เมือ่มลพิษของทั้งโลกเพิ่มขึ้น แหล่งน้ำจืดก็ยิ่งเป็นทรัพยากรที่มีค่าที่ควรรักษาไว้ เพราะนั่นคือน้ำสำหรับบริโภค, เกษตรกรรม และชำระล้างร่างกายซึ่งสักวันมันอาจจะหมดไปได้

ลองนึกภาพว่าถ้าเราผลิตน้ำจืดจากน้ำในมหาสมุทรดูสิ มันจะเป็นแหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่แค่ไหน ในอดีตมนุษย์ได้ประสบความสำเร็จในการแยกเกลือออกจากน้ำทะเลด้วยการระเหยและ reverse osmosis แต่นั่นก็เป็นงานที่หนักเพราะต้องใช้พลังงานและค่าใช้จ่ายที่สูง ด้วยเหตุนี้ทางแคลิฟอร์เนียจึงตัดสินใจนำเข้าน้ำจืดจากแคนาดาแทนการผลิตจากน้ำทะเล

เมื่อปีที่แล้วนักวิจัยจาก Stanford University ได้ค้นพบวิธีสร้างกระแสไฟฟ้าจากการปั๊มน้ำเค็มเข้าไปยังเซลล์เคมีไฟฟ้า ซึ่งถ้าเราทำกระบวนการนี้ย้อนกลับ แล้วทำการเพิ่มกระแสไฟฟ้าไปยังเซลล์เคมีไฟฟ้าก็จะทำให้น้ำมีความเค็มน้อยลง

หลักการทำงานของมันมีดังนี้ นำเซลล์ไฟฟ้าเคมีที่มีขั้วไฟฟ้าสองขั้ว แล้วนำน้ำเค็มมาใส่เข้าไปในระบบ แล้วมันก็จะเปิดกระแสไฟฟ้าให้ไหลเข้าระบบ กระแสไฟจะดูดประจุคลอรีนไปยังขั้วไฟฟ้าที่ทำมาจาก manganese oxide nanorods เมื่อประจุไฟฟ้าถูกกำจัดออก น้ำจืดก็จะไหลออกมาจากระบบ แล้วน้ำเค็มก็จะถูกเติมเข้าสู่ระบบอีกครั้ง ระบบก็จะดำเนินแบบนี้ซ้ำไปเรื่อยๆ ด้วยวิธีนี้ไม่จำเป็นต้องใช้ความร้อนหรือความดันเข้ามาเกี่ยวข้องก็สามารถเปลี่ยนน้ำทะเลให้กลายเป็นน้ำจืดได้อย่างมีประสิทธิภาพ แถมยังสร้้างง่ายและมีราคาถูกกว่าวิธีการแบบเดิมๆ

แต่ยังมีเรื่องให้ต้องทำก่อนที่จะนำระบบนี้ไปผลิตน้ำดื่มได้จริงๆ เพราะตอนนี้น้ำที่ไหลออกมาจากแบตเตอรี่จะมีความเค็มลดลงแค่ 50% เท่านั้น ซึ่งน้ำที่จะนำมาบริโภคได้ต้องแยกเกลือออกไปให้ได้ 98% นอกจากนี้ยังมีเรื่องการแยกสารซัลเฟทที่เกิดจากแบตเตอรี่เอง และระบบนี้จะมีความน่าเชื่อถือได้แค่ไหนกัน ปัญหาเหล่านี้เป็นเรื่องที่นักวิจัยต้องแก้ไขกันต่อค่ะ

VIA DVICE