หุ่นยนต์แมงกะพรุนตัวนี้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้สำรวจ ตรวจตราและช่วยกู้ภัยทางน้ำ ที่สำคัญกว่านั้นคือมันใช้พลังงานในการขับเคลื่อนจากน้ำรอบๆตัวที่มันว่ายอยู่ค่ะ

นี่เป็นอีกกรณีนึงที่นักวิทยาศาสตร์ได้หยิบยืมความรู้จากธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์ นักวิทยาศาสตร์จาก University of Texas ได้ตัดสินใจสร้างหุ่นยนต์ในรูปแบบของแมงกะพรุนขึ้นมา ซึ่งมันถือว่าเป็นสัตว์ที่ว่ายน้ำได้มีประสิทธิภาพที่สุดชนิดนึงเลยล่ะ

ล่าสุด พวกเค้าได้คิดค้นวิธีการให้พลังงานหุ่นยนต์แบบใหม่ล่าสุดให้กับเจ้าหุ่นยนต์ตัวนี้ขณะที่ว่ายอยู่ในน้ำ ด้วยการใช้ platinum coated carbon nanotubes ทำให้ Robojelly สามารถสร้างพลังงานเชื้อเพลิงจากไฮโดรเจนที่อยู่มากมายมหาศาลในน้ำที่อยู่รอบตัวได้

ในการแยกเชื้อเพลิงไฮโดรเจนออกจากน้ำสามาถทำได้โดยใช้การเคลื่อนไหวตามธรรมชาติของแมงกะพรุน ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ได้ทำการจำลองกล้ามเนื้อประดิษฐ์มาใส่ในหุ่นยนต์เพื่อใช้ในการว่าย ด้วยการออกแบบให้หุ่นตัวนี้เหมือนกับแมงกะพรุนจริงๆ จึงทำให้มันดึงน้ำเข้าไปในทุกส่วนของร่างกายได้ หลังจากนั้นก้พ่นออกมาเพื่อใช้ในการขับเคลื่อน

เมื่อหุ่นดึงน้ำเข้าไปให้เคลื่อนที่ผ่าน nanotubes ในตัวก็จะเกิดปฏิกิริยาคายความร้อน (exothermic reaction) จากการกระบวนการแยกไฮโดรเจนและออกซิเจน ความร้อนที่เกิดขึ้นนี้สามารถนำไปเปลี่ยนให้กลายเป็นพลังงานที่สามารถนำมาใช้งานได้ ในทางทฤษฎีแล้วจะทำให้มันสามารถเคลื่อนที่อย่างไม่จำกัดด้วยพลังงานที่ผลิตขึ้นเอง แต่ในทางปฏิบัติแล้วยังมีปัจจัยอีกหลายอย่างที่ยังเป็นอุปสรรคอยู่ แต่ก็ถือว่าเป็นแนวความคิดที่น่าสนใจทีเดียว

ตอนนี้ยังไม่มีข่าวว่าหุ่นยนต์ตัวนี้จะพร้อมนำมาใช้กันจริงๆเมื่อไหร่ แต่โปรเจคนี้ก็ถือเป็นก้าวกระโดดครั้งสำคัญในการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนและหุ่นยนต์เลยค่ะ

[youtube http://www.youtube.com/watch?v=U2OSJQhHQp8&w=560&h=315]

VIA geek