ด้วยเงินอุหนุนจากภาครัฐทำให้จีนกลายเป็นยักษ์ใหญ่ด้านยานยนต์ไฟฟ้า แต่นั้นก็ตามมาด้วยสุสานรถยนต์ไฟฟ้าในหลายเมืองของจีน ใช้ทิ้งรถยนต์ EV ที่ไม่ได้ใช้งาน
หนึ่งในนั้นคือชานเมืองหางโจว เราเห็นรถยนต์ไฟฟ้าเก่าถูกทิ้งไว้เรียงรายท่ามกลางวัชพืชและกองขยะ ซึ่งเราเห็นสุสานแบบเดียวกันผุดขึ้นในหลายเมืองของจีน แม้ว่าพื้นที่บางส่วนถูกเข้าไปจัดการบ้างแล้ว ซึ่งเหตุการณ์นี้คล้ายกับการล่มสลายของสตาร์ทอัพที่ธุรกิจแชร์จักรยานอย่าง Ofo และ Mobike เมื่อปี 2018 ทำให้มีกจักรยานหลายสิบล้านคันถูกนำไปทิ้งไว้ตามที่ต่างๆ
ซากรถ EV เหล่านี้ก็ไม่ต่างกัน หลักๆแล้วมาจากบริการเรียกรถที่ปิดกิจการไป หรือ อาจจะเป็นรถยนต์ไฟฟ้าตกรุ่น เนื่องจากผู้ผลิตออกรถ EV รุ่นใหม่ที่มาพร้อมแบตเตอรีที่ดีกว่า ขับได้ระยะทางไกลกว่า ทำให้รถรุ่นเก่ากลายเป็นขยะของอุตสาหกรรมที่เติบโตอย่างรวดเร็ว รวมถึงเป็นอนุสรณ์ที่แสดงถึงการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยี
เมื่อ 10 ปีก่อน รัฐบาลจีนได้อุดหนุนผู้ผลิตรถยนต์หลายร้อยรายของจีน ทั้งผู้ผลิตดั้งเดิมและสตาร์ทอัพรายใหม่ เพื่อจูงใจให้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า รวมถึงช่วยอุดหนุนรถยนต์ไฟฟ้าคันละ 60,000 หยวนในรูปแบบของเงินคืน เมื่อซื้อรถใหม่ในหลายเมืองใหญ่ รวมถึงให้เงินทุนบริษัทเรียกรถต่างๆที่นำรถยนต์ไฟฟ้ามาให้บริการ
ในช่วงตั้งไข่นั้นรถยนต์ไฟฟ้าจะวิ่งได้ราวๆ 100 กิโลเมตรต่อการชาร์จหนึ่งครั้งเท่านั้น โดยลูกค้าหลักคือ บริษัทเรียกรถผ่านแอปที่เช่าซื้อรถเหล่านี้ ส่วนคนทั่วไปนั้นจะเน้นซื้อขาด
ยิ่งเวลาผ่านไป คนต้องการซื้อมากขึ้นก็ทำให้อุตสาหกรรมขยายตัวตามไปด้วย ซึ่งจีนถือเป็นผู้นำด้านพลังงานสะอาด ปีที่ผ่านมามีรถยนต์ไฟฟ้าและไฮบริดใช้งานบนท้องถนนมากกว่า 6 ล้านคัน รถยนต์ใหม่ที่ขายได้ในจีน 1 ใน 3 เป็นรถยนต์ไฟฟ้า โดย EV ในจีนคิดเป็น 60% ของทั้งโลก ทางภาครัฐเองก็สนับสนุนด้วยการขยายสถานีชาร์จให้ครอบคลุมในปี 2019 ฝันร้ายก็มาเยือน เมื่อบริษัทเรียกรถในจีนต่างพากกันปิดกิจการ ส่งผลให้ผู้ผลิตรถยนต์ EV จากเดิมที่มี 500 กว่าราย ลดลงมาเหลือแค่ 100 บริษัทเท่านั้น สุสานรถยนต์คือ ผลพวงที่ตามมา
ทางรัฐบาลหางโจวให้คำมั่นว่าจะกำจัดซากรถเหล่านี้ที่สะสมมาตั้งแต่ปี 2019 แต่อีกหลายๆพื้นที่ก็เจอปัญหาสุสานรถเหมือนกัน เช่น ย่านหยูหางและ West Lake ของหางโจว ก่อนที่ Tesla Inc. จะเข้ามาผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในจีน ด้วยการตั้งโรงงานที่เซี่ยงไฮ้เมื่อต้นปี 2020 รถ EV ที่จีนผลิตออกมานั้นจะมีขนาดเล็กและคุณภาพต่ำทำให้ไม่สามารถจูงใจผู้ใช้ทั่วไปได้
Caocao Chuxing คือหนึ่งในบริษัทเรียกรถที่ยังเปิดให้บริการอยู่ ในชื่อบริการว่า Panda โดยได้รับการสนับสนุนจาก Chongqing Lifan Auto Co., folded and Lifan Auto ซึ่งยื่นล้มละลายไปเมื่อปี 2020 แต่ทาง Geely ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ได้เข้ามาซื้อกิจการ มีแบรนด์ Maple ที่เกิดจากความร่วมมือของ Geely และ Lifan
ทาง Fitch Ratings Inc. รายงานว่ามีความเป็นไปได้มากขึ้นที่บางบริษัทจะเริ่มเปิดธุรกิจเรียกรถ ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายในในการนำรถ EV ค้างสต็อกที่ไม่ได้ถูกซื้อโดยสาธารณชน บางบริษัทเริ่มโกงเงินด้วนการปลอมบันทึกรถ EV ที่ไม่มีอยู่จริง เช่น ผลิตรถตัวถังเปล่าที่ไม่แบตเตอรีหรือสร้างรถยนต์ไฟฟ้าที่แบตเตอรีไม่ได้มาตรฐาน เพื่อขอรับเงินอุดหนุนจากภาครัฐ ทาง People’s Daily พบว่าในปี 2016 พบการฉ้อโกงถึง 9,300 ล้านหยวนเลยทีเดียว
ทางรัฐบาลจึงเลิกหั่นเงินอุดหนุนรถยนตืไฟฟ้าทั้งหมดตั้งแต่ปี 2019 ซึ่งบริษัทเรียกรถต่างๆไม่ทันเตรียมพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้จึงทำให้ส่งผลกระทบต่อกระแสเงินสด จนหลายรายต้องปิดตัวลง
สุสานรถยนต์ EV เริ่มเป็นกระแสมาตั้งแต่ปลายปี 2019 หลังจากที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตและสื่อท้องถิ่นเริ่มรายงานข่าว การนำรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้เป็นแท็กซี่และรถสาธารณะถือเป็นการให้ความรู้ว่ารถ EV มีความปลอดภัย รวมถึงกระตุ้นให้เกิดความต้องการซื้อมากขึ้น ผู้ผลิตเองก็ลงทุนในเทคโนโลยีมากขึ้น แต่ปัญหาคือตลาดผู้บริโภคจริงๆยังไม่พร้อมในช่วงเวลานั้น
ที่มา https://www.bloomberg.com/features/2023-china-ev-graveyards/