ทุกปี Apple จะมีการมอบรางวัล App Store Award โดยทางทีมงานบรรณาธิการบริหารของ App Store ซึ่งแต่ละปีก็ถือว่าเป็นงานที่ไม่ง่ายนะ เพราะตอนนี้ใน App Store มีแอปมากกว่า 1.8 ล้านแอป
มาครั้งนี้ทางทีมงาน DialyGizmo ได้มีโอกาสเข้าไปฟังและพูดคุยกับทีมพัฒนาแอป 3 ทีมที่เข้ารอบและสามารถคว้ารางวัล App Store Award มาได้ ซึ่งก็คือ Photomator , Proloquo และ Pok Pok ลองไปดูแนวคิดในการพัฒนารวมถึงจุดเด่นของแต่ละแอปว่าทำไมถึงโดยใจคณะกรรมการในปีนี้
Photomator จาก Pixelmator Team
Photomator แอปแต่งภาพสุดง่ายในคลิกเดียว ด้วยคามสามารถของ AI ซึ่งปีนี้ได้เข้ารอบ หมวดแอป Mac แห่งปี ซึ่งก่อนหน้านั้น Pixelmator จากผู้พัฒนาเดียวกันก็เคยคว้ารางวัล Apple Design Awards ในปี 2019 เรียกว่าการันตีคุณภาพได้เลย
Photomator คือ แอปแต่งภาพที่เรียว่าใช้งานง่าย คลิกเดียวจบ ทำให้เวิร์กโฟลว์การปรับแต่งภาพทั้งเร็วขึ้นและง่ายขึ้น ใช้งานได้ตั้งแต่มือใหม่ที่ยังไม่มีความรู้เรื่องแต่งรุปจนไปถึงระดับมืออาชีพ ซึ่งตอนนี้ยอดดาวน์โหลดมากกว่า 1 ล้านครั้งแล้ว แถมยังใช้งานบน iPhone และ iPad ได้
จุดเด่นของแอปนี้ ก็คือ One Click Feature AI ซึ่งหลายๆฟีเจอร์นั้นกดแค่ปุ่มเดียว AI จะช่วยทำงานให้เสร็จสรรพ โดย AI ที่นำมาใช้นั้นผ่านการฝึกสอนจากรูปภาพกว่า 1 ล้านรูปจึงทำให้เข้าใจว่าผู้ใช้ต้องการอะไร
ฟีเจอร์เด่นๆก็มีดังนี้
- Super Resulation ที่ช่วยอัปสเกลรูปภาพที่ความละเอียดต่ำให้ชัดขึ้นในคลิกเดียว
- Magical Repair tool การลบวัตถุที่ไม่ต้องการในภาพ
- การลด Noise ให้น้อยลง เวลาที่เราไปถ่ายภาพในที่แสงน้อย
- การปรับแต่สีขั้นสูง สำหรับมืออาชีพ
- การแต่งภาพ SDR ให้เป็น HDR
- การแต่งภาพ HDR
ตัวแอปรองรับทั้งไฟล์ JPEG ธรรมดาและไฟล์ RAW อีก 650 ฟอร์แมต ในกรณีที่แต่งภาพแล้วไม่พอใจก็สามารถย้อนกลับไปเป็นรูปต้นฉบับได้ตลอด
แน่นอนว่าแอปแต่งภาพใน App Store นั้นมีเยอะมากแต่ละแอปก็มีจุดเด่นที่ต่างกัน สิ่งที่ทางผู้พัฒนา Photomator ให้ความสำคัญที่สุดคือ ประสบการณ์ในการใช้งานที่ต้องง่ายและสะดวกเพื่อดึงให้คนใช้งานต่อไป
ต่อมาคือการอัปเดตความสามารถใหม่ๆ ซึ่งทีมงานเองก็ยุ่งกับการพัฒนาฟีเจอร์ใหม่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งทีมงานได้ขอบคุณ Apple ที่พัฒนาฮาร์ดแวร์และชิป Apple Silicon ใหม่ทุกปี ซึ่งทำให้การประมวลผลเร็วแรงขึ้น ต่อยอดเป็นฟีเจอร์ใหม่ๆได้มากขึ้น เรื่องสุดท้ายคือ เน้นเชื่อมต่อการทำงานในระบบ Apple System เพื่อให้ผู้ใช้สามารถทำงานข้ามอุปกรณ์ได้อย่างไร้รอยต่อ
