พรบ.หยุดละเมิดลิขสิทธิ์ออนไลน์ (Stop Online Piracy Act: SOPA) และพรบ.คุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา (Protect IP Act: PIPA)เจ้าปัญหากำลังได้รับผลตอบรับทางด้านลบอย่างหนัก แถมถูกต่อต้านจากเว็บไซต์ยักษ์ใหญ่หลายแห่ง เช่น Wikipedia ที่วางแผนปิดเว็บไซต์ชั่วคราวในวันพุธที่ผ่านมาเป็นเวลา 24 ชั่วโมง แม้แต่กูเกิ้ลเองก็ยังมาร่วมต่อต้านกับเค้าด้วย ด้วยการคาดแถบดำปิดชื่อกูเกิ้ลบนหน้าค้นหา พร้อมทำลิ้งค์อธิบายว่าทำไมพวกเค้าถึงต้องทำเช่นนั้น
แต่เจ้าพรบ. SOPA และ PIPA จริงๆแล้วเนี่ยคืออะไร? ทำไมยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีถึงออกมาวิจารณ์และต่อต้านกันอย่างรุนแรง ทั้งๆที่กฎหมายฉบับนี้เกี่ยวข้องกับการป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ที่น่าจะมีผลดีนี่นา วันนี้ซีมีคำตอบให้ค่ะ
SOPA และ PIPA: ข้อมูลพื้นฐาน
บริษัทสื่อต่างๆที่เกี่ยวกับภาพยนตร์หรือเพลงต่างก็พยายามหาวิธีการใหม่ๆมาสู้กับการละเมิดลิขสิทธิ ไม่ว่าจะเป็นการฟ้องผู้บริโภคที่โหลดหรือแจกจ่ายไฟล์ละเมิดลิขสิทธิ, พยายามกดดันให้ ISP ทำอะไรเพื่อจัดการกับผู้ใช้ที่โหลดไฟล์ละเมิดลิขสิทธิ แถมยังร่วมมือกับรัฐบาลสหรัฐปิดเว็บไซต์ที่มีโดเมนเนมที่ตั้งอยู่ในอเมริกา แต่วิธีการเหล่านี้ก็ยังไม่สามารถหยุดยั้งเว็บไซต์ต่างประเทศอย่าง Pirate Bay และ MegaUpload ให้ยุติการละเมิดลิขสิทธิ์ลงไปได้ แม้แต่การบล็อคผู้ใช้อินเตอร์เน็ตไม่ให้เข้าไปใช้บริการเว็บเหล่านั้นก็ยังไม่สามารถทำได้เลย
การยื่นพรบ. SOPA ผ่านสมาชิกสภาและการยื่น PIPA ผ่านวุฒิสภาเพื่อให้ผ่านความเห็นชอบและมีผลบังคับใช้ ก็มีเป้าหมายเพื่อกำจัดเว็บไซต์ต่างประเทศที่ทำการเผยแพร่ไฟล์ที่มีการละเมิดลิขสิทธิ ซึ่งพรบ.ทั้งสองฉบับนี้มีความเชื่อมโยงกับ media piracy แต่ผลของมันกลับครอบคลุม รวมถึงการปลอมแปลงสินค้าบริโภคและยาด้วย
เดิมทีพรบ.ทั้งสองฉบับนี้ ได้ระบุวิธีจัดการกับเว็บไซต์ต่างประเทศที่ละเมิดลิขสิทธิไว้ 2 วิธี วิธีแรกคือ กระทรวงยุติธรรมของสหรัฐสามารถใช้อำนาจศาลสั่งให้ ISP บล็อคโดเมนเนมของเว็บละเมิดลิขสิทธิได้ ยกตัวอย่างเช่น Comcast (ISP รายนึงในอเมริกา) สามารถบล็อคลูกค้าไม่ให้เข้าไปใช้งานเว็บ thepiratebay.org ด้วยการเข้าถึง IP address ของผู้ใช้ การให้อำนาจ ISP ในการปิดกั้นเป็นเรื่องใหญ่ที่หลายๆฝ่ายโดยเฉพาะผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยบนอินเตอร์เน็ตเป็นกังวล แต่พรบ.ทั้งสองฉบับกลับมองข้ามจุดนี้ไป
ส่วนวิธีที่สองก็คือการให้ผู้ถือลิขสิทธิสามารถขอคำสั่งศาลให้บริษัทการเงิน, บริษัทโฆษณา และ search engine หยุดทำธุรกิจกับเว็บไซต์ที่ทำการละเมิดลิขสิทธิ์เหล่านั้น นั่นหมายความว่าผู้ที่ถือลิขสิทธิจะทำการตัดท่อน้ำเลี้ยงด้านการเงินกับเว็บเหล่านั้น ส่วน search link ที่ปรากฎบน search engine ก็จะต้องถูกลบออกไป ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องรีบดำเนินการทันทีภายใน 5 วันหลังจากที่ได้รับคำสั่งศาล
แม้ว่าพรบ.ทั้งสองฉบับจะมีความคล้ายคลึงกัน แต่ SOPA ดูเหมือนจะสุดโต่งกว่า มันให้คำนิยาม “เว็บไซต์ต่างประเทศที่ละเมิดลิขสิทธิ” คือ เว็บไซต์ใดๆก็ตามที่ละเมิดลิขสิทธิ์หรืออำนวยความสะดวกให้มีการละเมิดลิขสิทธิ ในขณะที่พรบ. PIPA จำกัดแค่เว็บไซต์ที่ไม่มีสิทธิในการใช้เท่านั้น ส่วนใครอยากรู้รายละเอียดอื่นๆเพิ่มเติมก็สามารถเข้าไปอ่านต่อได้ในเว็บ Library of Congress ค่ะ
ข้อโต้แย้งที่มีต่อ SOPA และ PIPA
ผู้ที่ต่อต้าน SOPA และ PIPA เชื่อว่า