ทางออกของการป้องกันเมืองที่อยู่ในพื้นที่ต่ำที่เสี่ยงต่อการเกิดสึนามิ คือทำให้ฐานของทั้งเมืองสามารถยกตัวเมื่อเกิดเหตุ

การพัฒนาเมืองในเขตที่เสี่ยงต่อการเกิดสึนามิก็คือทำให้มันเป็นเกาะบนแผ่นดิน ด้วยการทำให้ฐานของเมืองสามารถยกตัวได้เมื่อเจอคลื่นยักษ์ และนี่คือหนึ่งในโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมที่ถูกนำเสนอขึ้นมาเพื่อใช้ฟื้นฟูเมือง Tōhoku ที่ถูกทำลายโดยแผ่นดินไหวและสึนามิเมื่อเดือนมีนาคมปีที่แล้ว ผู้ที่ออกแบบก็คือ Keiichiro Sako จากบริษัท Sako Architects ในโตเกียว เค้าได้เขียนแบบพิมพ์เขียว ด้วยการสร้างเกาะเล็กๆบนแผ่นดินหลายๆเกาะจนรวมตัวกันเป็นเมืองขึ้นมา โดยการยกตัวเมืองให้สูงขึ้นไปจากพื้นดินเพื่อปกป้องคนที่อาศัยอยู่ในที่ต่ำไม่ให้ได้รับอันตรายจากสึนามิที่อาจเกิดขึ้นได้อีกในอนาคต

เมืองนี้มีชื่อว่า Tōhoku Sky Village ซึ่งมันจะัไม่ใช่เรื่องเพ้อฝันในการควบคุมพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดเหตุอีกต่อไป ซึ่งถ้าได้ผลก็จะขยายไปสร้างในบริเวณอื่นๆอีก โดยเค้าจะสร้างเมืองเป็นเกาะยกสูงขนาดสามชั้น มีพื้นที่ใช้สอย 90,000 ตารางเมตร ตัวเกาะจะยึดกับชั้นหินใต้ดินด้วยเสาเหล็กขนาดมหึมา ผนังภายนอกของเกาะจะใช้คอนกรีตหนา 50 ซม. เสาของชั้นล่างสุดจะออกแบบมาให้ช่วยกระจายแรงกดจากด้านบนแบบเดียวกับซี่ของล้อจักรยาน

การยกพื้นที่สำหรับอยู่อาศัยให้สูงก็เพื่อป้องกันการทำลายล้างของคลื่นยักษ์ โดยมันจะมีระบบการป้องกันหลายๆอย่าง เช่น ฐานของเกาะที่ออกแบบมาเป็นรูปไข่ที่ช่วยลดแรงกระแทกจากคลื่น, ประตูที่ปิดได้อัตโนมัติเมื่อได้รับสัญญาณเตือนการเกิดสึนามิ บันไดด้านข้างที่ออกแบบมาให้คนปีนขึ้นข้างบนได้อย่างปลอดภัย

เกาะจะถูกแบ่งเป็นเกาะหลักสำหรับเป็นที่พักอาศัย โดยจะมีบ้านแค่ 100 – 500 หลังคาเรือนและอพาร์ทเม้นท์ ชั้นล่างของเกาะจะเป็นส่วนของปั๊มน้ำมัน, ที่กำจัดขยะ, พื้นที่สำหรับจัดเก็บสิ่งอำนวยความสะดวก และที่จอดรถ ในส่วนของเกาะที่เป็นย่านการผลิตจะเป็นที่ตั้งของโรงงานและสาธารณูปโภคที่จำเป็นต่อการผลิต รวมถึงพื้นที่ทำประมงและการเกษตร เกาะตรงใจกลางของหมู่เกาะจะใช้เป็นพื้นที่สำหรับบริหารจัดการ เป็นที่ตั้งสำนักงานเทศบาล, โรงเรียน,หน่วยงานธุรกิจและสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ นอกจากนี้พวกเค้ายังวางแผนที่จะสร้าง indoor marina เพื่อเพาะและรักษาพันธุ์ปลาท้องถิ่น แถมยังใช้เป็นตัวดึงดูดนักท่องเที่ยวได้อีก

แต่อย่างไรก็ตามทั้งหมดนี้ยังเป็นแค่คอนเซ็ปท์ในการออกแบบอยู่ สิ่งที่ตกเป็นข้อวิพากษ์วิจารณ์ก็คือ มันต้องใช้งบประมาณในการก่อสร้างมากแค่ไหน Yasuaki Onoda จากคณะ Architecture and Building Science มหาวิทยาลัย Tōhoku University คาดว่าอาจจะต้องใช้เงินลงทุนถึงสองหมื่นล้านเยนต่่อหนึ่งเกาะเลยทีเดียว นอกจากนี้แบบของเกาะนี้ออกจะดูล้ำหน้ามากไปสักหน่อยไม่ค่อยเข้ากับธรรมชาติ อาจจะได้รับการต่อต้านจากคนหัวสมัยเก่าที่อาศัยใน Tōhoku ก็เป็นได้

VIA newscientist