ในวันที่ 18 พฤษภามนี้ เป็นวันตระหนักรู้ถึงการเข้าถึงอย่างเท่าเทียม (Global Accessibility Awareness Day) ซึ่งจากข้อมูลเดือนมีนาคม 2566

มีคนพิการทั่วโลกอยู่ 16% หรือประมาณ 1.3 พันล้านคน เทียบเท่ากับ 1 ใน 6 คน นอกจากความไม่เท่าเทียมทางสุขภาพแล้ว สิ่งที่ผู้พิการต้องเผชิญยังมีอีกมากมาย ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการเข้าถึงเทคโนโลยี และเพื่อสร้างความเท่าเทียมในการเข้าถึงโลกดิจิทัล Google ได้พัฒนาแอปพลิเคชันและฟีเจอร์ต่างๆ โดยเน้นให้เกิดการใช้งานที่สะดวก และมีการเข้าถึงอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

Action Blocks สำหรับผู้ที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาเพื่อให้สามารถทำสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวันบน Android ได้ง่ายขึ้นด้วยปุ่มที่ปรับแต่งได้บนหน้าจอหลักเพียงปุ่มเดียว โดยผู้ใช้สามารถเปิดใช้ Action Blocks และเลือกกิจกรรมจากรายการที่มีอยู่ภายในแอป หรือพิมพ์กิจกรรมเพิ่มลงไปในการตั้งค่าด้วยตัวเอง ซึ่งจะช่วยให้สามารถทำกิจกรรมเหล่านั้นได้ด้วยการกดเพียงปุ่มเดียว เช่น วิดีโอคอลกับคนสำคัญ ตรวจสอบสภาพอากาศ หรือเปิดคลิปวิดีโอที่ชื่นชอบ

image.png

Action Blocks

Reading mode หรือโหมดการอ่านบนอุปกรณ์แอนดรอยด์ ที่มาพร้อมตัวเลือกหน้าจอที่ปรับแต่งได้ เช่น คอนทราสต์ รูปแบบของฟอนต์ และขนาด และฟังก์ชั่นการอ่านออกเสียงข้อความที่สามารถกำหนดความเร็วได้ ยังช่วยให้ผู้ที่ประสบปัญหาทางการมองเห็น เช่น ตาบอด สายตาเลือนราง หรือมีภาวะผิดปกติทางด้านการอ่าน สามารถติดตามคอนเทนต์ที่ชื่นชอบได้อย่างง่ายดายยิ่งขึ้น

Live Transcribe ที่สามารถแปลงเสียงพูดให้กลายเป็นข้อความแบบเรียลไทม์ได้ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกสำหรับการสนทนาในชีวิตประจำวันของคนหูหนวก หรือผู้ที่มีปัญหาในการได้ยิน ซึ่งมีภาษาให้เลือกกว่า 80 ภาษา และสลับระหว่าง 2 ภาษาได้อย่างรวดเร็ว โดยผู้ใช้สามารถตั้งค่าโทรศัพท์ให้สั่นเมื่อชื่อของผู้ใช้ถูกเรียก มีตัวเลือกในการเพิ่มคำศัพท์ สถานที่ และสิ่งต่างๆ ลงใน Live Transcribe ของผู้ใช้ รวมไปถึงคำที่ไม่มีในพจนานุกรม และฟีเจอร์ที่ช่วยค้นหาการถอดเสียงที่ผู้ใช้บันทึกไว้ รวมไปถึงการแจ้งเตือนเสียงที่มีคุณลักษณะแจ้งเตือนเกี่ยวกับสถานการณ์ที่อาจมีความเสี่ยงและสถานการณ์ส่วนบุคคลโดยพิจารณาจากเสียงที่ดังขึ้นที่บ้าน เช่น เสียงสัญญาณเตือนควัน เสียงไซเรน เสียงเด็กทารก

