เชื่อหรือไม่ว่ารูปจอสีฟ้าด้านล่าง แต่ละพิกเซลมันมีชีวิตนะ เพราะแต่ละช่องบรรจุแบคทีเรียนับพันๆตัวเอาไว้ โดยมันจะสว่างและมืดพร้อมๆกันเพื่อใช้เป็นต้นกำเนิดแสงของจอฟลูออเรสเซนต์ที่มีชีวิต
ในแต่ละช่องของ biopixel จะบรรจุแบคทีเรียที่มีชื่อว่า e. coli ประมาณ 5,000 ตัวเอาไว้ มันเป็นแบคทีเรียชนิดเดียวกับที่อาศัยอยู่ในลำไส้ของคุณ และเป็นแบคทีเรียตัวเดียวกับที่ทำให้อาหารเป็นพิษ
ด้วยการบิดยีนพันธุกรรมทำให้มันสามารถปล่อยแสงสีน้ำเงินออกมาได้ตามคำสั่ง คุณสามารถควบคุมจอขนาด 13,000 biopixel ที่ประกอบด้วยแบคทีเรียนับล้านๆตัวได้ในครั้งเดียว เพราะแบคทีเรียมีระบบ built-in synchronization system ในรูปแบบของ tunable biological clock ซึ่งเมื่อแต่ละช่องมีการเชื่อมต่อกัน เจ้าแบคทีเรียทุกตัวก็จะสื่อสารกันเองให้ปล่อยก๊าซออกมา แล้วเรืองแสงพร้อมๆกัน
แม้ว่าจอตัวนี้จะดูเจ๋งและทำงานได้ดีก็ตาม แต่ก็ยังมีข้อเสียอยู่ ประการแรก มันยังมีขนาดที่เล็กอยู่ เทียบเท่ากับขนาดของคลิ๊ปหนีบกระดาษเท่านั้นเอง ด้วยจอขนาด 13,000 biopixels จึงไม่สามารถแสดงผลที่ความละเอียด HD ได้ และสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ หน้าจอนี้มีอัตรา refresh rate ที่ช้าถึงช้ามาก การปิดหน้าจอแล้วเปิดใหม่อาจต้องใช้เวลามากกว่าหนึ่งชั่วโมงเลย และด้วยเหตุที่แบคทีเรียทุกตัวมีการสื่อสารกันหมด คุณจึงไม่สามารถสั่งให้แบคทีเรียตัวใดตัวนึงเรืองแสงหรือดับแค่ตัวเดียวได้ นั่นหมายความว่ามันจะจำกัดการแสดงผลของรูปภาพที่ออกมาบนหน้าจอ
ดังนั้นอย่าเพิ่งไปคาดหวังว่าจอทีวีที่สร้างมาจาก biopixel จะมีให้ใช้กับเร็วๆนี้ แต่ทางนักวิจัยหวังว่าจะพัฒนามันเพื่อใช้ในอุปกรณ์พกพาที่ใช้ตรวจสารเคมี,สิ่งที่เป็นพิษก่อน หรือเชื้อโรคก่อน ซึ่งคาดว่าอุปกรณ์ชิ้นนี้จะได้ใช้กันภายใน 5 ปีข้างหน้าค่ะ
[youtube http://www.youtube.com/watch?v=3Fzu2Av6BmE&w=420&h=315]VIA DVICE