ถ้าใครเคยไปดำน้ำดูปะการังจะสังเกตเห็นว่าพวกมันจะไม่อยู่นิ่งกับที่แต่จะเคลื่อนไหวไปมาตามกระแสน้ำ
เจ้าพืชและสัตว์ใต้น้ำเหล่านี้ภายนอกอาจจะดูบอบบาง แต่ลำต้นมันแข็งแรงเพื่อจะยึดตัวกับก้นมหาสมุทร ในส่อนของกิ่งก้านด้านในจะเป็นโพรงอากาศเพื่อขยายตัวให้ลอยไปยังผิวน้ำ จึงเป็นผลให้สาหร่ายทะเลเติบโตในห้วงน้ำ และแกว่งไปมาเมื่อโดนคลื่นได้
นักวิจัยจากออสเตรเลียจึงได้คิดค้นระบบ BioPower Systems จากการสังเกตพืชและสัตว์โลกใต้ทะเล โดยตั้งคำถามว่า “จะเป็นไปได้ไหมถ้าเราจะเอาการแกว่งตัวแบบนี้มาสร้างพลังงาน?” จนเค้าได้ระบบที่มีชื่อว่า bioWAVE system ด้วยเงินทุนสนับสนุน 5 ล้านดอลล่าร์ออสเตรเลียจาก Victorian Minister for Energy and Resources
ฐานของระบบ bioWAVE จะมีลักษณะเป็นฐานรูปสามเหลี่ยม เพื่อยึดเกาะกับก้นทะเล ตรงกลางฐานจะมีแท่งอยู่ตรงกลางยื่นขึ้นไปด้านบนเชื่อมต่อด้วยบานพับจึงทำให้แท่งนี้หมุนหรือแกว่งได้รอบทิศทาง ส่วนบนสุดจะติดตั้งทุ่นลอยหลายๆตัวเอาไว้ ทุ่นลอยเหล่านี้จะทำหน้าที่เป็นกระบอกลูกสูบที่ลอยอยู่ระดับผิวน้ำ เมื่อคลื่นพัดมาโดนทุ่นลอยก็จะผลักให้มันแกว่งไปมาให้โมดูลไฮดรอลิคที่มีชื่อว่า O-Drive ทำงาน ไปเพิ่มแรงดันกดของเหลวที่อยู่ภายในทำให้เกิดการเคลื่อนตัวไปหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เปลี่ยนพลังงานจลน์ของคลื่นให้กลายเป็นพลังงานไฟฟ้าแล้วส่งไฟฟ้าที่ผลิตได้กลับขึ้นไปใช้บนฝั่งผ่านสายเคเบิ้ลใต้น้ำ
ระบบ BioPower สามารถติดตั้งในทะเลได้โดยใช้เรือแบบมาตรฐาน โดยไม่ต้องมีเครื่องมือพิเศษอะไรเพิ่มเติมเลย เพียงใช้เชือกผูกแล้วหย่อนลงไปในจุดที่ต้องการแค่นั้นเอง O-Drive สามารถติดตั้งและถอดออกได้ง่าย ถ้าเกิดชิ้นส่วนเสียหายก็ไม่จำเป็นต้องยกขึ้นมาเปลี่ยนบนบก ดำลงไปเปลี่ยนใต้น้ำได้เลย นอกจากผลิตกระแสไฟฟ้าแล้ว มันยังประยุกต์ใช้ในการตรวจจับการกระเพื่อมของน้ำที่ผิดปกติได้อัตโนมัติ ทำให้รู้ได้ว่าทุ่นลอย ณ จุดไหนจมน้ำหรือมีการล้มอยู่
ระบบนี้แตกต่างจากระบบ wave power systems ตัวอื่นๆเพราะใช้อุปกรณ์น้อยชิ้น แถมยังมองเห็นได้จากเหนือผิวน้ำ จึงทำให้คนหันมาใช้กันไม่น่ายาก ตัวระบบที่กำลังทดลองอยู่มีกำลังสร้างไฟฟ้าขนาด 250 กิโลวัตต์ โดยติดตั้งในน้ำลึกขนาด 30 เมตร ซึ่งในอนาคตเค้าวางแผนที่จะผลิตในเชิงพาณิชย์ให้ได้ถึง 1 เมกะวัตต์ที่ระดับความลึก 40-45 เมตรค่ะ
VIA Gizmag