ช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ประชาชนในประเทศไทย ได้รับผลกระทบในการสูญเสียทรัพย์สินจากการถูกหลอกลวงจากแก็งคอลเซ็นเตอร์เป็นจำนวนมาก ทำให้หลายๆ คนถึงกับไม่มั่นใจในการรับโทรศัพท์ในแต่ละครั้งจากเบอร์ที่ไม่คุ้นเคย รวมถึงถึงการทำธุรกรรมผ่านทางสมาร์ทโฟน

แต่นอกจากการระบาดของแก็งคอลเซ็นเตอร์แล้ว การโดนหลอกลวงจากอีเมลก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่สร้างความเสียหายได้มากเช่นกัน เพราะในปัจจุบัน ผู้คนส่วนมากใช้อีเมลในการรับ-ส่งเอกสาร โต้ตอบข้อตกลงทางธุรกิจ รวมถึงการสมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับข่าวสารต่างๆ โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลช้อปปิ้งแต่ละเดือนตั้งแต่ 1.1 ถึง 12.12 โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลแห่งการเฉลิมฉลองในช่วงคริสต์มาสและปีใหม่ที่กำลังจะถึงนี้ที่จะมีส่วนลดพิเศษและโปรโมชั่นมากมายจากแบรนด์และแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซมากมายที่ส่งมาทางอีเมลของผู้ใช้หลายๆ คน

โดยสิ่งที่ทุกคนพยายามหลีกเลี่ยงก็คือไม่ต้องการเสียเวลาต่อกรกับพวกแก๊งลวงโลก ไม่ว่าจะเป็นคนส่งสแปมอีเมลและโจรที่จ้องขโมยข้อมูลในบัญชีออนไลน์ ถึงแม้ว่าจะมีประกาศเตือนให้มีการระมัดระวังมากเพียงใดแต่นักต้มตุ๋นพวกนี้ก็ยังไม่ลดหายไป

ดังนั้น เพื่อสร้างความปลอดภัยและเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษในช่วงเทศกาลแห่งการเฉลิมฉลองนี้ Google ขอแนะนำวิธีเพื่อป้องกันกลโกงว่าอันตรายประเภทใดบ้างที่ควรระวังในจากทางอีเมลเป็นพิเศษ

1. บัตรของขวัญและของแจกฟรี

เมื่อถึงฤดูกาลจับจ่าย ก็ถึงฤดูกลโกงในรูปแบบบัตรของขวัญและของแจกฟรีเช่นกัน โจรอาจหลอกให้เราซื้อบัตรของขวัญให้ บางครั้งใช้รูปคนที่เรารู้จักมาหลอก หรือเอารางวัลฟรีมาล่อเพื่อแลกกับข้อมูลบัตรเครดิตของคุณ หากได้รับอีเมลจากเพื่อนขอให้ซื้อบัตรของขวัญให้ ก็ควรส่งข้อความเพื่อถามย้ำว่าข้อความนี้จริงหรือไม่ และหากสินค้าดังกล่าวนั้นดูมีราคาแพงเกินไป ก็อาจเป็นการหลอกลวงได้ ซึ่งรวมไปถึงอีเมลที่มอบโปรโมชั่นและส่วนลดที่สูงเกินจริงจากเว็บไซต์ที่ลอกเลียนแบบแบรนด์และแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซยอดนิยม

2. การต่ออายุสมาชิก

ปัจจุบัน ผู้บริโภคเลือกสมัครสมาชิกกับร้านค้าและแบรนด์เพื่อรับสิทธิประโยชน์พิเศษ และเมื่อช่วงสิ้นปีมาถึงมักจะพบการหลอกให้ต่ออายุสมาชิกบ่อยขึ้น ผู้ใช้งานมักพบอีเมลแปลกๆ ที่หลอกว่ามีบริการป้องกันไวรัส ซึ่งจะล่อเหยื่อโดยอ้างว่าจะปรับปรุงระบบความปลอดภัยให้ดีขึ้น แม้ว่าโจรบางแก๊งจะใช้ข้อความที่ดูน่าเชื่อถือมาก แต่ผู้ใช้งานต้องอย่าลืมตรวจสอบอีเมลของผู้ส่งเสมอ เพื่อการหลอกลวงในขั้นแรก