Sound Amplifier เป็นโปรแกรมขยายเสียงที่ช่วยให้เสียงบนสมาร์ทโฟน Android ชัดเจนขึ้น ช่วยตัดเสียงรบกวนรอบข้าง แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่ปรับเสียงให้ดังเกินไป พร้อมด้วยการตั้งค่าที่ให้คุณปรับแต่งตามความต้องการได้ และยังเพิ่มความสามารถในการใช้ Sound Amplifier ให้เป็นโปรแกรมขยายเสียงแบบพกพาด้วยหูฟังบลูทูธ ซึ่งหมายความว่าคุณสามารถวางอุปกรณ์ของคุณใกล้กับแหล่งกำเนิดเสียงและเพิ่มระดับเสียงโดยไม่รบกวนผู้อื่น นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการขยายเสียงสำหรับแอปอื่นๆ ในสมาร์ทโฟน Pixel เช่น YouTube และ Spotify ได้อีกด้วย

ผู้ใช้งาน Google Maps ในประเทศไทย สามารถดูข้อมูลสถานที่ที่รองรับเก้าอี้รถเข็น (Accessible Places) หรือสถานที่ที่สามารถใช้รถวีลแชร์ได้บน Google Maps เช่น ที่นั่ง ทางเข้าออก ห้องน้ำ ลิฟท์ และที่จอดรถ เป็นต้น รวมทั้งผู้ประกอบการก็สามารถตั้งค่าแอตทริบิวต์ของวีลแชร์เพื่อแสดงให้ผู้ใช้บริการเห็นการช่วยเหลือพิเศษดังกล่าว

ผู้ใช้งาน YouTube สามารถเพิ่มคำบรรยาย ประกอบด้วยข้อความที่มีการพูดในวิดีโอ ซึ่งฟีเจอร์นี้มีประโยชน์มากสำหรับผู้ชมที่มีปัญหาในการได้ยิน

วิธีเพิ่มคำบรรยายวิดีโอ

นอกจากนี้ YouTube ยังเป็นแพลตฟอร์มที่เปิดโอกาสให้กับทุกคนในการสร้างสรรค์คอนเทนต์ ปัจจุบัน มีครีเอเตอร์พิการหลายคนได้ใช้ YouTube เป็นช่องทางแสดงความสามารถที่น่าทึ่งด้วยเช่นกัน ได้แก่ ช่อง GOLF NO HANDS channel (39.7K)

image.png
image.png

GOLF NO HANDS channel (39.7K) “กอล์ฟ” ภราดร รุ่งเรื่อง อายุ 19 ปี กับฉายาสตรีมเมอร์ไร้แขน เด็กหนุ่มผู้บกพร่องทางร่างกายที่สูญเสียทั้งแขนและขาจากอุบัติเหตุ แต่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา ใช้ความชอบและความสามารถทางร่างกายเล่นเกม และสร้างช่อง YouTube โชว์สกิลการเล่นเกมด้วยปาก โชว์ทักษะที่ไม่เป็นรองใคร 

