พลาสติกถึงเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีประโยชน์มาก ใช้เก็บอาหารให้สดใหม่, ใส่น้ำให้เราดื่ม รวมถึงการใช้งานด้านอื่นๆอีกมากมาย แต่ข้อเสียของมันก็คือ ไม่สามารถย่อยสลายได้ในเวลาที่เหมาะสม ด้วยพันธะทางเคมีที่แข็งแรงทำให้มันยากที่จะย่อยสลายไปเองตามธรรมชาติ ส่งผลให้มันกลายเป็นขยะจำนวนมากสำหรับลูกหลานยุคต่อไป สิ่งที่เราต้องการก็คือวิธีที่จะย่อยสลายขยะพลาสติกได้อย่างรวดเร็ว และดูเหมือนว่าวิธีที่เราต้องการอยู่ใกล้ๆตัวจากสิ่งที่หลายคนนึกไม่ถึง
นักศึกษาจาก Yale ได้ค้นพบเชื้อราแบบใหม่ที่มีชื่อว่า Pestalotiopsis microspora ขณะที่เดินทางไปสำรวจป่าฝนในเขตลุ่มน้ำอเมซอน ที่ประเทศเอกวาดอร์ ที่นี่เค้าได้เก็บตัวอย่างสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กและเซลล์พืชกลับไป ซึ่งเชื้อราก็เป็นหนึ่งในนั้น
เมื่อเหล่านักศึกษาเดินทางกลับ เค้าพบว่าเชื้อราที่เก็บมามันชอบกินพลาสติกโดยเฉพาะพลาสติกโพลียูริเทน ที่มนุษย์เราใช้กันนับล้านๆตันต่อปี ไม่ว่าจะใช้เป็น โฟมใส่ในเฟอร์นิเจอร์, ฉนวนกันความร้อน, พื้นกระเบื้องยาง, กาว, น้ำมันขัดเงา, สีทาบ้าน, กระดานโต้คลื่น, เรือเป่าลม หรือแม้แต่สายนาฬิกาข้อมือ ตารางด้านล่างจะบอกถึงการนำพลาสติกตัวนี้ไปใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆของอเมริกา (แต่ตัวเลขนี้เป็นข้อมูลเก่าในปี2004 โดยจะมีอัตราการใช้งานเพิ่มขึ้นประมาณ 5% ต่อปี):
ส่วนเชื้อราที่สามารถเติบโตบนโพลียูริเทน มันอยู่ได้ในสภาพที่มีและไม่มีออกซิเจน โดยมันจะย่อยพลาสติกให้กลายเป็นของเหลว ด้วยเหตุที่มันไม่ต้องใช้ออกซิเจนในการย่อยสลาย Pestalotiopsis microspora จึงสามารถทำการย่อยพลาสติกที่ฝังอยู่ใต้ดินลึกๆได้ และนี่อาจจะเป็นวิธีแก้ปัญหาพลาสติกล้นเมืองที่ดีที่สุดเท่าที่เคยมีมา
VIA geek