นักวิจัยจาก Tel Aviv University โชว์ความสำเร็จในการพิมพ์หัวใจ 3 มิติที่สร้างจากเนื้อเยื่อและเส้นเลือดที่เก็บมาจากร่างกายมนุษย์ ปูทางไปสู่การสร้างอวัยวะทดแทนในอนาคต

อวัยวะที่ทาง Tel Aviv ผลิตขึ้นนั้นยังไม่สามาาถนำไปบริจาคได้ เพราะมันยังมีขนาดเล็กมากเท่ากับหัวใจกระต่ายเท่านั้น แต่ก็คือเป็นอีกก้าวสำคัญในวงการวิทยาศาสตร์การแพทย์ แม้ว่าก่อนหน้านี้ทางนักวิจัยได้พยายามพิมพ์โครงสร้างของหัวใจขึ้นมาใหม่ด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติด้วยวัสดุที่ไม่ใช่เนื้อเยื่อของมนุษย์ ปัญหาอีกเรื่องก็คือโครงสร้างของหัวใจมีความซับซ้อนเป็นอย่างมากมีทั้งเส้นเลือด, โพรงและห้องต่างๆ

การนำเนื้อเยื่อของคนมาใช้พิมพ์หัวใจสามมิติถือเป็นเรื่องที่สำคัญเพราะจะช่วยลดความเสี่ยงในการต่อต้านของร่างกายที่จะปฏิเสธอวัยวะใหม่ที่ปลูกถ่ายเข้าไป ยิ่งถ้าเป็นเนื้อเยื่อจากตัวผู้ป่วยเองปัญหานี้ก็จะหมดไป

แน่นอนว่าการนำเนื้อเยื่อที่มีปริมาณเท่ากับขนาดของหัวใจก็เป็นอีกปัญหาที่ท้าทาย โดยปกติแล้วหัวใจคนเรามีน้ำหนักเฉลี่ย 310 กรัม ดังนั้นทางนักวิจัยต้องหาวิธีทำให้ยังไงให้เซลล์จากเนื่อเยื่อมีปริมาณเพียงพอต่อการใช้งาน ส่วนปัญหาอีกข้อก็คือปัญหาด้านเทกนิก เนื่องจากหัวใจนั้นเป็นอวัยวะที่มีความซับซ้อนสูง มีโครงข่ายเส้นเลือดจำนวนมหาศาล แถมยังมีขนาดเล็กซึ่งเครื่องพิมพ์สามมิติในปัจจุบันนั้นยังไม่สามารถพิมพ์ได้ละเอียดถึงขนาดนั้นได้

เรียกว่าหนทางยังอีกยาวไกลที่เราจะพิมพืหัวใจจากเครื่องพิมพ์สามมิติได้อย่างสมบูรณ์ ในช่วงเริ่มต้นนี้ทางนักวิจัยกำลังหาวิธีสอนให้มันทำงานได้เหมือนหัวใจจริงในการปั๊มเลือด แผนการขั้นต่อไปคือทดลองนำไปปลูกถ่ายในสัตว์เพื่อดูผลลัพธ์ว่าจะใช้แทนหัวใจจริงได้มั้ย

VIA TNW