มองไปรอบตัวเราจะเห็นว่าของใช้ต่างๆ ที่ใช้นั้น ใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นมือถือ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน รวมถึงรถยนต์ที่กำลังจะกลายเป็นพลังงานไฟฟ้าแทนน้ำมัน

พลังงานไฟฟ้ากำลังกลายเป็นปัจจัยหลักของโลก ทำให้กำลังผลิตที่มีอยู่อาจจะไม่พอต่อความต้องการ จำเป็นต้องสรรหาหาแหล่งผลิตเพิ่มขึ้น รวมถึงการใช้เทคโนโลยีช่วยบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ส่งผลให้ธุรกิจพลังงานกลายเป็นเป็นอุตสาหกรรมที่ถูก Disrupt โดยเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว มีการนำเทคโนโลยีมาใช้บริหารจัดการมากขึ้น รวมถึงการเกิดสตาร์ทอัพที่มาพร้อมโมเดลธุรกิจใหม่ๆ ออกมาแข่งขันกันมากขึ้น

เทรนด์พลังงาน
1. Decarbonnization คนต้องการใช้พลังงานสะอาดมากขึ้น ทำให้มีการนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ ทั้งแสงแดด พลังงานลม ตอนนี้หลายๆ บ้าน เริ่มติดตั้งแผงโซลาร์เซล เพื่อผลิตไฟฟ้าไว้ใช้เองซึ่งช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าได้มากขึ้น
2. Digitization มีการนำเทคโนโลยีต่างๆ มาช่วยบริหารจัดการพลังงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น IoT, AI และ Block Chain ตรวจสอบการใช้งานและบริหารจัดการให้เหมาะสมกับพฤติกรรมการใช้งาน
3. Decentralization การผลิตไฟฟ้าไม่จำเป็นต้องพึ่งโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่อีกต่อไป ตอนนี้ภาคครัวเรือนสามารถผลิตไฟฟ้าใช้เองได้ ด้วยแผงโซล่าร์เซลล์ ในบางพื้นที่มีการใช้ระบบ Smart Grid บ้านไหนผลิตไฟฟ้าได้เกินความต้องการใช้ สามารถขายไฟฟ้าให้กับบ้านอื่นที่ต้องการไฟฟ้าได้
4. Deregulation หลายประเทศเริ่มมีการเปิดเสรีเรื่องของไฟฟ้ามากขึ้น เช่น ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เยอรมัน ส่วนไทยนั้นภาครัฐเริ่มมีการออกนโยบายเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจไฟฟ้าในอนาคตแล้ว

จากเทรนด์เหล่านี้ ส่งผลให้กลุ่ม ปตท.ในฐานะผู้ประกอบการด้านพลังงานชั้นนำของ จำเป็นต้องขยายไปยังธุรกิจใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์กับทิศทางการใช้พลังงานของประเทศ และทั่วโลก

ล่าสุด ปตท. ได้ลงนามร่วมวิจัยกับ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC แกนนำนวัตกรรมธุรกิจไฟฟ้ากลุ่ม ปตท. ในโครงการวิจัยและพัฒนาโรงงานผลิตแบตเตอรี่ต้นแบบ (Pilot Plant) ด้วยเทคโนโลยี Semi-Solid เพื่อต่อยอดและเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขันในธุรกิจแบตเตอรี่และเทคโนโลยีกักเก็บพลังงาน ซึ่งแบตเตอรี่จะสามารถแก้ไขจุดอ่อนของพลังงานหมุนเวียนที่มีข้อจำกัดในเรื่องการผลิตที่มีความไม่แน่นอน ของแต่ละชนิดเชื้อเพลิง ทั้งพลังงานแสงอาทิตย์ ลม ชีวมวล ที่ล้วนต้องพึ่งพิงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ และการเพาะปลูก

ในเรื่องนี้ CEO ของ GPSC โดย คุณชวลิต ทิพพาวณิช ชี้ให้เห็นว่า ทำไมถึงไม่ไปใช้พลังงานแสงอาทิตย์ทั้งหมด ซึ่งก็จะมีตัวที่ท้าทายอยู่อย่างแรก คือ โลกเราไม่สามารถจะมีพลังงานแสงอาทิตย์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ในภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่ง แม้กระทั้งเรื่องของน้ำซึ่งมีฤดูกาล ไบโอแมสก็จะต้องปลูกป่าทดแทน เป็นต้น หรือพลังงานลมก็ไม่สามารถที่จะกำหนดได้ว่าจะใช้พลังงานลมให้มีเสถียรภาพได้อย่างไร ดังนั้นเรื่องของ Reliability จึงเป็นเรื่องของความท้าทายของพลังงานหมุนเวียน

Semi-Solid เป็นคำตอบ ของนวัตกรรม การผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนแบบใหม่ ของ 24M Technology ที่ทาง GPSC ไปร่วมลงทุน ถือเป็นผู้ได้รับสิทธิรายเดียวจาก 24M Technology ในการผลิตและขายแบตเตอรี่ประเภทนี้ในไทยและภูมิภาค ASEAN

จุดเด่นอยู่ที่กระบวนการออกแบบเซลล์แบตเตอรี่ให้มีความปลอดภัยสูง แต่ลดขั้นตอนกระบวนการผลิตได้มากกว่า 50% ส่งผลให้ต้นทุนและระยะเวลาในการผลิตถูกลง รวมถึงเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพราะของเสียที่เกิดจากการผลิตน้อยลง

ความร่วมมือในครั้งนี้จะทำให้เกิดการศึกษาและพัฒนาเชิงเทคนิค ผลักดันเทคโนโลยีไปสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ รวมถึงการพัฒนาบุคคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ ซึ่งจะสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับปตท.ได้ในระยะยาว คาดโครงการนี้เสร็จสมบูรณ์ในปี 2564