โฆษณาบนมือถือคนที่ได้เงินก็คือ เจ้าของแอพหรือเว็บไซต์ที่โฆษณาชิ้นนั้นแปะอยู่ แต่ถ้ามีโฆษณาที่คุณดูแล้วได้เงินบ้างล่ะ?
นั่นจึงเป็นที่มาของแนวความคิดของแอพบนแอนดรอยด์ที่มีชื่อว่า Locket ที่แสดงโฆษณาบนหน้าจอล็อคสกรีนของมือถือ เมื่อเจ้าของเครื่องเปิดหน้าจอมาก็จะเห็นโฆษณานี้และทุกครั้งที่ปลดล็อคหน้าจอก็จะได้รับเงิน 1 เซ็นต์ หรือประมาณ 32 สตางค์
แอพนี้เริ่มพัฒนาขึ้นเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ภายใต้ความร่วมมือของ Yunha Kim, Paul Jang, Christopher Crawford และ Kaushik Pendurthi พวกเค้าเหล่านี้ก็คืออดีตนักศึกษาปริญญาโทของ Duke University , อดีตพนักงานเอเจนซี่โฆษณาและวิศวกรซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์ หลังเปิดตัวได้ไม่นานก็มีผู้ใช้แอนดรอยด์โหลดไปมากกว่า 150,000 คน รวถึงได้เซ็นสัญญากับเจ้าของแบรนด์ที่จ่ายเงินโฆษณารายใหญ่อย่าง Orbitz, Amazon, Spotify และ SunnyD
Locket เป็นโฆษณาความละเอียดสูงแบบเต็มหน้าจอถือว่าคุณภาพแตกต่างจากแบนเนอร์โฆษณาและโฆษณาแบบ pop-up บนมือถือที่นักการตลาดเลือกใช้กันในปัจจุบัน ซึ่งโฆษณาเหล่านั้นมักจะมีคำถามเรื่องประสิทธิภาพ เพราะมีขนาดเล็ก คนนักจะมองผ่านๆ ไม่ก็มองข้ามไป ยากที่จะดึงดูดให้ผู้ใช้มือถือกดเข้าไปดู
สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดโมเดลธุรกิจของ Locket ขึ้นมา นั่นคือการจ่ายเงินแบบทุกครั้งที่เห็น pay-per-view ด้วยความสมัครใจของเจ้าของเครื่อง จนดึงดูดใจให้นักลงทุนสามคนและ Great Oaks Venture Capital ยอมจ่ายเงินสนับสนุนการพัฒนาแอพนี้
เจ้าของแบรนด์และสินค้าค้าต่างๆสามารถเลือกกลุ่มเป้าหมายด้วยข้อมูลสำมะโนประชากรอย่าง เพศ, อายุ, พิกัด, เวลาและประเภทของอุปกรณ์ที่ใช้ (สมาร์ทโฟน/แท็บเล็ต)
เมื่อผุ้ใช้เปิดหน้าจอมือถือขึ้นมา ก็จะเห็นโฆษณาเพียงชิ้นเดียว ด้านล่างมีปุ่มปลดล็อคอยู่ตรงกลาง ถ้าเราลากนิ้วไปทางขวาก็จะเป็นการปลอล็อคมือถือ แต่ถ้าเลื่อนไปทางซ้ายก็จะเป็นการเปิดดูเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับโฆษณาชิ้นนั้นตามที่เจ้าของตั้งไว้ เช่น พาไปยังหน้าเว็บของสินค้าและบริการ, ดาวน์โหลดคูปองส่วนลด, แสดงโปรโมชั่นต่างๆ รวมถึงแสดงคลิปวิดีโอโฆษณา ถึงแม้คุณจะไม่เลื่อนนิ้วไปทางซ้ายมือคุณก็ยังได้นับค่าดูโฆษณาอยู่ดี ซึ่งคุณเลือกได้ว่าจะให้เค้าจ่ายเงินในรูปแบบไหน เช่น บัตรของขวัญ, บริจาคให้องค์กรการกุศลหรือโอนเงินให้ผ่านทาง PayPal ไปยังบัญชีส่วนตัวของคุณเอง
โฆษณาที่ปรากฎบนหน้าจอจะเปลี่ยนไปอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันอาการเบื่อหน่ายของผู้ใช้ที่เห็นโฆษณาเดิมๆซ้ำๆติดต่อกัน ซึ่งทางผู้พัฒนาบอกว่าวิธีนี้ทำให้อัตราการคลิกเข้าดูโฆษณาสูงขึ้น 4 เท่าเมื่อเทียบกับแบนเนอร์/โฆษณาป็อปอัพแบบเดิมๆ ซึ่งทางผู้ใช้หลายคนบอกว่าไม่ได้โหลดแอพเพราะอยากได้เงินแต่ชอบความแปลกใหม่ว่าวันนี้จะมีโฆษณาอะไรใหม่บ้าง
VIA psfk