“กอล์ฟ” มีความฝันที่อยากจะเป็นนักกีฬาฟุตบอล แต่กลับประสบอุบัติเหตุไฟช็อตจากเสาไฟฟ้าแรงสูง จนไฟไหม้ทั่วร่างกาย ทำให้สูญเสียขาและแขนทั้ง 2 ข้างไป อุบัติเหตุครั้งนั้นได้เปลี่ยนแปลงชีวิตกอล์ฟในวัยเพียงแค่ 13 ปีเท่านั้น แต่กอล์ฟก็ไม่ย่อท้อ ถึงแม้ว่าร่างกายจะพิการ แต่กอล์ฟก็ยังอยากมีงานทำเพื่อให้มีรายได้ และช่วยแบ่งเบาภาระครอบครัว คุณแม่ของกอล์ฟเล่าว่ากอล์ฟพยายามทุกอย่างเพื่อให้มีรายได้มาแบ่งเบาภาระในครอบครัว พยายามมองหาสิ่งที่ตัวเขาพอจะทำได้ด้วยตัวเองและพัฒนามาเรื่อยๆ จนในที่สุดกอล์ฟได้พบกับจุดเปลี่ยนของชีวิตอีกครั้ง จุดเริ่มต้นการสตรีมเกมของกอล์ฟเริ่มจากน้าชายที่ชื่อ “นิรันดร์ รุ่งเรือง” ที่เห็นกอล์ฟใช้ปากบังคับปากกาเล่นเกม จึงชวนกอล์ฟมาเล่นเกม PUBG จนได้เห็นถึงความสามารถในการเล่นเกมของกอล์ฟที่สามารถเล่นกับคนปกติได้ดี น้านิรันดร์จึงตัดสินใจชวนกอล์ฟมาลองสตรีมอย่างจริงจัง ครั้งแรกของการสตรีมเกมครั้งนั้นมีคนเข้ามาดูสดถึง 7,000 คน และเมื่อจบการสตรีมก็มียอดการเข้าชมสูงกว่า 2 แสนคน ซึ่งมีกระแสตอบรับที่ดีจากผู้ชม ทำให้กอล์ฟมีกำลังใจที่จะทำต่อไป จากความรู้สึกดีนั้นได้ส่งผลต่อสภาพจิตใจ ของกอล์ฟอีกด้วย ทำให้เรื่องราวของกอล์ฟเป็นที่รู้จักจากคนทั่วไป กอล์ฟได้กำลังใจ ได้ฝึกภาษา และสามารถสร้างรายได้จากการสตรีมเกมใด้วย สิ่งที่กอล์ฟและน้านิรันดร์ภูมิใจที่สุดคือการเป็นแรงบันดาลใจให้คนอื่นๆ ที่มีความพิการสามารถหาเลี้ยงชีพตัวเองและครอบครัวได้ ปัจจุบันกอล์ฟ เป็นนักสตรีมเกมส์ผู้พิการที่มีชื่อเสียงจาก GOLF NO HANDS Channel ซึ่งมีผู้ติดตามกว่า 3.97 หมื่น คน

image.png
image.png

Hello Harley (132K) “ฟ้า” วิญธัชชา ถุนนอก พิการตั้งแต่กำเนิดจากความผิดปรกติที่มดลูกของแม่ เหลือเท้าน้อยๆ เพียงข้างเดียวติดกับร่างกายช่วงล่างสั้นๆ ตั้งแต่ช่วงเอวลงไป

ถึงฟ้าจะมีร่างกายที่ไม่ปกติเช่นคนอื่นๆ แต่ “ฟ้า” ก็สามารถให้กำเนิดลูกสาวได้ปกติ ซึ่งในช่วงของการตั้งครรถ์จนก่อนถึงกำหนดคลอด ฟ้าต้องเผชิญกับความยากลำบากต่างๆ เช่น ในประเทศไทยไม่ค่อยมีข้อมูลสำหรับการตั้งครรภ์ของพิการว่าเมื่อตั้งครรภ์แล้วต้องทำอย่างไรบ้าง 

ฟ้ามีจิตใจที่เข้มแข็ม คิดบวก ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขแม้จะเกิดมาพิการโดยกำเนิด และมีปัญหามากมายในการใช้ชีวิตตั้งแต่วัยเด็ก แต่เพราะคุณแม่ที่มักปลูกฝังความคิดเชิงบวกให้เสมอจึงทำให้ฟ้าเติบโตโดยไม่รู้สึกเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น ตอนเด็กๆ ฟ้าโดนเพื่อนแกล้งบ่อยๆ แต่แม่ก็จะปลอบใจทุกวัน

หลังจากเติบโตจนถึงวัยเข้ามหาวิทยาลัย ฟ้าได้ทุนการศึกษาจนจบปริญญาตรี คณะสังคมและอาชญากรรม ที่ MMU แมนเชสเตอร์ ประเทศอังกฤษ  ฟ้าอยากจะเปลี่ยนมุมมองและส่งต่อแรงบันดาลใจให้กับทุกๆ คนโดยไม่เลือกปฏิบัติว่า และส่งต่อแรงบันดาลใจในการมองโลกในแง่ดี ฟ้ามีความตั้งใจที่อยากสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอกเพื่อพัฒนาสังคมไทย ซึ่งเป็นบ้านเกิดของเธอเอง