ใกล้เริ่มขึ้นแล้วกับงานใหญ่อย่าง CES 2023 ที่ปีนี้แสดงความชัดเจนว่า AI ใกล้ตัวเรากว่าที่คิด ด้วยการมีตัวตนในทุกๆอย่างตั้งแต่รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า จนไปถึงหุ่นยนต์ ที่นำมาโชว์ความล้ำในงานที่จะเริ่มขึ้นในวันที่ 5 มกราคมนี้

หลังจากสถานการณ์โควิดที่บังคับให้งานในปี 2021 ต้องจัดผ่าน Virtual ส่วนปี 2022 ก็เป็นแบบไฮบริด แต่ปีนี้กลับมาจัดเต็มรูปแบบอีกครั้ง คาดว่าน่าจะมีคนร่วมงานหลายแสนคน ต่างจากปีที่ผ่านมาที่คนค่อนข้างบางตาซึ่งงาน CES ปีนี้จะเริ่มงานวันแรก 5 มกราคม บนพื้นที่จัดงานปีนี้มากถึง 72,800 ตารางเมตร แต่บางบริษัทจะทำเทคโนโลยีล้ำๆมาพรีวิวให้เห็นตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม

หนึ่งในไฮไลต์เด่นคือ เทคโนโลยียานยนต์ที่เผยให้เห็นยานพาหนะยุคถัดไปตั้งแต่ รถยนต์ รถบรรทุก เรือ อุปกรณ์ทำการเกษตร รวมถึงยานพาหนะบินได้ที่เรียกความสนใจเป็นอย่างดี

ส่วนรถยนต์เองจะมาพร้อมระบบปฏฺบัติการเหมือนคอมพิวเตอร์และสมาร์ตโฟน โดยทาง Accenture คาดการณ์ว่าภายในปี 2040 รถยนต์กว่า 40% จะมีซอฟท์แวร์ในตัวที่สามารถอัปเดตผ่านระยะไกล ตัวรถจะมาพร้อมการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต รองรับการใช้งานแอปและความบันเทิงออนไลน์ ซึ่งจะเปิดโอกาสให้นักพัฒนาแข่งกันแย่งผู้ใช้ผ่านบริการสตรีมมิ่งหรือช้อปปิ้งในรถ

รถยนต์ไฟฟ้าจะเพิ่มความสามารถของ AI ซึ่งผนวกเข้าไปในจอของรถ รวมถึงรถยนต์บินได้ที่จะได้รับการพูดถึง

Metaverse

Metaverse นั้นถูกมองว่าเป็นการใช้งานอินเทอร์เน็ตยุคถัดไป ซึ่งเป็นธีมของปีที่แล้ว โดยเฉพาะเรื่องของแว่นตา VR ที่พาคนเข้าไปในโลกเสมือนจริงน่าจะโดดเด่นขึ้นในปีนี้ อย่าง Meta ก็น่าจะนำแว่นตา Oculus Quest มาโชว์ตัว

แก็ดเจ็ดและบริการใหม่ๆนั้นจะมุ่งเน้นไปที่ “Web 3” มากขึ้น นั่นหมายความว่าอุปกรณ์ใหม่ๆจะผสานเทคโนโลยี mixed reality รวมถึงบล็อกเชนและ NFT มากขึ้น

Web 3 นั้นจะเป็นอินเทอร์เน็ตแบบกระจายศูนย์ทำให้บริษัทเทคยักษ์ใหญ่หรือรัฐบาลไม่สามารถควบคุมการใช้ชีวิตบนออนไลน์ได้ ส่วนคริปโทนั้นปีนี้อาจจะเป็นปีที่ยากลำบากเพราะเหตุการณ์ FTX

เทรนด์เทคโนโลยีน่าจับตา

ก้าวสู่ Metaverse

แม้เทคโนโลยีที่ Meta ลงทุนไปยังคงสร้างความสงสัย แต่ metaverse มันคืออนาคตที่ยังไม่โตเต็มที่ จากการสำรวจของ  Accenture จากผู้ใช้ 9,000 คนพบว่า  55% อยากใช้งาน  metaverse เป็นประจำ ส่วนบริษัทซอฟทแวร์และแพลตฟอร์ดระดับโลกกว่า 90% จะกระโดดเข้ามาในธุรกิจนี้ภายในปีหน้า

ในขณะที่ผู้ผลิตแว่นตา VR เปิดตัวรุ่นใหม่มากขึ้น อย่าง HTC ออกไลน์ผลิตภัณฑ์  Vive มาแข่งกับ Meta Quest 2. ส่วน Sharp และ Canon ก็เตรียมเปิดตัวรุ่นต้นแบบที่พร้อมพาคนสู่โลกเสมือนจริง ฝั่งของ Apple ก็มีการคาดการณ์ว่าจะเปิดตัวแว่นตาของตัวเอง นั่นหมายความว่าเรากำลังจะก้าวเข้าสู่ยุคโลกเสมือนจริงในไม่ช้า

