การติดตามดูสุขภาพผู้ป่วยระหว่างดำเนินชีวิตประจำวันอาจจะเป็นเรื่องที่ยาก เพราะต้องใช้เซนเซอร์ที่ติดตัวอยู่ตลอดเวลา บางครั้งก็มีการลืมใส่บ้าง เซนเซอร์บางอย่างก็มีขนาดใหญ่เพราะต้องใส่แบตเอาไว้ให้ทำงาน
ปัญหาเหล่านี้จะหมดไป ด้วยเซนเซอร์แบบใหม่ที่พัฒนาขึ้นโดย University of Tokyo ด้วยการสร้างเซนเซอร์แบบแผ่นที่มีน้ำหนักเบาเอาไว้ชี้จุดที่ยากที่จะรู้หรือใช้เป็นเซนเซอร์ผิวหนังติดกับตัวก็ได้
ปกติกระดาษทั่วไปจะหนักหนัก 81 กรัม/m2 แต่เซนเซอร์นี้หนักแค่ 3g/m2 หรือ 1/27 ของน้ำหนักกระดาษนั่งเอง ส่วนความหนา หนาแค่ 2 ไมโครเมตร ด้วยความที่มันเป็นแผ่นที่มีความยืดหยุ่น โค้งงอได้ จึงสามารถนำมาตัดและใช้ห่อหุ้มร่างกายได้ง่าย
ภายในติดตั้งเซนเซอร์ที่วัดค่าต่างๆเกี่ยวกับการแพทย์ไว้ เพื่อตรวจดูอุณหภูมิร่างกาย, อัตราการเต้นของหัวใจ, ความดันเลือดและข้อมูลที่เกี่ยวข้องอื่นๆ
แผ่นเซนเซอร์นี้ถูกพัฒนาขึ้นมาตั้งแต่ปี 2010 ด้วยการใช้ TFTs ติดลงไปบนฟิล์มพลาสติกผลที่ได้คือเซนเซอร์ยืดหยุ่นที่มีความหนา 25 ไมโครเมตร ซึ่งเวอร์ชั่นล่าสุดเค้าลดความหนาไปถึง 90 % เหลือแค่ 2 ไมโครเมตรเอง
ปัจจุบันทางผู้วิจัยเพิ่งทำวิทยานิพนธ์เรื่องเทคโนโลยีเรียบร้อย ส่วนตัวต้นแบบที่ใช้งานได้จริงยังอยู่ในขั้นทดสอบในห้องแล็บค่ะ
VIA Geek