ใครจจะไปคิดว่าสีจากธรรมชาติก็นำมาผลิตแบตเตอรี่เพื่อสิ่งแวดล้อมได้
ปัจจุบันขั้วบวกของแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนมักจะใช้โลหะ ซึ่งมีโคบอลต์เป็นส่วนประกอบหลัก การนำโคบอลต์มาใช้ถือว่าเป็นเรื่องที่สิ้นเปลืองพลังงานอย่างมากทั้งกระบวนการขุดแร่ขึ้นมา, กระบวนการผสมโคบอลต์เข้ากับเกลือลิเธียมที่ต้องทำให้อุณหภูมิที่สูง แถมยังทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมากอีกด้วย (ประเมินว่ามีคาร์บอนไดออกไซด์ 72 กิโลกรัมเกิดขึ้นทุกการใช้พลังงาน 1 kilowatt hour เพื่อผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน)
ทีมนักวิจัยที่เกิดจากความร่วมมือกันระหว่าง City College of New York, Rice University และ US Army Research Laboratory ได้ค้นพบวิธีที่จะนำพืช madder plant ที่เติบโตบนโลกนี้มาหลายศตวรรษมาผลิตเป็นแบตเตอรี่เพื่อสิงแวดล้อม เพียงแค่นำรากของมันมาต้อเพื่อสกัดเอา purpurin หรือสีสำหรับย้อมผ้าออกมาเท่านั้น
ระหว่างที่ปลูกพืชเจริญเติบโต มันก็จะดูดเอาคาร์บอนไดออกไซด์จากชั้นบรรยากาศ เมื่อมันโตจนพอใช้งานได้ก็นำมาสกัดสี แล้วนำมาผสมกับเกลือลิเธียมที่อุณหภูมิห้องโดยการใช้สารทำละลายแอลกอฮอล์ ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องใช้ไฟฟ้าให้สิ้นเปลืองเหมือนกับการใช้โคบอลต์ เมื่อแบตเตอรี่หมดก็จะไม่เหลือสารพิษตกค้างจึงง่ายต่อการนำกลับมาใช้ใหม่หรือแยกไปกำจัดต่อไป แต่การใช้งานของแบตเตอรี่เพื่อสิ่งแวดล้อมตัวนี้ยังทำงานได้ไม่fuเท่าแบตลิเธียมไอออนที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งนักวิจัยยังต้องพัฒนาต่อเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานกว่าจะวางขายได้จริงซึ่งคงต้องใช้เวลา 2-3 ปีค่ะ
VIA Geek