การพิมพ์ข้อความด้วยหน้าจอสัมผัสเป็นอะไรที่ช้าและมีโอกาสพิมพ์ผิดได้เยอะ ถ้าหากมีคีย์บอร์ดที่สามารถปรับเปลี่ยนไปตามสไตล์ของผู้ใช้ก็จะช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ให้ลดลงไปได้
การขาด physical feedback ทำให้คีย์บอร์ดเสมือนจริงบนหน้าจอทัชสกรีนใช้งานยาก เพราะทุกส่วนของหน้าจอให้สัมผัสที่เหมือนกันทุกจุด จึงทำให้กดพลาดไปได้ แต่ทัชสกรีนมีจุดเด่นที่เหนือกว่าคีย์บอร์ดแบบปกติก็คือสามารถปรับแต่ง layout การวางของตัวอักษรให้เข้ากับสไตล์การพิมพ์ที่ต่างกันได้
Leah Findlater จาก University of Maryland และ Jacob Wobbrock จาก University of Washington ได้ทดลองให้คนจำนวน 12 คนพิมพ์ข้อความตามที่บอกด้วยคีย์บอร์ดแบบสัมผัส ในระหว่างพิมพ์เค้าก็ทำการเก็บข้อมูลตำแหน่งต่างๆที่คนจิ้มเอาไว้ ข้อมูลเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมที่นำไปสู่การพิมพ์ผิด ยกตัวอย่างเช่น ผู้ใช้มักจะกดด้่านล่างของปุ่มมากกว่ากดตรงกลาง ทำให้เผลอไปกดโดนตัวอักษรอื่นที่อยู่ด้านล่างแทน เมื่อระบบระบุพฤติกรรมเหล่านี้ได้แล้ว มันก็จะทำการปรับรูปแบบ layout ของคีย์บอร์ดให้เข้ากับคุณเพื่อลดการพิมพ์ผิด เช่น ถ้าผู้ใช้ชอบกดที่ด้านล่างของปุ่ม มันก็จะปรับตำแหน่งของปุ่มให้ต่ำลง ถ้า space bar เล็กไปมันก็จะขยายให้ใหญ่ขึ้นเพื่อให้กดด้วยนิ้วโป้งได้ การที่คีย์บอร์ดปรับให้เข้ากับแต่ละบุคคลมันจะส่งผลให้ผู้ใช้พิมพ์ได้เร็วขึ้น 15% (แต่ความถูกต้องของการพิมพ์ยังเท่าเดิมนะ)
ด้วยวิธีการแบบเดียวกันนี้ทำให้ช่วยลดการพิมพ์ผิดในขณะที่พิมพ์ไปด้วยเดินไปด้วย ในการทดลองครั้งที่สอง พวกเค้าได้ร่วมมือกับ Mayank Goel จาก Wobbrock โดยให้คน 16 คนใช้ไอโฟนเดินพิมพ์ข้อความ โดยเค้าจะเก็บข้อมูลจากคีย์บอร์ดของไอโฟนคอยติดตามข้อมูล accelerometer ของไอโฟน เปรียบเทียบร่วมกับตำแหน่งที่แตะหน้าจอ รวมถึงการพิมพ์ผิดเพื่อให้รู้ถึงต้นเหตุ เช่นเวลาที่คนเดิน การแตะหน้าจอมีแนวโน้มที่จะเข้าใกล้จุดศูนย์กลางของปุ่มมากขึ้น ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือซอฟท์แวร์ที่มีชื่อว่า WalkType ที่ช่วยเพิ่มความเร็วในการพิมพ์ขณะเดินมากขึ้น 13% เมื่อเทียบกับคีย์บอร์ดไอโฟนแบบเดิม ส่วนอัตราการพิมพ์ผิดก็ลดลงจาก 10% เหลือแค่ 6% ค่ะ
VIA Newscientist