แม้ว่ารูปแบบของกลโกงอาจมีมากมาย แต่ Google มี Gmail ที่สามารถช่วยผู้ใช้บล็อกข้อความที่ไม่พึงประสงค์และหลอกลวงได้มากมายเลยทีเดียว การป้องกันแบบดิจิทัลใน Gmail ครอบคลุมไปถึงการจัดการฟิชชิง สแปม และมัลแวร์ขั้นสูง ซึ่งแม้ว่าปัญหานี้จะถือเป็นเรื่องท้าทายที่มีอะไรใหม่ๆ ให้แก้กันไม่จบสิ้น แต่เครื่องมือและผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยของ Google ก็ค้นหาข้อมูลกันอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ทราบถึงการโจมตีรูปแบบใหม่ๆ และคิดค้นวิธีป้องกันที่ซับซ้อนเพื่อช่วยให้ผู้ใช้ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น  โดยสามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้จากทางเว็บไซต์ รวมทั้งหลักปฏิบัติที่รัดกุม เพื่อไม่ให้ช่วงวันแห่งการเฉลิมฉลองของคุณต้องเสียเวลาไปกับพวกโจรเหล่านี้ 

และนี่คือสิ่งที่ Google พัฒนาการทำงานของ Gmail เพื่อปกป้องผู้ใช้งานจากกลลวงเหล่านี้

  • ช่วยให้ผู้ใช้งานไม่ต้องพบกับข้อความที่ไม่พึงประสงค์วันละถึงเกือบ 15,000 ล้านข้อความ
  • บล็อกสแปม ฟิชชิง และมัลแวร์ได้มากกว่า 99.9%
  • ใช้แมชชีนเลิร์นนิงและปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการวิเคราะห์รูปแบบที่แฝงอยู่ในข้อความนับพันล้านข้อความเพื่อระบุถึงลักษณะของอีเมลที่ผู้ใช้ทำเครื่องหมายว่าเป็นสแปม แล้วจึงใช้ตัวทำเครื่องหมายเหล่านั้นในการบล็อกอีเมลที่น่าสงสัยหรือเป็นอันตรายก่อนที่จะมาถึงผู้ใช้งาน ความสามารถในการคัดกรองสแปมที่ปรับปรุงประสิทธิภาพด้วย AI ของ Google สามารถบล็อกจดหมายขยะได้เกือบ 10 ล้านฉบับในทุก 1 นาที

นอกจากการป้องกันตั้งแต่เริ่มแรกแล้ว ผู้ใช้งานควรตั้งค่าบัญชีให้รัดกุมด้วยการปฏิบัติตามขั้นตอนการตรวจสอบความปลอดภัย (Security Checkup) และการตรวจสอบความเป็นส่วนตัว (Privacy Checkup) ซึ่งเป็นการตั้งค่าง่ายๆ ที่ช่วยปกป้องบัญชีเป็นอย่างดี ซึ่งจากข้อมูลพบว่า หลังจาก Gmail เปิดใช้งานการยืนยัน 2 ขั้นตอนให้กับผู้ใช้กว่า 150 ล้านคนทั่วโลกโดยอัตโนมัติ ผลการวิจัยของ Google เปิดเผยให้เห็นว่าจำนวนการลักลอบใช้บัญชีลดลงถึง 50% และในปี 2564 มีผู้คนทำการตรวจสอบความปลอดภัยมากกว่า 1.5 พันล้านครั้ง

ไม่เพียงแต่กลโกงที่พบได้บน Gmail เท่านั้น Google ยังทำให้ผู้คนปลอดภัยในการช้อปปิ้งออนไลน์ในทุกๆ วันบน Google Search อีกด้วย

  • ผลการค้นหาที่เป็นสแปม 2.5 หมื่นล้านรายการถูกบล็อกโดย Google Search 
  • URL หลอกลวงที่อาจมีไวรัส เนื้อหาที่ไม่ต้องการ หรือความพยายามฟิชชิง 3 ล้านรายการถูกตรวจพบและยับยั้ง

นอกเหนือจากการตั้งค่าเริ่มต้นแล้ว ผู้ใช้ทุกคนควรจดจำกฏเหล็ก 3 ข้อเพื่อจับผิดกลโกงและรักษาความปลอดภัยด้วยตัวเอง

  • พิจารณาอย่างรอบคอบ – กลโกงมักออกแบบมาเพื่อสร้างความรู้สึกเร่งด่วน โปรดใช้เวลาตั้งข้อสงสัยและคิดทบทวน
  • ตรวจสอบอย่างถี่ถ้วน – หาข้อมูลเพื่อตรวจสอบรายละเอียดที่ได้รับซ้ำอีกครั้ง ถามตัวเองว่าข้อมูลดังกล่าวสมเหตุสมผลไหม
  • หยุด! อย่าส่ง/จ่าย – บุคคลหรือเอเจนซีที่เชื่อถือได้จะไม่ขอให้ชำระเงินหรือส่งข้อมูลส่วนบุคคลทันที