จากการสำรวจของ Crittercism พบว่าแอพที่รันบนระบบปฏิบัติการ iOS5 ตัวล่าสุดของแอปเปิ้ลมีแนวโน้มที่จะแครชมากกว่าแอพบนระบบแอนดรอยด์
Crittercism เป็นบริษัทที่นำเสนอข้อมูลวิเคราะห์แอพพลิเคชั่นและรายงานการแครชสำหรับผู้พัฒนาแอพ ด้วยการใช้ซอฟท์แวร์ในการติดตามและบันทึกอัตราการแครชต่อการเปิดแอพขึ้นมา (app crashes per application launch) ข้อมูลจะถูกส่งกลับไปยังแอพของผู้พัฒนาเพื่อวิเคราะห์สาเหตุกันต่อไป
Forbes ได้รายงานว่าทาง Crittercism เพิ่งสำรวจข้อมูลล่าสุดพบว่ามีการเปิดแอพมากกว่า 214 ล้านครั้งในช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม 2011 พบว่าโดยเฉลี่ยแอพบน iOS จะมีโอกาสแครชสูงกว่าแอพบนแอนดรอยด์ โดย Crittercism ได้ทำการแบ่งแยกข้อมูลตามเปอร์เซ็นต์การแครชที่เกิดขึ้นตามเวอร์ชั่นต่างๆของระบบปฏิบัติการ
ระบบปฏิบัติการ iOS 5.0.1, ที่ปล่อยออกมาช่วงเดือนพฤศจิกายนเพื่อแก้ปัญหาเรื่องแบตเตอรี่ มีอัตราการแครชสูงถึง 28.64% ซึ่งเมื่อนำมาคิดรวมกับการแครชของผู้ใช้ iOS 5.0 ก็จะทำให้ตัวเลขพุ่งขึ้นไปอยู่ที่ 33.44% จึงไม่น่าแปลกเลยที่ช่วงนี้เราจะได้เห็นแอพหลายๆตัวปล่อยตัวอัพเดทออกมาเพื่อแก้ไขปัญหาการแครช
ข้อมูลของ Crittercism นอกจากแบ่งแยกตามเวอร์ชั่นและแพลตฟอร์มของระบบปฏิบัติการแล้ว ยังให้ข้อมูลย้อนหลังมาถึงสามไตรมาสติดกันด้วย เมื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์การกระจายตัวก็จะพบเรื่องที่น่าสนใจอีกเรื่องเลยล่ะ ข้อมูลใน quartile แรก (แอพที่แครชสูงที่สุด) พบว่าผู้ที่ใช้แอนดรอยด์จะพบกับการแครชแค่ 0.15% เทียบกับผู้ใช้แอปเปิ้ลที่ 0.51% เมื่อมาดูข้อมูลใน quartile ที่สอง แอนดรอยดย์เจอแค่ 0.73%, ต่ำกว่าแอปเปิ้ลที่อยู่ที่ 1.47% ส่วนข้อมูลใน quartile ที่สามแอนดรอยด์จะพุ่งขึ้นไปอยู่ที่ 2.97% และแอปเปิ้ลอยู่ที่ 3.66%
ทำไมถึงเกิดการแครชมากมายล่ะ? นั่นอาจจะเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ฮาร์ดแวร์, การเชื่อมต่อกับเครือข่ายมีปัญหา, หน่วยความจำเหลือน้อย, third-party analytics apps (อย่าง Crittercism หรือ iAds ของแอปเปิ้ล) และการอัพเดทแอพที่ไม่สมบูรณ์/ไม่บ่อยเท่าที่ควร ซึ่งใน iOS ไม่ได้มีออฟชั่น auto-update แบบเดียวกับแอนดรอยด์
VIA techland