ตอนนี้เราเห็นเทรนด์การนำมาใช้ดูแลผู้สูงอายุมากขึ้น ทาง Apple ได้เชิญสองผู้เชี่ยวชาญ ที่มีประสบการณ์ตรง มาพูดคุยมุมมองการใช้ Apple Watch ในการดูแลผู้สูงอายุ

เทคโนโลยีเป็นส่วนสำคัญในการดูแลสุขภาพ จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ Apple Watch จะขึ้นแท่นสมาร์ทวอทช์ที่ใช้งานได้ทุกเพศทุกวัย ด้วยฟีเจอร์ด้านสุขภาพที่ครอบคลุมทั้งการติดตามสุขภาพ ออกกำลังกาย การนอน โหลดแอปที่ต้องการใช้งานมาลงเพิ่มได้ รวมถึงวัดข้อมูลเชิงลึกอย่างการเต้นของหัวใจ ออกซิเจนในเลือด ตรวจจับการล้ม 

มุมมองคุณหมอต่อเทคโนโลยีในการดูแลผู้สูงอายุ

นพ. สุวาณิช เตรียมชาญชูชัย อายุรแพทย์โรคหัวใจ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดีเป็นแพทย์อีกหนึ่งคนที่ส่งเสริมให้ผู้ป่วยเอาเทคโนโลยีมาช่วยดูแลสุขภาพ โดยเฉพาะการใส่ Apple Watch มาช่วยเก็บข้อมูลตลอดเวลา ทำให้แพทย์เข้าใจอาการเจ็บป่วยได้ดีขึ้น

ในช่วงแรกผู้สูงอายุหลายคนอาจจะยังไม่ชิน มักจะใส่ๆถอดๆเป็นประจำทำให้การเก็บข้อมุลไม่ต่อเนื่อง แต่พอคุ้นชินและรู้ถึงประโยชน์แล้วก็จะเริ่มใส่ติดตัวเป็นประจำโดยไม่ต้องบอก

คุณหมอบอกว่าจากที่เคยคุยกับผู้ป่วย ฟีเจอร์ที่ผู้สูงอายุใช้แล้วชอบ 3 อันดับแรกคือ 

1.วัดการทำกิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นการเดิน การออกกำลังกาย การนอนหลับ

2.วัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจว่ามีว่ามีอาการเต้นผิดจังหวะหรือไม่ โดยเฉพาะอาการหัวใจห้องบนสั่นพริ้ว  เพราะผู้สูงวัยมักจะกลัวการเป็นอัมพฤก อัมพาต ซึ่งหลายครั้งอาการหัวใจเต้นผิดปกตินั้นจะเกิดเวลาที่คนไข้อยู่ที่บ้าน เมื่อมีอาการผิดปกติเมื่อไหร่สามารถวัดได้ด้วยตัวเอง การมีเครื่องมือที่ช่วยให้คนสูงอายุประเมินอาการด้วยตัวเองเบื้องต้น จะทำให้คลายความกังวลได้หากไม่พบความผิดปกติ

ในกรณีที่พบว่าหัวใจเต้นผิดปกติจริง ก็นำข้อมูลที่เก็บในมือถือ ไปปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจอย่างละเอียดได้ตรงจุด เพื่อยืนยันอาการให้มั่นใจอีกครั้ง 

3.การวัดออกซิเจนในเลือดในสถานการณ์โควิดและ PM 2.5

Apple Watch 4

สิ่งที่คุณหมออยากให้เพิ่มใน Apple Watch

คุณหมอบอกว่าเทคโนโลยีใน Apple Watch เป็นตัวช่วยได้มาก เพราะคนไข้ เชื่อมโยงเก็บข้อมูลเอาไว้ในมือถืออยู่แล้ว พอเจอคุณหมอก็ยื่นมือถือให้ดู ซึ่งคุณหมอก็จะเข้าใจอาการได้ดีขึ้น รู้ว่าต้องตรวจตรงไหนได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งคุณหมอสุวานิชเองก็พบเคสคนไข้เข้ามาปรึกษา แล้วนำไปสู่การตรวจพบเส้นเลือดในสมองตีบได้เร็ว รักษาได้ก่อน หากปล่อยทิ้งไว้นานอาจจะนำไปสู่อัมพฤกษ์ อัมพาตได้

