หากย้อนกลับไปมอง Gojek เมื่อ 10 ปีที่แล้ว คงไม่มีใครคาดคิดว่า จากจุดเริ่มต้นเพียงมอเตอร์ไซด์ 20 คัน จะนำพา Gojek มาไกลสู่สตาร์ทอัพระดับ Decacorn มูลค่าเกิน 10,000 ล้านดอลลาร์
แต่นั่นเป็นเพราะ “ความเชื่อ” ที่ Gojek เชื่ออย่างหมดใจว่า เทคโนโลยีจะสามารถช่วยแก้ปัญหาที่สร้างผลกระทบต่อผู้คนในวงกว้างได้ จนก่อให้เกิดเป็น “ความมุ่งมั่น” ที่จะนำเทคโนโลยีระดับโลกมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์และบริการที่จะช่วยให้ผู้คนได้ใช้ชีวิตแบบมีคุณภาพมากขึ้น
การเป็นสตาร์ทอัพระดับหมื่นล้าน ไม่ได้สำคัญไปกว่า การที่ Gojek สามารถช่วยเหลือผู้คนนับล้านในกว่า 200 เมืองทั่วภูมิภาคให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้
ใช้เทคโนโลยีนำทางชีวิตของผู้คน
จุดเริ่มต้นจากมอเตอร์ไซค์ 20 คันกลายเป็นสตาร์ทอัพระดับ Decacorn มูลค่าเกิน 10,000 ล้านดอลลาร์แต่นั่นไม่สำคัญเท่ากับการนำเทคโนโลยีมาแก้ปัญหาที่มีผลกระทบต่อผู้คนในวงกว้าง
อินโดนีเซียขึ้นชื่อเรื่องรถติดอันดับต้นๆของโลก มอเตอร์ไซค์จึงเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆในการเดินทางชั่วโมงเร่งด่วน แต่อินโดนีเซียไม่เหมือนเมืองไทยไม่มีวินทุกหน้าปากซอยเหมือนบ้านเรา กว่าจะได้รถต้องเสียเวลาเดินหา แถมยังต้องมาเสี่ยงดวงค่าบริการอีก เพราะไม่มีใครกำหนดราคากลางบางครั้งรีบๆก็ต้องยอมโดนฟันจ่ายแพงเกินจริง
นั่นจึงทำให้ Nadiem Makarim อดีตนักศึกษาจาก Havaed Business School ที่ขณะนั้นกำลังทำงานอยู่ใน McKinsey & Company เกิดไอเดีย พัฒนาแพลตฟอร์มเรียกรถมอเตอร์ไซค์ขึ้นมา เพื่อเป็นตัวกลางระหว่างรถและคนเรียกรถให้หากันเจอง่ายขึ้นเมื่อปี 2010 เขาตั้งชื่อบริการนี้ว่า Gojek มาจากคำว่า ojek แปลว่ามอเตอร์ไซค์รับจ้าง

Nadiem Makarim. Copyright by World Economic Forum / Sikarin Thanachaiary
ในช่วงแรกเริ่มต้นจากการเป็นศูนย์บริการ อยากใช้บริการโทรเข้าไปนัดแนะจุด เดี๋ยวจะมีรถไปรับ โดยมีรถคอยให้บริการอยู่ 20 คัน
จากนั้น Gojek เริ่มพัฒนาแอปของตัวเอง ส่งผลให้มีผู้ใช้เพิ่มขึ้นมากมาย เพราะมาช่วยแก้ปัญหาเรียกรถสะดวกขึ้น แถมค่าบริการยังมีความชัดเจน ด้วยความง่ายในการใช้จึงทำให้คนอินโดนีเซียหันมาใช้งานอย่างล้นหลาม
ไม่ได้แก้แค่ปัญหาเรียกรถ สร้างอาชีพให้คนรากหญ้า
นอกจากการแก้ปัญหาเรียกรถและช่วยลดการใช้รถยนต์ส่วนตัวแล้ว Gojek ยังช่วยสร้างอาชีพให้กับคนอินโดนีเซีย ยกระดับให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างเศรฐกิจให้เข้มแข็ง ด้วยการขยายบริการอื่นๆเพิ่มขึ้นตอบโจทย์คนอินโดมากขึ้น เช่น GoSend บริการส่งของ Go-Food และ GoMart บริการซื้อของ เพื่อให้ผู้ขับมีรายได้เพิ่มขึ้น ในช่วงนอกเวลาเร่งด่วนที่คนใช้บริการเรียกรถน้อย
จากการศึกษาของมหาวิทยาลัยอินโดนีเซีย (LD FEB UI) ในปี 2018 ระบุว่า อัตราค่าจ้างขั้นต่ำในขณะนั้นที่กำหนดไว้ที่เดือนละ 3.6 ล้านรูเปียห์ แต่ผู้ขับขี่ Gojek ในจาการ์ตามีรายรับเฉลี่ยเดือนละเกือบ 5 ล้านรูเปียห์ (IDR) ซึ่งถือว่าสูงกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
