อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (AWS) บริษัท ในเครือ Amazon.com ประกาศ ดอกเตอร์ รักษา (Doctor Raksa) บริษัทสตาร์ทอัพด้านการแพทย์ทางไกลของไทย เปิดการรักษาเต็มรูปแบบบน AWS ให้บริการบนโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีคลาวด์ชั้นนำของโลก ด้วยการสร้างและขยายการดำเนินงานบน AWS ดอกเตอร์ รักษาสามารถให้คำปรึกษาด้านการดูแลสุขภาพที่ปลอดภัยแบบออน-ดีมานด์ให้กับประชาชนทั่วประเทศ นับตั้งแต่เปิดตัวในปี 2559 มีผู้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันบนมือถือมากกว่า 400,000 คนและผู้ป่วยกว่า 100,000 ราย ใช้ ดอกเตอร์ รักษาในการปรึกษาแพทย์และรับการตรวจวินิจฉัย

กระทรวงสาธารณสุขให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบการรักษาพยาบาลที่ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์และสุขภาพได้อย่างเท่าเทียมกัน จากตัวเลขปี 2559 ของกระทรวง1 อัตราส่วนแพทย์ต่อผู้ป่วยในกรุงเทพ ฯ คือแพทย์ 1 คนต่อผู้ป่วย 710 คน ส่วนจังหวัดในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีแพทย์ประมาณ 1 คนต่อผู้ป่วย 2,225 และ 3,338 รายตามลำดับ ทั้งนี้ ภาครัฐบาลระบุว่าการแพทย์ทางไกลคือหนึ่งในกลยุทธ์เพื่อให้บริการเพื่อการเข้าถึงบริการด้านการรักษาพยาบาลได้ดีขึ้น2

ดอกเตอร์ รักษา คือผู้ให้บริการการแพทย์ทางไกลชั้นนำในประเทศไทย โดยมีจำนวนแพทย์กว่า 700 คนที่ใช้แพลตฟอร์มในการเชื่อมต่อผู้ป่วยเข้ากับโรงพยาบาล ผู้ให้บริการประกันภัย ตลอดจนร้านขายยา เพื่อให้การดูแลรักษาในแบบออน-ดีมานด์ (on-demand) พร้อมใบสั่งยาบนออนไลน์ ทั้งนี้ ผู้ป่วยสามารถขอรับคำปรึกษาจากแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านต่าง ๆ ได้ถึง 30 สาขา ซึ่งรวมถึง อายุรแพทย์ แพทย์ผิวหนัง จิตแพทย์ สูติแพทย์และกุมารแพทย์ โดยแพทย์ให้คำปรึกษาผ่านทางแชท การโทรรับคำปรึกษา และผ่านการพูดคุยทางวิดีโอ

ด้วยการให้บริการอย่างเต็มรูปแบบบน AWS ดอกเตอร์ รักษาใช้สายผลิตภัณฑ์ด้านการบริการชั้นนำของ AWS ทั้งในส่วนการประมวลผล (compute) ฐานข้อมูล (database) การวิเคราะห์ (analytics) ระบบคอนเทนเนอร์ ตลอดจนพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูล ในการขับเคลื่อนนวัตกรรมและยกระดับประสบการณ์การใช้งานให้กับลูกค้า ตัวอย่างเช่น ในการเก็บรวบรวม ประมวลผล และวิเคราะห์คำร้องของผู้ป่วยเพื่อการปรึกษาหรือเพื่อการจ่ายยาในแบบเรียลไทม์ ตลอดจนเพื่อให้สามารถในการตอบสนองได้ในทันทีอย่างถูกต้อง ดอกเตอร์ รักษาใช้ Amazon Kinesis ซึ่งเป็นบริการที่ช่วยให้องค์กรต่าง ๆ สามารถรวบรวม ประมวลผล และวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์ พร้อมการสตรีมมิ่งข้อมูลได้อย่างง่ายดาย และ Amazon Elasticsearch ซึ่งเป็นบริการที่มีการจัดการเต็มรูปแบบที่ทำให้ทุกสิ่งเป็นเรื่องง่ายในการนำมาใช้  รักษาความปลอดภัย และดำเนินงานระบบ Elasticsearch นอกจากนี้ การใช้ Amazon Aurora ซึ่งเป็นฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (relational database) ซึ่งทำงานร่วมกับ MySQL และ PostgreSQL ที่สร้างขึ้นสำหรับระบบคลาวด์  ตลอดจน AWS Auto Scaling ซึ่งจะมอนิเตอร์แอปพลิเคชันต่าง ๆ รวมทั้งปรับความสามารถในการทำงานโดยอัตโนมัติเพื่อรักษาประสิทธิภาพการทำงานที่สม่ำเสมอมั่นคงและและคาดการณ์ได้ด้วยค่าใช้จ่ายที่ต่ำที่สุด ดอกเตอร์ รักษาสามารถจัดการฐานข้อมูลขนาดใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและอำนวยความสะดวกด้านการสื่อสารที่น่าเชื่อถือและปลอดภัย รวมทั้งการรายงานกับหน่วยงานที่มีการควบคุมดูแลสูง เช่น โรงพยาบาล และระบบเภสัชกรรม และเนื่องจากดอกเตอร์ รักษา คงความเป็นเจ้าของ และควบคุมดูแลข้อมูลของลูกค้าตลอดเวลา จึงสามารถกำหนดสถานที่ในการจัดเก็บข้อมูล บุคคลที่สามารถเข้าถึง ตลอดจนรูปแบบการดำเนินการตามกฎระเบียบ (regulations) ที่กำหนด

“การใช้ AWS ช่วยเพิ่มทั้งเวลาและทรัพยากร ทำให้เราสามารถมุ่งเน้นไปที่การสร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับคนไข้ ในขณะที่การเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลอาจต้องใช้เวลาอย่างน้อยสองชั่วโมงในการเดินทางและอีกหนึ่งชั่วโมงในการรอรับการรักษา AWS ช่วยให้เราสามารถเชื่อมผู้ป่วยเข้ากับแพทย์ได้ในเวลาไม่กี่นาที” จาเรน ซิว ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้งดอกเตอร์ รักษา กล่าว “เนื่องจากการแพทย์ทางไกลได้รับการยอมรับมากยิ่งขึ้นในประเทศไทย เราเชื่อว่า ดอกเตอร์ รักษาจะเข้ามามีบทบาทมากยิ่งขึ้น ไม่เพียงในส่วนที่ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดให้กับระบบการรักษาพยาบาลในช่วงของการแพร่ระบาดของโรคเท่านั้น หากแต่รวมถึงการยกระดับการดูแลผู้ป่วยในระยะยาวอีกด้วย”

วินเซนต์ คัวฮ์ หัวหน้าฝ่ายการศึกษา หน่วยงานด้านการวิจัย ธุรกิจสาธารณะสุข องค์กรที่ไม่แสวงผลกำไร ประจำภูมิภาคเอเซียแปซิฟิค และญี่ปุ่น Worldwide Public Sector ของ AWS กล่าวว่า “ดอกเตอร์ รักษา และ AWS ร่วมมือกันในการนำผลลัพธ์ทางสุขภาพที่ดีมาสู่คนไทย ด้วยการให้บริการที่อยู่บนระบบคลาวด์ชั้นนำของโลก ดอกเตอร์ รักษาสามารถมุ่งเน้นไปที่นวัตกรรมการแพทย์ทางไกล พร้อมกับการสร้างประสบการณ์การรักษาที่ทันท่วงทีและมีเอกลักษณ์เฉพาะซึ่งเหมาะกับความต้องการด้านการดูแลสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน”