คุณเคยสงสัยมั้ยว่าในอวกาศมีการควบคุมการสัญจรของวัตถุที่มนุษย์ส่งขึ้นไปหรือไม่? แล้วในกรณีที่เกิดการชนกันจะมีกฎหมายอะไรควบคุมหรือไม่? คำตอบก็คือมีค่ะ แต่มีเพียงไม่กี่ข้อเท่านั้น

ปัจจุบันมีวัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้นส่งไปในอวกาศอยู่ราวๆ 20,000 วัตถุที่โคจรอยู่รอบโลก แต่มันมีกฎควบคุมการสัญจรเทียบกับรถยนต์แล้วถือว่าน้อยกว่ามาก ปกติแล้ววัตถุอย่างดาวเทียมจะมีวงโคจรที่ตายตัว ดังนั้นการควบคุมปรับวงโคจรจึงทำได้ตั้งแต่ก่อนปล่อยมันออกสู่อวกาศ ผู้ให้บริการดาวเทียมจำเป็นต้องศึกษาให้มั่นใจก่อนว่าดาวเทียมอื่นๆที่ถูกส่งขึ้นไปก่อนหน้านี้มีวงโครจรแบบไหนเพื่อไม่ให้เกิดการชนกันหรือโคจรมาใกล้กันจนเกินไป

International Telecom Union เอเจนซี่สหประชาชาติจะเป็นผู้กำหนดตำแหน่งที่ว่างของดาวเทียมในวงโคจรประจำที่ (geosynchronous orbit) ในระดับความสูง 22,000 ไมล์เหนือพื้นโลก ผู้ให้บริการดาวเทียมจำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎของ ITU และทำการลงทะเบียนดาวเทียม, ความถี่ในการถ่ายทอดสัญญาณและจุดประสงค์ของการใช้ดาวเทียม รวมถึงระยะเวลาและแผนสิ้นสุดการใช้งานดาวเทียมดวงนี้ด้วย ซึ่งปกติแล้วดาวเทียมที่สิ้นสุดการใช้งานก็จะกลายเป็นขยะอวกาศจะถูกส่งไปยังวงโคจรสุสาน (graveyard orbit)

ส่วนการปล่อยจรวดหรือกระสวยอวกาศไม่จำเป็นต้องผ่านการอนุมัติในระดับนานาชาติก่อนแต่จำเป็นต้องผ่านการอนุมัติตามกฎของชาตินั้นๆแทน เช่น ต้องมี FAA license ก่อนปล่อยจรวดขึ้นสู่อวกาศ หน่วยงานทางด้านอวกาศส่วนใหญ่มักจะคำนึงถึงการหลีกเลี่ยงวงโคจรของสิ่งต่างๆในอวกาศอยู่แล้ว และจะมีการลงทะเบียนกับ U.N. Office for Outer Space Affairs ก่อนเพราะหน่วยงานนี้มีหน้าที่ติดตามวัตถุที่มนุษย์ปล่อยสู่อวกาศประมาณ 93.5 % ที่มันสามารถทำงานได้อยู่ รวมถึงดาวเทียม 3,600 ดวงที่ยังทำงานอยู่

ระบบควบคุมเหล่านี้ยังคงใช้ได้ผลอยู่ ซึ่งอุบัติเหตุการชนกันของดาวเทียมในรอบหลายปีที่ผ่านมามีเพียงแค่ครั้งเดียวที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2009 ระหว่างดาวเทียมของรัสเซียและอเมริกาในชั้นวงโคจรต่ำของโลก (low Earth orbit)

VIA Popsci