แน่นอนว่าเทคโนโลยีเองก็มีข้อจำกัด บางครั้งเกิดจากตัวคนไข้เอง ซึ่งคุณหมอเคยเจอเคสที่ ผู้สูงอายุมือสั่นตอนที่วัดค่าคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ทำให้วัดข้อมูลได้ไม่ตรง ไม่สามารถบอกผลซึ่งอาจจะสร้างความกังวลใจให้กับผู้ป่วยได้ 

สิ่งที่คุณหมออยากให้ Apple Watch เพิ่มความสามารถก็มี 2 เรื่องคือ อยากให้วัดคลื่นหัวใจกับวัดความดันได้พร้อมกัน ถ้าทำได้จะช่วยคุณหมอได้เยอะเลยค่ะ เรื่องต่อมาคือ ฟีเจอร์ตรวจจับการล้ม อยากให้เวลาที่ล้มแล้วบันทึกคลื่นหัวใจให้ทันที เพื่อให้เพิ่มข้อมูลในการรักษาได้มากขึ้น

นอกจากนั้นคุณหมอยังเน้นย้ำว่า Apple Watch ไม่ใช่เครื่องมือที่บอกว่า ใครป่วยเป็นอะไร แต่เป็นเครื่องมือ Screening อาการป่วยเบื้องต้น ช่วยให้คุณหมอวินิจฉัยโรคได้เร็วขึ้น อย่างการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจนั้น Apple Watch ตรวจแค่ 1 lead ต่างจากเครื่องตรวจ ECG ตามโรงพยาบาลที่ใช้การวัดแบบ 12 lead ที่วัดได้ละเอียดกว่า

อย่างในเคสของ A-Fib มีผู้สูงอายุที่มีการแจ้งเตือนจาก Apple Watch เข้ามาปรึกษาคุณหมอ หลังตรวจอย่างละเอียดอีกครั้ง มีการตรวจพบอาการจริง 3-4 เคส ส่วนอีก 30-40 เคสนั้น ตรวจแล้วไม่พบอาการ A-Fib

แนวทางในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ

คุณเมจิ อโณมา คุก ที่ผันตัวมาเอาดีเรื่องการออกกำลังกายและดุแลสุขภาพ ได้ออกมาพูดถึง แนวทางในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุด้านการออกกำลังและการทานอาหาร

เริ่มจากการออกกำลังกาย ผู้สูงอายุไม่สามารถออกกำลังกายหนักๆได้เหมือนคนหุ่นสาว เนื่องจากมีข้อจำกัดเรื่องของข้อต่อ เส้นเอ็น และมวลกระดูกที่หนาแน่นน้อยลง หากเกิดอุบัติเหตุก็จะฟื้นตัวช้า 

คุณเมจิแนะนำว่า ผู้สูงอายุควรออกกำลังกายเน้นไปที่การเคลื่อนไหว เช่น เน้นการเดินมากขึ้น หากผู้สูงอายุไม่เคยออกกำลังกายมาก่อน ควรเริ่มจากการเดินให้ครบ 15 นาทีก่อน หลังจากนั้นค่อยๆขยับขึ้นไปทีละนิดจนครบ 30 – 45 นาที 

Apple Watch นอกจากจะช่วยเก็บข้อมูลแล้ว ยังสามารถเพิ่มแรงจูงใจให้ผู้สูงอายุออกกำลังกายมากขึ้น เช่น Activity Ring ที่ผู้ใส่จะต้องปิดให้ครบในแต่ละวัน ซึ่งคุณเมจิแนะนำว่า การตั้งเป้าของผู้สูงอายุนั้นควรจะเริ่มจากน้อยๆก่อนแล้วค่อยขยับให้สูงขึ้นเพิ่มความท้าทาย เนื่องจากคุณเมจิไม่ได้อยู่กับคุณแม่ แต่ก็สามารถติดตามสถานะต่างๆได้ผ่าน Family Sharing สำหรับแชร์ข้อมูลระหว่างสมาชิกในครอบครัว ทำให้รู้ถึงความก้าวหน้าในการออกกำลังกายได้จากมือถือของตัวเองแม้จะอยู่คนละที่

