นักวิจัยได้ค้นพบวิธีที่จะนำแสงเลเซอร์มาช่วยทำความเย็นให้กับชิพเซมิคอนดักเตอร์ได้แล้ว

นักวิจัยจาก Niels Bohr Institute เมืองโคเปนเฮเกนได้ผสมผสานควอนตัมฟิสิกส์และนาโนฟิสิกส์มาสร้างวิธีการใหม่เพื่อทำความเย็นให้กับเซมิคอนดักเตอร์ ที่เป็นเสมือนสมองกลของเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด ซึ่งเทคโนโลยีทำความเย็นและการทำให้อุปกรณ์บริโภคพลังงานน้อยลงกำลังเป็นปัจจัยสำคัญอันดับต้นๆในการออกแบบชิพ โดยเฉพาะชิพสำหรับอุปกรณ์พกพาอย่างสมาร์ทโฟน, แท๊ปเล็ต เป็นต้น

Koji Usami ผู้ช่วยศาสตราจารย์จาก Niels Bohr Institute ได้สร้าง semiconductor membrane ที่มีขนาด 1 x 1 มิลลิเมตรและมีความหนาเพียง 160 นาโนเมตร ในการทดลอง membrane สามารถปฎิสัมพันธ์กับแสงเลเซอร์ที่ทำงานโดยความร้อนที่ปล่อยออกมาจากเซมิคอนดักเตอร์ ด้วยกลไกการเคลื่อนไหวทำให้ membrane  แกว่งไปมาเพื่อตอบสนองกับแสงเลเซอร์นี้ เป็นผลให้มันสามารถเย็นลงจากอุณหภูิมิห้องไปถึง -269 องศาเซลเซียสได้

ผลงานวิจัยชิ้นนี้ได้เริ่มต้นพัฒนามาตั้งแต่หลายปีก่อนที่ quantum optical labs ของ Quantop research group แห่ง Niels Bohr Institute แต่พวกเค้าก็ยังไม่สามารถบอกได้ว่าเทคโนโลยีนี้จะนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์ได้เมื่อไหร่

VIA Venturebeat