เทคโนโลยีเริ่มเปิดกว้าง

ด้วยมาตรฐาน Matter ทำให้อุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเป็นมาตรฐานเดียวกัน หลอดไฟ กริ่งประตู ปรอทวัดอุณหภูมิ ทำงานร่วมกันได้อย่างไร้รอยต่อ โดยควบคุมการทำงานผ่านผู้ช่วยเสียงและแพลตฟอร์มที่ต้องการได้ ผลิตภัณฑ์ที่รองรับ Matter มีมากขึ้นนับตั้งแต่เปิดตัวมาตั้งแต่ตุลาคมปีที่แล้ว 

งาน CES เป็นงานแรกที่โชว์ทัพของอุปกรณ์ Smart Home ที่เปิดกว้างให้เราควบคุมผ่าน Google Home, แอป Home บน iPhone, SmartThings บนสมาร์ตโฟนซัมซุงได้ตามต้องการ ด้วยกฎใหม่ของ EU บังคับให้ iPhone และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เปลี่ยนมาใช้พอร์ต USB-C นั่นหมายความว่าต่อไปเราจะพกสายเส้นเดียวชาร์จได้ทุกอุปกรณ์

บริการสตรีมมิ่งเริ่มสั่นคลอน shake-ups

หลังจากปีที่ผ่านมามีบริการสตรีมมิ่งเกิดขึ้นมากมายทั้ง CNN+, HBO Max/Discovery+ mash-up ด้วยการแข่งขันที่สูงทำให้ผู้ให้บริการต้องมาคิดโมเดลธุรกิจใหม่ เริ่มตั้งแต่ ตัวเลือกค่าบริการที่ถูกลงแต่มีโฆษณา บริษัทสื่อพยายามแย่งชิงสิทธิ์คอนเทนท์ 

คนส่วนใหญ่ต้องการบริการแบบ one-stop shop เพื่อความบันเทิงเหมือนการสัครเคเบิ้ลทีวีที่ดูได้หลากหลาย ปีนี้น่าจะน่าจะมีผู้ให้บริการหลายรายปิดตัวลง

cybersecurity ถูกจับตามากขึ้น

ปัจจุบันอาชญากรรมทางไซเบอร์เพิ่มสูงขึ้น ทำให้บริษัทต่างๆได้รับผลกระทบ ทุกอย่างที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ระบบรถไฟ ยายนต์ไฟฟ้า กล้องรักษาความปลอดภัยในบ้านกำลังเป็นที่จับตาของอาชญากร

ทาง Identify Theft Resource Center คาดว่าคดีขโมยข้อมูลส่วนบุคคลจะเพิ่มสูงขึ้น โดยนำข้อมูลเหล่านี้ไปปลอมสร้างบัญชีใหม่เพื่อหลอกลวง นั่นทำให้บริษัททั่วโลกหันมาให้ความสำคัญกับความท้าทายด้านความปลอดภัยบนไซเบอร์มากขึ้น เพราะแม้แต่ LastPass บริษัทรักษารหัสผ่านก็ยังมีช่องโหว่โดนเจาะระบบ

โลกต่อสู้กับ generative AI

ตลอดหลายสัปดาห์ที่ผ่านมามีการเปิดตัวเครื่องมือ generative AI มากขึ้น เช่น Midjourney, Stable Diffusion, Lensa หรือ ChatGPT ซึ่งในอนาคตเราจะเห็นเครื่องมือแบบเดียวกันมากขึ้น ด้วยการนำเอไอมาช่วยสร้างคอนเทนท์ต่างๆและมีความฉลาดมากขึ้นในการอัปเดตแต่ละครั้ง 

ส่วนเรื่องการใช้ประโยชน์ ความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงกฎระเบียบการควบคุมจากภาครัฐก็เป็นสิ่งที่ต้องมาติดตามกันต่อไป

หุ่นยนต์ยังจำเป็นสำหรับบริษัทต่างๆ

หุ่นยนต์ยังคงเป็นทุกอย่าง ทั้งดูแลบ้าน ทำสวน ให้ความบันเทิงเด็ก ส่งอาหาร ซึ่งบางส่วนนั้นทำหน้าที่  face-to-face แทนคน ซึ่งหุ่นยนต์บางส่วนนั้นจะเน้นใช้งานไปที่ภาคอุตสาหกรรม บางส่วนถูกฝึกให้ทำงานเฉพาะอย่าง  หลายบริษัทเองเริ่มพัฒนาหุ่นยนต์สำหรับใช้งานในบ้าน ทำให้หุ่นยนต์เข้ามามีบทบาทในชีวิตมากขึ้น ฟากผู้เชี่ยวชาญหุ่นยนต์ก็จะมีความซับซ้อนมากขึ้น เชื่อมต่อและใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น แต่ตลาดก็ยังไม่ก้าวไปสู่เมนสตรีม

ที่มา https://www.geo.tv/amp/462391-ai-infused-everything-on-show-at-ces-gadget-extravaganza