เทคโนโลยีบางอย่างมันก็เหลือเชื่อไม่คิดว่ามันจะเป็นจริงขึ้นมาได้ อย่างเช่น เซนเซอร์ไร้สายแบบถอดได้ตัวนี้เป็นต้น ทีี่ทำออกมาให้ติดกับฟันเพื่อให้ตรวจวัดปริมาณแบคทีเรียในช่องปากได้

เซนเซอร์ตัวนี้พัฒนาขึ้นโดย  Princeton University วัสดุที่ใช้ผลิตก็คือผลิตมาจากไหม, ทองคำและกราฟีน โดยมีลักษณะเหมือนรอยสักทีี่ใช้แปะลงไปที่ฟันเพื่อตรวจสอบเชื้อโรคและสภาพต่างๆของช่องปากในแบบ real-time ส่งข้อมูลที่ได้ผ่านเครือข่ายไร้สาย หลักการง่ายๆก็คือดัดแปลงกราฟีนให้สามารถตรวจ DNA หรือ ไวรัสบางชนิดได้ ในการทดสอบทางนักวิจัยได้นำเซนเซอร์นี้ไปติดลงบนฟันของวัวและปรับแต่งให้มันตรวจจับตัวอย่างแบคทีเรียที่เป็นต้นเหตุของการติดเชื้อเวลาผ่าตัดซึ่งนำไปสู่การเกิดแผลในกระเพาะอาหารของคนปกติ

ข้อดีของเซนเซอร์แบบนี้ก็คือวัสดุที่ใช้ผลิตเป็นวัสดุชีวภาพ ไม่ใช่วัสดุแปลกปลอมที่มนุุษย์ผลิตขึ้นมาอย่าง ซิลิโคน ทำให้ร่างกายไม่เกิดการต่อต้านและเกิดความสบายในการใช้งาน แต่ข้อเสียก็คือ มันสามารถละลายได้เมื่อโดนน้ำหรือโดนเอนไซม์ย่อยจนเหลือแต่เสาอากาศและกราฟีนเท่านั้น

สิ่งที่น่าท้าทายก็คือ จะทำยังไงให้เสาอากาศที่ใช้ส่งข้อมูลมีขนาดเล็กพอที่จะใส่เข้าไปในร่างกายมนุษย์ได้ เพราะฟันวัวมีขนาดใหญ่กว่าฟันมนุษย์มาก นอกจากนี้ทางนักวิจัยยังต้องทำความเข้าใจว่าเซนเซอร์นี้จะมีระยะเวลาในการติดนานแค่ไหน ไม่เพียงแต่เรื่องการละลายในน้ำหรือเอนไซม์เท่านั้น ยังคำนึงถึงผลกระทบจากการเคี้ยวอาหารและการแปรงฟันอีก ถ้าใครสนใจก็สามารถหาอ่านงานวิจัยได้ใน journal Nature Communications ค่ะ

VIA CNET