คนที่ใช้สมาร์ทโฟนรู้ดีว่าถ้าใช้มือถือเล่นเกมหรือดูคลิปวิดีโอ รวมถึงการใช้แอพฟรีที่เต็มไปด้วยโฆษณาส่วนทำให้แบตหมดไวขึ้น แต่คุณรู้หรือไม่ว่าการเข้าเว็บดังๆก็มีส่วนเหมือนกันนะ
นักวิทยาศาสตร์จาก Stanford University และ Deutsche Telekom ได้ค้นพบว่าการเข้าเว็บไซต์ยอดนิยมอย่าง Wikipedia, IMDB หรือแม้แต่โฮมเพจของแอปเปิ้ล ผู้ผลิตไอโฟนผ่านมือถือจะทำให้เปลืองแบตเตอรี่โดยใช่เหตุ เพราะเว็บเหล่านี้บรรจุ bloated code เอาไว้ แต่นักวิจัยก็ได้แสดงวิธีที่จะช่วยลดการใช้พลังงานเหล่านี้ลงเกือบ 30 % โดยที่ไม่กระทบต่อประสบการณ์การใช้งาน
Narendran Thiagarajan นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์จาก Stanford พร้อมกับทีมงานได้ทดลองนำมือถือแอนดรอยด์มาเสียบกับมัลติมิเตอร์เพื่อใช้วัดพลังงานที่ถูกใช้ในการดาวน์โหลดและเรนเดอร์เว็บยอดนิยมจำนวน 25 เว็บ วิธีการทดสอบก็ไม่ได้ยุ่งยากอะไรเพียงแค่ดาวน์โหลดเว็บเวอร์ชั่นมือถือผ่านการเชื่อมต่อ 3G ซึ่งการเข้าเว็บ Wikipedia จะกินแบตเตอรี่มือถือประมาณ 1 % ส่วนการเข้าเว็บ apple.com ที่ไม่มีเว็บเวอร์ชั่นมือถือจะใช้แบตเตอรี่ประมาณ 1.4 %
ทีมนักวิจัยได้ทำการวัดข้อมูลซ้ำอีกครั้งกับเว็บไซต์ที่ทำการเซฟมา เพื่อให้พวกเค้าสามารถแบ่งแยกอัตราการใช้พลังงานจากการเปิดเว็บและการเรนเดอร์เพื่อดาวน์โหลดหน้าเพจ เว็บสมัยใหม่ส่วนใหญ่มักจะใช้ Javascript และไฟล์ CSS ในการใส่ฟังก์ชั่นเสริมและสไตล์ที่ไม่สามารถทำได้โดย HTML แบบพื้นฐาน แต่นักวิจัยพบว่าหลายๆเว็บที่พวกเค้าทดสอบจะทำการโหลดไฟล์ขนาดใหญ่ที่ไม่ได้ถูกใช้ในหน้าเพจนั้นๆ ยกตัวอย่างเช่น Wikipedia จะใช้ custom file Javascript พร้อมกับ generic library ในการปิดและขยายเซ็คชั่นต่างบนหน้าเพจ แต่ library ส่วนใหญ่กลับไม่ได้ถูกใช้งาน ถ้าหากนำ Javascript ของเว็บมาเขียนใหม่อีกครั้งเพื่อให้ทำงานเฉพาะฟังก์ชั่นที่ต้องการ ก็จะสามารถช่วยลดอัตราการใช้พลังงานได้ตั้งแต่ 9.5 – 15 จูล
เมื่อวิธีการเดียวกันนี้ไปเปลี่ยนไฟล์ CSS และ images ก็จะช่วยลดอัตรากาใช้พลังงานในการโหลดหน้าเพจ Wikipedia ได้ตั้งแต่ 25 – 35 จูล (หรือคิดเป็นอัตราส่วน 29%) นอกจากช่วยประหยัดพลังงานแล้วมันยังช่วยทำให้โหลดหน้าเว็บได้อีกด้วย ซึ่งนักออกแบบเว็บต้องคำนึงถึงปัจจัยเหล่านี้ให้ดี มิฉะนั้นอาจจะสูญเสียผู้ใช้ไปได้
ถ้าใครสนใจทางทีมงานจะนำผลการศึกษาครั้งนี้ไปแสดงในงาน World Wide Web 2012 conference ที่กำลังจะจัดขึ้นที่เมืองลียง ประเทศฝรั่งเศสค่ะ
VIA Newscientist