ช่วงหลายปีที่ผ่านมา หลายๆคนให้ความสำคัญกับภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นจากมีคาร์บอนไดออกไซด์สะสมในชั้นบรรยากาศมากเกินไป เทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมใหม่ๆจึงมุ่งเน้นไปที่การจับ CO2 ที่เกิดจากฝีมือของมนุษย์ที่ต้นกำเนิดเลย
เทคโนโลยีเหล่านี้ได้นำสิ่งต่างๆอย่าง edible sponges, molten salts และ bacteria มาใช้ในการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งล่าสุดเหล่านักวิทยาศาสตร์ที่เกิดจากการรวมตัวของAlain Goeppert, G. K. Surya Prakash, Nobel Laureate George A. Olah และทีมงาน ได้ประสบความสำเร็จในการสร้างกระบวนการที่ช่วยกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากอากาศในอัตราที่สูงสุดเท่าที่เคยมีมา แถมยังทำงานได้ในสภาพอากาศชื้นซะด้วย
เพียงแค่ใช้โพลีเมอร์ธรรมดาๆที่มีราคาไม่แพง กระบวนการนี้เค้าได้ใช้ฟิลเตอร์ที่บรรจุโพลีเมอร์ polyethylenimine เอาไว้ภายใน ซึ่งมันมีประสิทธิภาพสูงในการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากแหล่งกำเนิดอย่าง ปล่องควัน, ท่อไอเสียรถยนต์ หรือดักจับจากอากาศได้โดยตรงเลย เพราะ polyethylenimine สามารถนำมาใช้ซ้ำได้หลายครั้งเพียงแค่ปล่อยก๊าซที่ดักเก็บไว้ออกมา แต่เมื่อใช้จนหมดอายุการใช้งานก็สามารถนำมารีไซเคิลเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ได้โดยไม่สูญเสียคุณสมบัติดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ไป
นอกเหนือจากการนำมาใช้ลดก๊าซที่ทำให้เกิดปรากฎการณ์เรือนกระจกแล้ว ฟิลเตอร์นี้ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ทำระบบกรองอากาศ อย่างในเรือดำน้ำได้ค่ะ ถ้าใครสนใจก็เข้าไปอ่านงานวิจัยได้ใน Journal of the American Chemical Society ค่ะ