วันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์นี้แล้วนะคะกับการประมูล 5G คลื่นความถี่ที่หลายคนกำลังรอคอย ว่าจะเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง แต่ก่อนที่จะถึงจุดนั้น เรามาดูกันหน่อยว่าคลื่นความถี่ที่กำลังจะประมูล รวมถึงผู้ประกอบการที่เข้าประมูลนั้นมีใครบ้าง แล้วแต่ละรายประมูลอะไรกันบ้าง 

ชัดแล้ว 5 รายเข้าประมูล 16 ก.พ.นี้ 

5G

ภาพจาก https://spectrumauction.nbtc.go.th/

ตามที่เคยได้รายงานไปก่อนนี้ว่ามีผู้ประกอบการจำนวน 5 รายเข้ายื่นเอกสารการประมูล 5 เป็นที่เรียบร้อย ได้แก่
1 บริษัท ทรู มูฟเอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด
2 บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
3 บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด
4 บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)
5 บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด 

กทสช. เปิดประมูลรวดเดียว 4 คลื่น

ภาพจาก https://spectrumauction.nbtc.go.th/

5G

ในการประมูลครั้งนี้ทางสำนักงาน กทสช. จะทำการประมูลคลื่นความถี่ด้วยกันทั้งหมด 4 คลื่นถี่ คือ 700 MHz 1800 MHz 2600 MHz และ 26 GHz โดยแต่ละคลื่นมีความแตกต่างกันดังนี้ 

คลื่น 700 MHz จำนวน 3 ใบอนุญาต ใบอนุญาตละ 2×5 MHz ราคาเริ่มต้น 8,792 ล้านบาท เคาะราคาครั้งละ 440 ล้านบาท การชำระเงินแบ่งเป็น 10 งวด งวดละ 10% โดยผู้เข้าร่วมประมูลต้องวางหลักประกัน 2,637.6 ล้านบาท และหากไม่ชำระค่าประมูล จะต้องชำระค่าปรับ 1,319 ล้านบาทต่อใบอนุญาต

คลื่น 1800 MHz จำนวน 7 ใบอนุญาต ใบอนุญาตละ 2×5 MHz ราคาเริ่มต้น 12,486 ล้านบาท เคาะราคาครั้งละ 25 ล้านบาท การชำระเงินแบ่งเป็น 3 งวด งวดที่ 1 จำนวน 50% ของราคาที่ชนะการประมูล งวดที่ 2 และ 3 จำนวนงวดละ 25% ของราคาที่ชนะการประมูล โดยผู้เข้าร่วมประมูลต้องวางหลักประกัน 4,994.4 ล้านบาท และหากไม่ชำระค่าประมูล จะต้องชำระค่าปรับ 1,873 ล้านบาท ต่อใบอนุญาต โดยผู้ชนะการประมูลจะต้องขยายโครงข่ายให้ครอบคลุม 40% ของประชากร ภายใน 4 ปี และครอบคลุม 50% ของประชากรภายใน 8 ปี

คลื่น 2600 MHz จำนวน 19 ใบอนุญาต ใบอนุญาตละ 10 MHz ราคาเริ่มต้น 1,862 ล้านบาท เคาะราคาครั้งละ 93 ล้านบาท การชำระเงินแบ่งเป็น 7 งวด งวดที่ 1 จำนวน 10% ของราคาที่ชนะการประมูล งวดที่ 2-7 (ปีที่5-10) งวดละ 15% ของราคาที่ชนะการประมูล โดยผู้เข้าร่วมประมูลต้องวางหลักประกัน 1,862 ล้านบาท และหากไม่ชำระค่าประมูล จะต้องชำระค่าปรับ 280 ล้านบาท ต่อใบอนุญาต โดยผู้ชนะการประมูลจะต้องขยายโครงข่ายให้ครอบคลุม 50% ในพื้นที่โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ภายใน 1 ปี และครอบคลุม 50% ของประชากรใน Smart city ภายใน 4 ปี

คลื่น 26 GHz จำนวน 27 ใบอนุญาต ใบอนุญาตละ 100 MHz ราคาเริ่มต้น 423 ล้านบาท เคาะราคาครั้งละ 22 ล้านบาท การชำระเงินงวดเดียวภายใน 1 ปีหลังจากการประมูล โดยผู้เข้าร่วมประมูลต้องวางหลักประกัน 507.6 ล้านบาท และหากไม่ชำระค่าประมูล จะต้องชำระค่าปรับ 64 ล้านบาทต่อใบอนุญาต

คลื่น 1800 MHz ไร้เงาผู้ประมูล

5g

สำหรับการประมูล 5G ครั้งนี้ซึ่งมีผู้ที่เข้าประมูลเพื่อขอรับใบอนุญาตจำนวน 5 ราย พบว่า คลื่น 1800 MHz ซึ่งมีจำนวน 7 ใบอนุญาตไม่มีผู้เข้าร่วมประมูล โดยการเข้าประมูลส่วนใหญ่กระจายเป็นดังนี้
คลื่น 700 MHz มีผู้เข้าประมูล 3 ราย ได้แก่ AWN CAT TRUE
คลื่น 2,600 MHz มีผู้เข้าร่วมประมูล 3 ราย ได้แก่ AWN CAT TRUE
คลื่น 26 GHz มีผู้เข้าร่วมประมูล 4 ราย ได้แก่ AWN DTAC TRUE TOT

สังเกตได้ว่ามีผู้ประกอบการอย่าง บริษัท ทรู มูฟเอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (TRUE) และ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (AWS) เข้าร่วมประมูลทั้ง 3 คลื่นความถี่

คาดบริการ 5G ได้ในเดือนก.ค.นี้

5g

ตามกรอบระยะเวลาของสำนักงานกสทช. หากทุกอย่างเป็นตามแผน โดยการประมูลจะเกิดขึ้นในวันที่อาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์นี้ หลังจากนั้นในช่วงเดือนกรกฎาคมน่าจะเริ่มให้บริการได้ 

สรุป

อย่างไรก็ตามต้องติดตามกันอีกครั้งในวันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์นี้ ว่าการประมูลคลื่นความถี่ 5G ในครั้งนี้จะเป็นอย่างแล้ว แล้วมีผู้ประกอบการรายใดบ้างที่ได้รับใบอนุญาต

 

ข้อมูลอ้างอิงจาก https://spectrumauction.nbtc.go.th/ 
ภาพประกอบจาก : Pixabay