การถ่ายภาพแบบ slow-motion ด้วยอัตรา 5,000 ถึง 10,000 เฟรมต่อวินาทีจะช่วยให้เห็นรายละเอียดการเคลื่อนไหวของวัตถุที่มีความเร็วได้อย่างน่าตื่นตาตื่นใจ ถ้าเรานำมาใช้กับร่างกายเราบ้างล่ะจะเป็นยังไง

นักวิจัยจาก University of California, Los Angeles (UCLA) ได้พัฒนาบางอย่างที่เร็วกว่านั้น นั่นก็คือกล้องที่สามารถบันทึกภาพได้ 36.7 ล้านเฟรมต่อวินาที พร้อมด้วยเครื่องวิเคราะห์การไหลภาพแบบความเร็วสูง แน่นอนว่ามันไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อถ่ายภาพ slow-motion แบบเจ๋งๆหรอกนะ แต่เค้ามาตรวจหาเซลล์มะเร็งในตัวอย่างหยดเลือดค่ะ

ปัจจุบัน ในห้องทดลองจะใช้กล้องจุลทรรศน์ที่ติดตั้งด้วยกล้องดิจิตอลเพื่อตรวจสอบตัวอย่างเลือด ปัญหาก็คือเจ้าเซนเซอร์ CCD และ CMOS ของกล้องดิจิตอลยังมีความไวไม่พอสำหรับงานที่ละเอียดอ่อนเช่นนี้ ยิ่งปรับความไวให้สูงขึ้น การรับแสงก็จะด้อยลงทำให้ภาพที่ได้คุณภาพไม่ดี

ด้วยกล้องแบบใหม่นี้ มันสามารถตรวจสอบเซลล์ได้ 100,000 เซลล์ต่อวินาที เร็วกว่าเครื่องวิเคราะห์เลือดที่ใช้ในปัจจุบันถึง 100 เท่า นั่นหมายความว่าเซลล์มะเร็งที่ซ่อนตัวอยู่ในหมู่เซลล์ที่สุขภาพดีนับล้านๆเซลล์ที่สามารถแพร่กระจายทำให้เกิดโรคมะเร็งชนิดที่ทำให้ถึงแก่ความตายได้ก็จะถูกตรวจพบได้อย่างง่ายดาย โดยการบังคับให้หยดเลือดเคลื่อนตัวผ่านช่องแคบที่ใช้เลเซอร์เป็นตัวกระตุ้นให้เคลื่อนที่ หลังจากนั้นก็บันทึกภาพด้วยวิธีที่เรียกว่า optoelectronic time-stretch image processor ส่งผลให้วิเคราะห์การไหลของของเหลวที่เคลื่อนตัวผ่านอุปกรณ์ได้ในระดับความเร็ว 4 เมตรต่อวินาทีโดยรูปที่ได้ไม่มีการเบลอ ไม่เพียงแค่ถ่ายได้อย่างรวดเร็วเท่านั้น แต่ยังมีความแม่นยำสูงด้วย เรียกว่าเซลล์มะเร็งหนึ่งในล้านเซลล์ก็ตรวจพบได้

ทางนักวิจัยหวังว่ากล้องตัวนี้จะมีประโยชน์เพื่อนำไปใช้ประยุกต์ใช้ได้ทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์ค่ะ

VIA techland