เชื่อหรือไม่ว่าสองในสามผู้นำประเทศทั่วโลกต่างก็ใช้ทวิตเตอร์ในเชิงการเมืองกันทั้งนั้น ซึ่งปรากฏการณ์นี้มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า “Twiplomacy”
นี่คืองานวิจัยครั้งแรกของโลกที่ศึกษาการใช้งานทวิตเตอร์ของผู้นำต่างๆทั่วโลก ด้วยการวิเคราะห์บัญชีผู้ใช้งานของผู้นำประเทศกว่า 264 รายชื่อจาก 125 ประเทศทั่วโลกโดยบริษัท PR ที่มีชื่อว่า Burson-Marsteller การศึกษาครั้งนี้เริ่มเก็บข้อมูลในเดือนกรกฎาคมโดยใช้ตัวแปรถึง 30 ตัวอย่างเช่น การทวีต การรีทวีตหรือ hashtags มาเป็นส่วนประกอบในการพิจารณา
ผลการศึกษาพบว่าผู้นำแถวหน้าของโลกกว่า 264 คนต่างก็มีทวิตเตอร์เป็นของตัวเอง ยกตัวอย่างเช่น ผู้นำ G-20 16 คนต่างก็ใช้ทวิตเตอร์ในเชิงการทูตอย่างสม่ำเสมอ (แต่น่าเสียดายที่ผู้นำของจีน, ซาอุดิอาระเบีย, อินโดนีเซียและอิตาลีไม่ได้เข้ามาร่วมวงด้วย) นักวิจัยเชื่อว่ามีผู้นำไม่ต่ำกว่า 30 คนที่ทำการทวีตข้อความด้วยตัวเอง พวกเค้าเหล่านี้จะทำการทวีตมากกว่า 350,000 ข้อความไปยังคนที่ติดตามรวมๆแล้วเกือบ 52 ล้านคน
ผู้นำจำนวนหนึ่งในสามจะไม่มีการ follow กันและกัน และมีผู้นำจำนวนหลายสิบคนที่ไม่ได้ follow คนอื่นในทวิตเตอร์เลย จำนวนข้อความ 9 ใน 10 จะทวีตโดยนายกรัฐมนตรีของอูกันดาและตอบกลับโดยประธานาธิบดีของรวันดา ส่วนภาษาที่ใช้ในการทวีตครอบคลุม 43 ภาษา ซึ่งภาษาอังกฤษจะใช้มากที่สุดถึง 90 คน ภาษาสเปนรองลงมามีผู้ใช้ 41 คน ที่สามคือภาษาฝรั่งเศสมีผู้ใช้ 25 คนและที่สี่ก็คือภาษาอารบิกมีผู้ใช้ 17 คน
บัญชีผู้ใช้งานที่มีคนติดตามมากที่สุดก็คือ @BarackObama มีคนให้ความสนใจถึง 17.8 ล้านคนซึ่ง 76 คนในนั้นก็คือเพื่อนของประธานาธิบดีและรัฐบาลประเทศอื่นๆ แม้ว่าโอบามาจะไม่ค่อยได้ทวีตข้อความด้วยตัวเอง แต่ถ้าเค้าทวีตเองเมื่อไหร่ก็จะใส่ลายเซ็นมาด้วย ข้อความที่มีการรีทวีตมากที่สุดก็คือ คำพูดของโอบามาเกี่ยวกับ “การให้คนเพศเดียวกันแต่งงานกันได้” เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม มีการรีทวีตไปมากกว่า 62,000 ครั้ง
ทวิตเตอร์มักจะถูกนำมาใช้ทางการเมืองช่วงที่มีการหาเสียงเลือกตั้ง แต่พอได้รับเลือกเข้าไป การเคลื่อนไหวบนทวิตเตอร์ก็น้อยลง ซึ่งตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือเคสของ Dilma Rousseff ประธานาธิบดีของบราซิลและ Francois Hollande ประธานาธิบดีของฝรั่งเศสที่เห็นได้ชัด
VIA techland