช้ปรับปรุงการสอนให้ดีขึ้น เพราะการสอนแบบเดิมๆซ้ำๆที่มีรูปแบบตายตัวก็ทำให้เด็กหันเหความสนใจไปยังเรื่องอื่นๆได้ง่าย

screen-shot-2016-09-14-at-3-14-37-pm

ในการใช้งานระบบนี้เค้าจะแจ้งให้นักศึกษารู้ก่อน โดยจะให้เวลาทำความคุ้นเคยด้วยการเข้าเรียนเป็นเวลา 3 สัปดาห์ ถ้าใครไม่ชอบก็สามารถเปลี่ยนคลาสหรือดร็อปวิชานี้ไป ส่วนคนที่รับได้ก็จะมีการเซ็นเอกสารยินยอมให้ใช้เทคโนโลยีเก็บข้อมูล

ตัวระบบเองถือว่าอยู่ในช่วงต้นของการพัฒนา ยังมีจุดอ่อนอยู่สองอย่าง คือ หนึ่งอารมณ์ๆหลักๆจะตรวจจับอยู่  2 อย่างคือ มีความสุขกับเฉยๆ ซึ่งในอนาคตเราสามารถเพิ่มอารฒณ์อื่นเข้าไปได้อีก สองคือตัวระบบยังทำงานแบบออฟไลน์ ไม่ใช่แบบ Real-time ซึ่งอาจารย์จะรู้ข้อมูลก็เมื่อสอนเสร็จแล้ว

VIA digitaltrends