กฟน. เผยความคืบหน้าแผนนำสายไฟลงดินในกรุงเทพและปริมลฑล เสร็จแล้ว 17 เส้นทาง รวมระยะทาง 100 กิโลเมตร ปีหน้าทำเพิ่ม 450 กิโลเมตร ตั้งเป้าภายใน 3 ปีลดสายสื่อสารบนดินให้เหลือน้อยที่สุด
ในส่วนของการนำสายสื่อสารลงดินในเขตกทม.นั้น ได้มีการร่วมมือระหว่างหลายหน่วยงานทั้ง กทม. , กสทช., การไฟฟ้านครหลวง ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสร้างท่อร้อยสาย นำสายสื่อสารลงใต้ดิน ที่เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ 2561–2564 ในระยะทาง 143.72 กิโลเมตร ซึ่งตอนนี้ย้ายเสร็จไปแล้ว 19 เส้นทาง ระยะทางประมาณ 119 กิโลเมตร
ส่วนของแผนดำเนินการในอนาคตจะได้ประสานกับกสทช.ในการกำหนดแผนเพื่อดำเนินการต่อไป นอกจากนี้ สำนักการจราจรและขนส่งและสำนักงานเขตพื้นที่ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำแผนและดำเนินการจัดระเบียบสายสื่อสารที่ผาดอยู่บนเสาไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง โดยมีการนำสายสื่อสารที่ไม่มีการใช้งานออก และในส่วนของสายสื่อสารที่ยังมีการใช้งานจะดำเนินการมัดรวมให้เรียบร้อย พร้อมทั้งระบุเจ้าของสายสื่อสารแต่ละเส้นให้ชัดเจนในช่วงระหว่างดำเนินการตามแผนนำสายสื่อสารลงใต้ดิน เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
ทางฝั่งของกฟน. เองได้รายงานแผนการดำเนินงานย้ายสารสื่อสารในเขตพื้นที่ กรุงเทพฯ นนทบุรี และ สมุทรปราการ โดยมีระยะทางรวม 350 กิโลเมตร (กม.) ภายในปี 2564 เบื้องต้นพบว่า สารสื่อสารที่ไม่ได้ใช้งานจำนวนมากยังไม่มีการรื้อออก รวมถึงคอนไม้บางส่วนผุพังทำให้ไม่มีตัวยึด ทางกฟน.เตรียมคัดแยกว่าใครเป็นเจ้าของสายบ้างด้วยการติดสติกเกอร์ คัดเลือกสายที่ไม่ใช้งาน ยึดสายที่ใช้งานไว้บนคอนสายฯ ของ กฟน.ให้เป็นระเบียบก่อน รวมถึงยุบรวมสายให้เหลือน้อยที่สุด ก่อนที่จะย้ายลงดิน โดยข้อมูลทั้งหมดจะบันทึกลงในแอป CCM เพื่อให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องสามารถตรวจสอบได้ รวมถึงใช้เป็นช่องทางขออนุญาตพาดสายสื่อสารผ่านออนไลน์
ส่วนแผนในปี 2565-2567 จัดระเบียบ 1,500 กม. โดยแบ่งเป็นปี 2564 ระยะทาง 100 กม. ปี 2565 ระยะทาง 450 กม. ปี 2566 ระยะทาง 450 กม. และปี 2567 ระยะ 500 กม.
สาเหตุหลักที่ทำให้ทางกฟน.ไม่สามารถทำได้ตามแผนนั้นก็มีหลายปัจจัย เริ่มตั้งแต่การที่กสทช. แจ้งให้มีชะลอการจัดระเบียบสายสื่อสาร เนื่องจากทางสมาคมโทรคมนาคมฯได้ส่งคำร้องให้ลดปริมาณการจัดระเบียบสายสื่อสารจาก 750 กิโลเมตร/ปี ให้เหลือแค่ปีละ 350 กิโลเมตร/ปี ด้วยการแบ่งการทำงานให้เป็นเฟส
สองคือ สถานการณ์โควิดทำให้ ภาครัฐมีการจำกัดการทำกิจกรรมเสี่ยงต่อการแพร่ระบาด ทำให้ปฏิบัติงานได้ล่าช้า
เรียบเรียงจาก https://mgronline.com/politics/detail/9640000120496