นอกจากนั้นคุณเมจิยังให้คุณแม่ออกกำลังกายด้วยการเข้าคลาสเต้นลีลาศ เพื่อให้เข้าสังคมกับคนวัยเดียวกัน ซึ่งเพลงที่ใช้ประกอบการเต้นยังมีส่วนสำคัญช่วยให้ผู้สูงอายุรู้สึกสนุก เคลื่อนไหวไปตามจังหวะเพลงที่คุ้นเคยสมัยวัยรุ่น ทำให้รู้สึกเหมือนกลับไปเป็นเด็กอีกครั้ง การเต้นลีลาศยังเป็นการฝึกสมอง ลดความเสี่ยงเป็นอัลไซเมอร์ เพราะตัองฝึกสมองจำท่าทาง จับจังหวะเพลงและเคลื่อนไหวให้สอดคล้องกัน 

ส่วนการกำลังกายด้วยการยกน้ำหนัก ไม่ควรใช้ดัมเบล แนะนำให้ผู้สูงอายุออกกำลังโดยยกขวดครีมที่มีน้ำหนักและขนาดพอดีมือ เน้นยกขึ้นลง ยืดออก หมุนเป็นวงกลม สร้างโมเมนตัม เพื่อให้ข้อต่อ ข้อมือ ข้อศอกและเส้นเอ็นต่างๆได้เคลื่อนไหว ไม่ต้องเน้นเฉพาะจุด หรือเน้นกล้ามเนื้อ เน้นการเคลื่อนไหวโดยรวมทั้งกล้ามเนื้อมัดเล็ก มัดใหญ่

การทานอาหารผู้สูงวัยควรลดการทานน้ำตาล/กลูโคสที่ทำให้เซลล์เสื่อมสภาพ ส่งผลให้ร่างกายเหนื่อเร็วขึ้น ซึ่งจะเป็นต้นเหตุให้เกิดอาการอื่นๆ ตามมาเช่น เบาหวาน ความดัน คอเลสเตอรอล รวมถึงทำให้เกิดความเครียดมากขึ้น หากอยากทานน้ำตามแนะนำให้ทานผลไม้อย่าง แอปเปิ้ล กล้วย มะละกอสุก แก้วมังกร เพราะจะได้นำตาลจากธรรมชาติ แถมยังมีไฟเบอร์ที่ดีต่อระบบขับถ่าย

ต่อมาคือการงดทานเนื้อแดง อย่างเนื้อหมู เนื่อวัว หันไปทานเนื้อไก่ เนื้อปลาและโปรตีนจากพืชแทน เนื่องจากเอ็มไซม์ในกระเาพะอาหารจะย่อยเนื้อแดงได้น้อยลง ไม่สามารถดูดซึมกรดอะมิโนที่มีส่วนช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอได้ ทำให้เกิดการอุดตันในลำไส้ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดริดสีดวงหรือมะเร็งลำไส้ได้

นอกจากนั้นผู้สูงอายุควรทานอาหารเสริมเพื่อช่วยเสริมสร้างรายกายให้แข็งแรง เน้นไปที่แคลเซียล/แมกนีเซียมเสริมความแข็งแรงของกระดูก วิตามิน B3 และโปรไบโอติก 

แม้จะทานอาหารที่มีประโยชน์และออกกำลังกายสม่ำเสมอแล้ว สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้เลยคือการ จัดการความความเครียด ซึ่งใน Apple Watch ก็มีหลายแอปช่วยจัดการความเครียด เช่น การฝึกสมาธิ แอปที่ใช้คลื่นเสียงมาช่วยให้เกิดความผ่อนคลาย รวมถึงเพิ่มสมาธิได้ด้วย