เดี๋ยวนี้ไม่เหมือนเมื่อก่อน ที่ใครอยากจะเป็นนักข่าวก็ต้องผ่านด่านอรหันต์มากมายกว่าจะได้เป็นนักข่าวสมใจ แต่ตอนนี้เทคโนโลยีพัฒนาไปไวมากจนหลายๆคนสามารถเป็นนักข่าวได้โดยไม่ต้องมีสังกัด เครื่องไม้เครื่องมือมีให้เลือกเต็มไปหมด ไม่ว่าจะเป็น สมาร์ทโฟน,แท็ปเล็ต หรือแล็ปท็อป เมื่อมารวมกับเครือข่ายไร้สายและสื่ออินเตอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นสื่อสังคมออนไลน์,บล็อกหรือเว็บไซต์ส่วนตัวก็ช่วยให้คุณรายงานข่าวได้ทุกที่ ทุกเวลา

เมื่อพูดถึงการเขียนข่าวด้วยระบบดิจิตอล การเลือกใช้เครื่องมือให้เหมาะสมถือเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะมันจะช่วยย่นเวลาการทำงานได้มาก และนี่คือฟีเจอร์หลักๆที่คุณอาจจะต้องนึกถึงเวลาที่จะเลือกใช้เครื่องมือเหล่านั้นค่ะ

ต้องใส่ข้อความผ่านคีย์บอร์ดได้ – มีนักข่าวหลายคนใช้วิธีเขียนข่าวบนอุปกรณ์พกพาผ่านแอพบน iOS หรือแอนดรอยด์ ซึ่งการพิมพ์ด้วยการจิ้มจอเป็นอะไรที่ช้ากว่าการพิมพ์ด้วยคีย์บอร์ดจริงๆ หลายคนอาจจะหาสไตลัสมาช่วย แต่ถ้าคุณต้องการความรวดเร็วและแม่นยำกว่านั้นอาจจะต้องพกคีย์บอร์ดไร้สายเล็กๆสักตัวเอาไว้

ต้องใส่รูปภาพเข้าไปได้ – เหมือนที่สุภาษิตโบราณกล่าวไว้ว่า “หนึ่งรูปภาพแทนคำพูดได้นับพันๆคำ” อุปกรณ์หรือแอพที่คุณเลือกใช้จะต้องสามารถเก็บรูปภาพเอาไว้ได้ เพราะในบางสถานการณ์คุณไม่อาจจดหรือเขียนรายละเอียดได้ครบหมด การเก็บภาพจะช่วยเก็บรายละเอียดและช่วยเตือนความจำให้คุณได้เมื่อย้อนกลับมาดูภายหลัง

ต้องสามารถ export เพื่อแบ๊คอัพเก็บไว้ได้ – ข้อนี้สำคัญมาก หลายคนคงรู้ดีว่าถ้าเกิดคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่ใช้เขียนงานอยู่เกิดเสียขึ้นมาจะได้มีแบ๊คอัพเอาไว้เพื่องานของคุณจะได้ไม่เสียหาย

ต้องมีช่วงชีวิตการใช้งานยาว – การเลือกแอพหรืออุปกรณ์ที่ใช้เขียนข่าวจะต้องมีระบบสนับสนุน หรือการอัพเกรดฟีเจอร์ใหม่ๆเพื่อให้ใช้งานได้นานขึ้น ลองนึกภาพถ้าแอพที่คุณเลือกใช้สามารถใช้ได้แต่บน OS เวอร์ชั่นเก่า พออัพเดทเวอร์ชั่นระบบปฏิบัติการแล้วเกิดใช้ไม่ได้นี่คงขำไม่ออกเลยทีเดียว

สามารถเพิ่มลายมือหรือรูปวาดด้วยสไตลัส เผื่อในกรณีที่คุณอยากจะจดโน้ตอะไรเข้าไป

สามารถ sync ข้อมูลระหว่างอุปกรณ์หลายๆตัวได้

การเขียนข่าวบนไอโฟนหรือไอแพด

มันคงต้องใช้เวลานานมากที่จะมานั่งเขียนรีวิว journal apps ที่มีในแอพสโตร์ ซีก็เลยคัดแต่แอพที่คิดว่าน่าจะมีประโยชน์มาให้ดูกัน

