รูปแบบการจ่ายเงินแบบจ่ายเงินเท่าที่คุณอยากจ่าย (pay-what-you-want model) มันใช้งานได้ดีสำหรับสินค้าดิจิตอล แต่ถ้านำโมเดลนี้ไปใช้กับสินค้าจริงๆที่จับต้องได้มันจะใช้ได้ผลหรือเปล่านะ
บริษัทแห่งหนึ่งในบราซิลก็เลยทำการทดลองให้รู้ ด้วยการเปิดตัวเครื่องขายหนังสืออัตโนมัติที่ไม่มีการตั้งราคาขายหนังสือแต่ละเล่ม ลูกค้าจะเป็นผู้ตัดสินใจว่าเค้าอยากจะจ่ายเงินให้หนังสือเล่มนั้นเป็นจำนวนเท่าไหร่เอง หนังสือที่ขายจะถูกบรรจุอยู่ในตู้เหมือนเครื่องขายของอัตโนมัติทั่วไป ลูกค้าสามารถเห็นได้แต่หน้าปกเท่านั้น ไม่สามารถพลิกดูเนื้อหาด้านใน หรือพลิกดูปกหลังได้จนกว่าพวกเค้าจะจ่ายเงินซื้อหนังสือและตัดสินใจว่าจะจ่ายเงินเท่าไหร่ดี แต่การทดลองครั้งนี้ไม่ได้เป็นการทดลอง pay-what-you-want model แบบสมบูรณ์ 100% เพราะลูกค้าต้องใส่ธนบัตรขั้นต่ำ 2 BRL (ประมาณ 34 บาท) ถึงจะได้หนังสือเล่มที่ต้องการ
จากผลการรายงานเบื้องต้นบอกว่า “หลังจากเปิดตัวเครื่องนี้ไปได้ไม่นาน ยอดขายหนังสือผ่านเครื่องนี้เพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่าภายในระยะเวลาหนึ่งเดือน และคนที่ซื้อหนังสือไปส่วนใหญ่ยินดีที่จะจ่ายเงินค่าหนังสือแค่ 2 BRL เท่านั้น” แต่รายงานไม่ได้กล่าวว่าหนังสือที่ขายไปมีราคาหน้าปกเท่าไหร่หรือบริษัทเคยมีกำไรเท่าไหร่ก่อนจะนำรูปแบบจ่ายเงินเท่าที่คุณอยากจ่ายมาใช้ นอกจากนั้นเจ้าตู้ขายหนังสืออัตโนมัติเครื่องนี้ก็ไม่มีการบอกเหตุผลให้ลูกค้าว่าทำไมพวกเค้าถึงควรจะจ่ายเงินสูงกว่าจำนวนขั้นต่ำที่ตั้งไว้ หรือให้ลูกค้าส่ง feedback กลับมาว่าทำไมพวกเค้าถึงจ่ายเงินเท่านั้น
ดูเหมือนว่านี่เป็นการสูญเสียโอกาสอย่างมากในการศึกษาเหตุการณ์ pay-what-you-want ทำให้เราไม่รู้แรงจูงใจและเหตุผลที่พวกเค้าทำอย่างนั้น แล้วถ้าเป็นคุณล่ะทำไมถึงยินดีจ่ายแค่ราคาขั้นต่ำเพื่อให้ได้สินค้าที่มีราคาสูงกว่านั้นล่ะ?
VIA techdirt