กระดูกหักทีนอกจะเจ็บตัว แล้วปัญหาอีกอย่างนึงก็คือไม่รู้ว่าเมื่อไหร่กระดูกจะผสานกันซะทีนี่สิ บางคนไม่กี่อาทิตย์ บางคนก็เป็นเดือน
ด้วยเหตุนี้ Pedro Nakazato Andrade นักศึกษาปริญญาโทจาก Copenhagen Institute of Interaction Design จึงได้ออกแบบเฝือกคอนเซ็ปที่มีชื่อว่า “Bones” ขึ้นมาโดยมันติดตั้งเซนเซอร์สำหรับการตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (electromyographic sensors) ทำให้สามารถอ่านค่ากิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อรอบๆกระดูกส่วนที่หักได้ โดยมันจะส่งข้อมูลและค่าต่างๆที่อ่านได้ไปยังเวปไซท์ที่จัดการเรื่องสุขภาพ เพื่อให้ผู้ป่วยและคุณหมอที่รักษาสามารถแบ่งปันข้อมูลและพูดคุยเกี่ยวกับอาการต่างๆได้ ผู้ป่วยไม่ต้องไปเสียเวลาคอยหน้าห้องรอปรึกษากับคุณหมอก็สามารถรู้ได้ว่ากระดูกผสานตัวไปถึงไหนแล้ว
นอกจากนี้ยังมีการนำสื่อสังคมออนไลน์มาช่วย ด้วยการแชร์ข้อมูลการรักษาเหล่านี้ให้กับผู้ที่กระดูกหักคนอื่นๆได้ด้วย เพื่อชี้ให้เห็นข้อดีและส่งเสริมให้ผู้ป่วยคนอื่นๆหันมาใช้วิธีรักษาแบบนี้ เพราะผู้ป่วยหลายๆคนยังไม่แน่ใจและไม่กล้าลองวิธีการรักษาแบบใหม่ๆ เมื่อผู้ป่วยได้รับรู้ข้อมูลของคนอื่นๆก็จะมีแนวโน้มหันมาดูแลตัวเองมากขึ้น ปฎิบัติตามคำแนะนำในเวปไซต์มากขึ้น แถมยังช่วยลดเวลาการรักษาตัวให้หายได้ไวขึ้นและลดค่ายาได้อีกค่ะ เรียกว่าได้ประโยชน์หลายต่อเลยทีเดียว
VIA fastdesign