1. Chronicle (สนนราคาเวอร์ชั่นไอแพดอยู่ที่ 2.99$ เวอร์ชั่นไอโฟนอยู่ที่ 1.99$ )

Chronicle  เป็นแอพสำหรับเขียนไดอารี่ที่ใช้งานง่าย สามารถเขียนข้อความพร้อมใส่รูปเข้าได้ นอกจากนี้ยังย่อรูป, หมุนภาพและใส่ชื่อภาพเข้าไปได้ แต่ข้อเสียก็คือมันไม่สามารถล็อคภาพให้อยู่กับที่ได้ บางครั้งภาพอาจจะย้ายตำแหน่งเวลาคุณพลิกไปอ่านหน้าอื่นๆ ซึ่งเป็นทั้งเวอร์ชั่นไอโฟนและไอแพด นอกจากนี้มันไม่ครอบคลุมการใช้งานทุกอุปกรณ์ นั่นหมายความว่าถ้าคุณจะใช้บนไอโฟนและไอแพดร่วมกันคุณก็ต้องจ่ายเงินซื้อทั้งสองเวอร์ชั่น นอกจากนี้มันยังไม่มีระบบ sync อัตโนมัติระหว่างอุปกรณ์สองเครื่องแม้ว่าคุณจะสามารถ export ไฟล์จากเครื่องนึงไปอีกเครื่องได้ ก็ถือว่ายังไม่สะดวกเท่าที่ควร

2. PhatPad แอพนี้มีแต่บนไอแพดเท่านั้น สนนราคา 4.99$ หรือ 150 บาท

PhatPad เป็นแอพมีประสิทธิภาพและมีฟีเจอร์เขียนโน้ตที่หลากหลาย คุณสามารถใส่ข้อความด้วยการพิมพ์, เขียนผ่านสไตลัส หรือแม้แต่แปลงลายมือที่คุณเขียนให้กลายเป็นตัวพิมพ์ แถมตัวพิมพ์และลายมือยังแสดงผลอยู่ในหน้าเดียวกันได้ด้วย ในส่วนของรูปภาพคุณสามารถใส่รูปที่คุณถ่ายไว้หรือเลือกจาก clipart ที่แอพให้มา นอกจากนี้มันยังมีตัวเลือกการแบ๊คอัพข้อมูลที่คุณเขียนได้หลายวิธี เช่น แปลงเป็นไฟล์ PDF, Google Docs และ Evernote

แม้ว่า PhatPad สามารถทำอะไรได้หลายๆอย่างที่คุณต้องการ แต่ในการเขียนด้วยลายมืออาจจะทำได้ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ ตัวหนังสืออาจจะดูยุ่งเหยิงกว่าเขียนลงบนกระดาษ และการแก้ไขลายมือที่เขียนผิดก็ทำได้ไม่ง่ายเท่าที่ควร ทำให้การเขียนข่าวด้วยการพิมพ์ง่ายและเร็วกว่าเยอะเลย

3. Wonderful Days แอพนี้มีแต่เวอร์ชั่นไอโฟนเท่านั้น สนนราคา 2.99$ หรือ 90 บาทค่ะ

Wonderful Days เป็นแอพบนไอโฟนแต่ไอแพดก็สามารถโหลดไปใช้ได้เหมือนกัน มันมีอินเตอร์เฟซที่ใช้งานง่ายและสนุกสนาน ในแต่ละ entry ที่คุณเขียนขึ้น คุณสามารถตั้งค่าตัวหนังสือและฉากหลักให้เป็นธีมเดียวกับเรื่องที่เขียนได้ แถมยังเพิ่มรูปภาพ พร้อมๆกับไอคอนแสดงอารมณ์และสภาพอากาศได้ด้วย คุณยังสามารถเลือกดูเรื่องที่เขียนในมุมมองแบบที่คุณต้องการได้ เช่น อ่านจากบนลงล่าง หรืออ่านจากซ้ายไปขวา หรือจะให้มันแสดงเป็น thumbnail ก็ได้ นอกจากนี้คุณยังสามารถระบุพิกัดและเปิดแผนที่ให้แสดงตำแหน่งที่คุณเขียนข่าวเรื่องนั้นๆขึ้น

Wonderful Days ยังสามารถ sync กับ Evernote ได้ด้วย โดยมันจะเป็นการ sync แบบสองทาง เช่นถ้าคุณเขียนข่าวบนเครื่องคอมพิวเตอร์ เวลาที่ทำการ sync ข่าวที่เขียนก็จะเก็บอยู่ทั้งบนคอมพิวเตอร์และในไอโฟน โดยคุณสามารถทำการ sync กลับไปกลับมาได้ แถมการดูเรื่องที่เขียนใน Evernote ก็ดูง่ายด้วยโดยที่คุณไม่จำเป็นต้องเปิดไฟล์ PDF ขึ้นมาเลย

แต่ฟีเจอร์ที่ Wonderful Days ขาดไปก็คือการเขียนข่าวโดยใช้ลายมือผ่านสไตลัส และเมื่อนำไปใช้กับไอแพดมันจะแสดงผลได้ไม่เต็มหน้าจอ