ส่งผลให้ปัจจุบันอินโดนีเซียมีผู้ใช้งาน Gojek เป็นประจำเดือนละมากกว่า 29 ล้านคน มีคนขับลงทะเบียนในระบบมากกว่า 2 ล้านคัน มีร้านค้าในระบบกว่า 500,000 ร้าน (ที่มา NIKKEI ASIAN REVIEW )
ต่อยอด Super App ยกระดับคุณภาพชีวิต
Gojek พยายามพัฒนาบริการใหม่ๆเพื่อช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตด้านต่างๆ ด้วยการรวมไว้ในแอปฯเดียว จนเติบโตมีบริการ On-demand มากกว่า 20 บริการ ทั้งการคมนาคมและการขนส่ง, ส่งของ ซื้อของ Wallet ชำระเงินที่มีผู้ใช้มากที่สุดในอินโดนีเซีย หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค, การชำระเงิน จนไปถึงข่าวและความบันเทิงส่งผลให้ได้รับความสนใจและการลงทุนจากบริษัทชั้นนำทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น Google, JD.COM ,Tencent, VISA, Facebook จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ตอนนี้ Gojek ได้กลายเป็นสตาร์ทอัพระดับ Decacorn ที่มีมูลค่าเกิน 10,000 ล้านดอลลาร์ไปแล้ว
ความสำเร็จของ Gojek ทำให้กลายเป็นบริษัทเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ติดอันดับ Top 20 ของนิตยสาร Fortune ในกลุ่มบริษัทที่เปลี่ยนแปลงโลกในแง่ของเศรษฐกิจและสังคม
นำเทคโนและยีและความมุ่งมั่นสู่เมืองอื่น
เพราะทุกเมืองมีปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อผู้คนวงกว้างไม่ต่างกัน Gojek จึงเริ่มนำเทคโนโลยีระดับโลกที่มีพร้อมกับความมุ่งมั่นที่ฝังใน DNA นับตั้งแต่วันแรกที่ก่อตั้งบริษัท ไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์และบริการให้เหมาะสมต่อบริบทของความเป็นเมืองนั้นๆให้มากที่สุด
ในปี 2018 Gojek ได้ขยายธุรกิจออกไปนอกอินโดนีเซีย เปิดบริการในเวียดนาม สิงคโปร์ และไทย โดยในไทย ใช้ชื่อบริการว่า GET และเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับคนในเมืองนั้นจริงๆ Gojek เชื่อว่า จะมีใครเข้าใจคนท้องถิ่นได้ดีกว่าคนท้องถิ่นด้วยกันเอง นั่นจึงเป็นที่มาของกลยุทธ์ Hyperlocal ที่ในแต่ละประเทศจะตั้งผู้บริหารธุรกิจโดยคนท้องถิ่นขึ้นมา
ภายใต้เทคโนโลยีระดับโลกจาก Gojek ตลอดระยะเวลาเกือบ 2 ปี GET ได้ช่วยเหลือร้านค้าและธุรกิจขนาดเล็กเพื่อให้เข้าถึงผู้ซื้อกลุ่มใหญ่ได้มากขึ้น และสามารถช่วยลดปัญหาเรื่องการเสียเวลารอรถของผู้ใช้ และรอคนของผู้ขับมอเตอร์ไซด์รับจ้าง ได้อย่างมีประสืทธิภาพ ถือเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความเข็มแข็งให้เศรษฐกิจไทยแข็งแรงตั้งแต่ชั้นรากหญ้า
และหลังจากที่ GET รีแบรนด์เป็น Gojek แล้ว น่าสนใจมากว่า การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ จะมีโปรดักส์ และบริการอะไรใหม่ๆ ที่จะช่วยให้ชีวิตของคนไทยง่ายขึ้น และสร้างผลกระทบเชิงบวกให้กับคนนับล้านออกมาอีกบ้าง