มาดูกันอีก 2 แอปที่เข้ารอบในหมวดของ Cultural Impact ที่สร้างแรงกระเพื่อมทางวัฒนธรรมได้ผลักดันให้เกิดวิธีใหม่ๆ ในการเชื่อมโยงถึงกันและเฉลิมฉลองความหลากหลายและความมหัศจรรย์ของโลกใบนี้ผ่านพันธกิจอันทรงพลัง
Proloquo จาก AssistiveWare
แอป Proloquo พัฒนาโดย AssistiveWare คือแอปสื่อสารด้วยระบบการสื่อสารทดแทน [Augmentative and Alternative Communication (AAC)] สำหรับคนที่ไม่สามารถพูดได้ เช่น เด็กออทิสติก คนที่สมองพิการ หรือ กล้ามเนื้ออ่อนแรง สามารถใช้งานได้ทั้งบน iPhone และ iPad
เป้าหมายหลักของการพัฒนาแอปนี้ก็คือ การผลักดันให้ AAC เป็นการสื่อสารที่ทรงประสิทธิภาพและเป็นที่ยอมรับให้เกิดการใช้งานในวงกว้างเพื่อสื่อสารกับคนที่ไม่สามารถ เปล่งเสียงพูดออกจากปากได้ ตัวแอปนั้นจะมีรูปภาพให้เลือก เพื่อนำมาเรียงต่อกันเป็นวลีหรือประโยค จากนั้นแอปจะอ่านออกเสียงให้เพื่อช่วยสื่อสารกับคนอื่นให้เข้าใจ
นอกจากคนที่พูดไม่ได้แล้ว แอปนี้ยังสามารถใช้เป็นเครื่องมือช่วยให้เด็กเล็กที่ยังพูดไม่ได้ สามารถเข้ามาเรียนรู้คำศัพท์ใหม่ๆ ขยายขอบเขตความรู้ด้านภาษาและไวยากรณ์ของตนเอง เพื่อให้ฝึกการพูดได้เร็วขึ้น ทางผู้พัฒนาบอกว่า Learning Curve ของแอปนี้ขึ้นอยู่กับเด็กแต่ละคนค่ะ เพราะแต่ละคนก็มีข้อจำกัดต่างกันทำให้คามไวในการเรียนรู้ไม่เท่ากัน
ตัวแอปนั้นจะรองรับภาษาอังกฤษเป็นหลักก่อนซึ่งจะเลือกสำเนียงได้ว่าอยากให้เป็น Canadian English , Britain English เป็นต้น ส่วนภาษาอื่นก็กำลังพัฒนาแต่ต้องใ้ช้เวลาอีกพักใหญ่ๆถึงจะได้ใช้งานกัน
Pok Pok จาก Pok Pok
Pok Pok คือแอปที่ช่วยเด็กๆ เรียนรู้ สำรวจ และทดลองในห้องเด็กเล่นแบบดิจิทัล ซึ่งก่อนหน้านี้คว้ารางวัล Apple Design Award เมื่อปี 2021 มาแล้ว
ทาง Pok Pok นิยามตัวเองว่าเป็นห้องรวมของเล่นสำหรับเด็กอายุ 2-7 ปี เพื่อให้เด็กๆได้พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ผ่านการเล่นสนุกและเรียนรู้ไปกับของเล่นแต่ละชิ้นเพื่อสร้างความอยากรู้อยากเห็น การเล่นนั้นจะเป็นแบบเปิดกว้างให้ใช้ความคิดสร้างสรรค์อย่างเต็มที่ โดยไม่การตัดสินว่าอะไรถูกหรืออะไรผิด ไม่มีแพ้ชนะ จึงทำให้ไม่เกิดอาการติดเกม
ของเล่นแต่ละชิ้นได้รับการออกแบบมาเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาและทักษะอารมณ์และสังคมที่เด็ก ๆ สามารถนำไปใช้ในชีวิตจริง ของเล่นแต่ละชิ้นจะท้าทายและกระตุ้นความคิดของเด็ก ๆ ขณะที่เด็กเติบโตและมีความอยากรู้อยากเห็นเพิ่มขึ้น ยิ่งเด็ก ๆ ได้เรียนรู้มากเท่าไร ก็จะยิ่งค้นพบสิ่งใหม่ ๆ มากขึ้นเท่านั้น นอกจากนั้นในเกมยังสอดแทรกความหลากหลายต่าง ผ่านตัวบุคคล โครงสร้างครอบครัว เพศ เชื้อชาติ และความสามารถที่หลากหลาย เพื่อให้ทุกเด็กทุกคนเข้ามาใช้งานได้อย่างสบายใจ