การเขียนข่าวด้วยอุปกรณ์ตัวอื่น

บทความด้านบนเป็นการเขียนข่าวโดยใช้แอพพลิเคชั่นบนอุปกรณ์พกพาเป็นหลัก แต่ก็ยังมีวิธีอื่นที่จะเขียนข่าวให้อยู่ในรูปแบบของดิจิตอลได้อีก

ปากกา Livescribe

ปากกา Livescribe เป็นการผสมผสานระหว่างระบบอนาล็อคและดิจิตอล  ปกติแล้วมันคือปากกาลูกลื่นที่สามารถบันทึกเสียงและสิ่งที่คุณเขียนบนกระดาษแบบพิเศษได้ในเวลาเดียวกัน คลิ๊กดูการทำงานของมันจากคลิปด้านล่างได้เลยค่ะ

มันช่วยอำนวยความสะดวกในการจดสิ่งต่างได้ดีทีเดียวแถมยังเก็บสิ่งที่คุณเขียนเป็น Digital copy ได้อีก แต่บางครั้งการใช้งานอาจจะไม่สะดวกเท่าที่ควรเพราะคุณต้องพกกระดาษพิเศษนี้เอาไว้ติดตัวตลอด แถมเวลาจะดูก็ต้องดูผ่านคอมพิวเตอร์

[youtube http://www.youtube.com/watch?v=RVWhhDEoqj4&w=560&h=315]

Facebook และ Twitter

การใช้สื่อสังคมออนไลน์ยอดนิยมอย่าง ทวิตเตอร์หรือเฟซบุ้ค เป็นช่องทางในการสื่อสารข่าวของคุณเป็นวิธีที่ง่ายที่สุดแล้ว เพราะมันสามารถใช้งานผ่านคอมพิวเตอร์,สมาร์ทโฟนหรือแท็ปเล็ตได้สะดวก แถมข่าวที่คุณเขียนเข้าไปยังเรียงตามลำดับวันเวลาให้อัตโนมัติ แถมยังเก็บแบ๊คอัพข้อมูลไว้ในเชิฟเวอร์บนระบบ หรือคุณจะเลือกใช้บริการอย่าง Fonicle และ Twournal ในการสั่งพิมพ์ข่าวที่คุณเขียนให้ออกมาเป็นเล่มหนังสือก็ได้

Gmail

คุณอาจจะประหลาดใจว่า email client ก็สามารถเอามาใช้เก็บข่าวที่คุณเขียนไว้ได้นะ มันก็คล้ายๆกับทวิตเตอร์และเฟซบุ้คที่สามารถเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์,สมาร์ทโฟนหรือแท็ปเล็ต คุณอาจจะเริ่มเขียนด้วยคอมพิวเตอร์ แล้วเขียนต่อบนสมาร์ทโฟน หรือแก้ไขข่าวที่เขียนบนแท็ปเล็ต นอกจากนี้คุณยังสามารถแนบไฟล์อื่นๆหรือรูปภาพ, ทำลิ้งค์ หรือแม้แต่เขียนด้วยสไตลัสด้วยแอพ Gmail บน iOS และแอนดรอยด์

วิธีเขียนและจัดการข่าวก็ไม่ยาก เพียงแค่เขียนอีเมลฉบับใหม่แล้วส่งหาตัวคุณเอง หลังจากนั้นก็ใส่ label บอกให้รู้อย่างเช่น Journal/2012/Feb20 แค่นี้ก็เรียบร้อย ง่ายมั๊ยล่ะ แต่เพราะว่ามันเป็น Gmail จึงไม่แน่ใจว่ากูเกิ้ลจะตัดฟอร์แมตนี้ทิ้งไปเมื่อไหร่ก็ได้

ทั้งหมดนี้ก็เป็นคำแนะนำเบื้องต้นสำหรับคนที่อยากเป็นนักข่าวในยุคดิจิตอล จริงๆแล้วมันยังมีเครื่องมืออีกมากมายที่ช่วยคุณได้ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับตัวคุณแล้วล่ะว่ามีความถนัดแบบไหนมากกว่ากัน หาให้พบแล้วประยุกต์ใช้ให้เข้ากับสไตล์ของคุณ นั่นจะช่วยให้การเขียนข่าวทำได้อย่างรวดเร็วและสนุกขึ้นอีกเยอะเลยล่ะ แล้วก็อย่าลืมสิ่งสำคัญที่สุดนั่นคือ จรรยาบรรณและความรับผิดชอบต่อข่าวที่เขียนออกไปนะ

VIA gadgeteer