หัวเว่ย และองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature หรือ IUCN) ร่วมกันจัดงาน “เทคโนโลยีกับความยั่งยืน ร่วมสร้างโลกสำหรับทุกคน” (Tech & Sustainability: Everyone’s Included) เพื่อหารือเกี่ยวกับบทบาทของเทคโนโลยีที่มีผลต่อการขับเคลื่อนความยั่งยืน สร้างโลกที่มีความเท่าเทียม และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

งานนี้มีตัวแทนจากหัวเว่ย IUCN สภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) องค์กรตรวจวัดรายงานและเปิดเผยข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม CDP (Carbon Disclosure Project) โครงการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมโลก GeSI (Global Enabling Sustainability Initiative) และสถาบันกิจการระหว่างประเทศของสิงคโปร์ (Singapore Institute of International Affairs) เข้าร่วมหารือ

ตอบโจทย์ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาสีเขียว

“การพัฒนาสีเขียวและการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้กลายมาเป็นความสำคัญระดับต้น ๆ ของระบบเศรษฐกิจ หัวเว่ยได้ใช้ประโยชน์จากประสบการณ์เกี่ยวกับอิเล็กทรอนิกส์ด้านพลังงานและระบบกักเก็บพลังงาน ตลอดจนความเชี่ยวชาญด้าน 5G, Cloud, และ AI ในการพัฒนาธุรกิจและให้บริการด้านพลังงานดิจิทัลสำหรับภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 ผลิตภัณฑ์และบริการด้านพลังงานดิจิทัลของหัวเว่ย ได้สร้างพลังงานไฟฟ้ากว่า 325 พันล้านกิโลวัตต์ต่อชั่วโมงจากแหล่งพลังงานทดแทน และสามารถประหยัดพลังงานไฟฟ้ารวมได้ถึง 10 พันล้านกิโลวัตต์ต่อชั่วโมง ความพยายามดังกล่าวจึงช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 160 ล้านตัน”  คุณเหลียงหัว ประธานกรรมการบริหารของหัวเว่ยกล่าวเสริม

เทคโนโลยี ICT คือแรงขับเคลื่อนสำคัญในการอนุรักษ์พลังงานและลดการปล่อยมลพิษของภาคอุตสาหกรรมอื่น ๆ โดยคาดการณ์ว่าหากใช้เทคโนโนโลยี ICT สนับสนุนร่วมด้วย ปริมาณการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ของอุตสาหกรรมต่าง ๆ จะลดน้อยลงเป็นอย่างมากหรือคิดเป็นสิบเท่าหากเทียบกับการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ของอุตสาหกรรม ICT เพียงอุตสาหกรรมเดียว

คุณเทา จิงเหวิน คณะกรรมการและประธานกรรมการการพัฒนาอย่างยั่งยืน (CSD) ขององค์กรของหัวเว่ย ได้กล่าวว่า “หัวเว่ยมีความมุ่งมั่นในการส่งเสริมให้เกิดโซลูชัน ICT สีเขียวแบบบูรณาการ เพื่อช่วยเหลือภาคอุตสาหกรรมอื่น ๆ ในการอนุรักษ์พลังงานและลดปริมาณการปล่อยมลพิษ ปัจจุบัน เรายังคงดำเนินบทบาทในเชิงรุกเพื่อสนับสนุนให้เกิดสังคมที่มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และปราศจากมลพิษ”

นอกจากนี้ เทคโนโลยี Big Data ยังจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการตรวจสอบการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์อีกด้วย โดยคุณพอล ดิคคินซัน ประธานฝ่ายกิจการด้านสิ่งแวดล้อมของ CDP ชี้ว่า เทคโนโลยีดิจิทัลจะช่วยให้สามารถติดตามคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (การกระทำที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก) และสร้างแนวทางให้กับภาคอุตสาหกรรมเพื่อบรรลุเป้าหมายด้านการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ลงได้

ภายในงาน หัวเว่ยได้เผยรายงานความยั่งยืนประจำปี พ.ศ. 2563 และเปิดตัวโครงการ Seeds for the Future Program 2.0 ซึ่งหัวเว่ยวางแผนในการลงทุนเพื่อพัฒนาทักษะให้กับนักพัฒนาทางด้านไอที จำนวน 4,500 ล้านบาท ภายในระยะเวลา 5 ปีต่อจากนี้ โดยคาดว่าโครงการนี้จะสร้างประโยชน์ให้กับผู้คนมากกว่า ล้านชีวิต นอกจากนี้ หัวเว่ยยังได้เปิดตัวซีรีส์สารคดีที่ชื่อ Innovation: Blood, Sweat and Dreams ซึ่งเป็นการยกย่องผู้สร้างนวัตกรรมเทคโนโลยี และนักอนุรักษ์คนสำคัญ

รายงานจากกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) และสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ในปี พ.ศ. 2563 แสดงให้เห็นว่ายังมีผู้คนที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี จำนวนกว่า 2,200 ล้านคนทั่วโลก ที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตจากที่บ้านไม่ได้ ส่งผลให้ความไม่เท่าเทียมทางเทคโนโลยีขยายวงกว้างและรุนแรงมากขึ้นในกลุ่มผู้เปราะบางทั่วโลก คุณไอรีนา โบโกวา สมาชิกคณะกรรมการของศูนย์เพื่อประชาคมโลก พัน กี-มุน (Ban Ki Moon Center for Global Citizenship) และอดีตอธิบดีขององค์การยูเนสโก ได้กล่าวภายในงานว่า “ความไม่เท่าเทียมทางเทคโนโลยีนั้นส่งผลต่อผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ผู้หญิงมีโอกาสเข้าถึงอินเทอร์เน็ตน้อยกว่าผู้ชาย และช่องว่างนี้จะขยายกว้างขึ้นอีกเรื่อย ๆ โดยปัจจุบัน ผู้หญิงมีโอกาสในการเข้าถึงความรู้ทางเทคโนโลยีน้อยกว่าผู้ชายถึง 4 เท่า และผู้หญิงที่เป็นนักพัฒนาซอฟต์แวร์ก็มีสัดส่วนเพียง 6% เท่านั้น ซึ่งการแก้ปัญหาช่องว่างทางเศรษฐกิจระหว่างผู้ชายและผู้หญิงนี้จะต้องใช้เวลานานถึง 170 ปี”