สมัยก่อนถ้่านักเรียนคนไหนอยากได้ทุนการศึกษาก็ต้องเขียนเรียงความเข้าไปประกวด แต่ตอนนี้ไม่ต้องแล้วล่ะใช้ทวิตเตอร์นี่แหละ

มูลนิธิ Kentucky Fried Chicken Foundation เปิดโอกาสให้นักศึกษาระดับมัธยมปลายทวีตรูปภาพเพื่อแสดงว่าการศึกษาสำคัญกับพวกเค้าและมีส่วนสร้างสังคมที่อยู่แค่ไหน ทางมูลนิธิจะประกาศรายชื่อผู้ชนะเลิศวันที่ 15 ธันวาคมนี้ โดยผู้ขนะจะได้รับเงินทุนการศึกษาสูงสุด 5,000$ (150,000 บาท) ต่อปีเพื่ือใช้ศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยของรัฐในบ้านเกิดของพวกเค้าเองผู้ที่สนใจสามารถส่งรูปร่วมแข่งขันได้ถึงวันที่ 13 ธันวาคมนี้ และจะประกาศรายชื่อผู้ชนะในวันที่ 15 ธันวาคมนี้

KFC เริ่มใช้ทวิตเตอร์เป็นช่องทางการในการแจกทุนมาตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยมีผู้สมัครมากกว่า 2,800 คน โดยผู้ชนะในปีที่แล้วได้แก่ Amanda Russell จากแคลิฟอร์เนีย โดยมีข้อความทวีตดังนี้: “#KFCScholar Hey Colonel! Your scholarship’s the secret ingredient missing from my recipe for success! Got the grades, drive, just need cash!” (นี่ ผู้พัน! ทุนการศึกษาของท่าน เป็นสูตรลับที่ขาดไปจากสูตรลับความสำเร็จของผม! เกรดดีแล้ว! มีแรงผลักดันแล้ว! เหลือแค่ทุนการศึกษา”

องค์กรอื่นๆที่เคยใช้การเขียนเรียงความยาวๆในการคัดเลือกผู้ขอรับทุนก็หันมาให้ทุนการศึกษาผ่านข้อความแค่ 140 ตัวอักษร อย่างฤดูร้อนที่ผ่านมาเวปไซต์ Scholarships.com ก็ให้ทุนที่มีชื่อว่า “Short and Tweet” เป็นจำนวนเงิน 1,000$ (30,000 บาท) และ Amazon Kindle e-readers กับนักเรียนสามคนที่ตอบคำถาม “เงินทุนการศึกษา 1,000$ มีความหมายกับคุณอย่างไร?” หรือ Tippie College of Business ของ University of Iowa ก็มอบเงินทุน $38,000 สำหรับโปรแกรม MBA ให้กับนักศึกษาที่ทวีตได้ดีที่สุด นั่นหมายความว่าหนึ่งตัวอักษรจะมีค่าเท่ากับเงิน 271$ เชียวนะ

ทำไมต้องเป็นการทวีต? Jodi Schafer ผู้บริหารของแผนก MBA และการเงินของ University of Iowa กล่าวว่า “เรื่องที่ใช้เขียนเรียงความอาจจะไม่มีความเป็นออริจินอล เราต้องการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการดึงความคิดสร้างสรรค์กลับมา โดยผู้สมัครสามารถใส่ลิ้งค์ วิดีโอ หรือเฟซบุ้คลงไปด้วยได้” ซึ่งปีหน้าทางมหาวิทยาลัยวางแผนที่รับผู้สมัครจากนักศึกษานานาชาติด้วย

การประกวดเรียงความแบบนี้ให้ผลทางด้านการตลาดมากกว่าหาคนที่มีคุณสมบัติผ่านเกณฑ์ เพราะนักเรียนจะบอกกันปากต่อปากกันไปเรื่อยๆ จึงไม่น่าแปลกเลยถ้าในอนาคตจะมีการแข่งขันแบบนี้เพิ่มมากขึ้น

VIA CNN