หนึ่งในเทรนด์ของ CES 2024 ก็คือ เรื่องของพลังงานสะอาดและความยั่งยืน ซึ่งคนไทยเองก็มีฝีมือไม่แพ้ชาติไหนในโลก งานปีนี้ประเทศไทยได้พาเรื่องของกราฟีนแบตเตอรี ที่บอกได้เลยว่า ผลิตในประเทศไทยได้ 100% นอกจากเป็นพลังงานที่หาได้ในประเทศไทยแล้ว ยังไม่ระเบิดอีกด้วย เป็นแบตเตอรีที่ดีมากเลย

วันนี้ทางทีมงานได้มีโอกาสสัมภาษณ์ ดร.สมภพ ถมโพธิ์ (นักวิจัย) ผู้บริหารของบริษัท K2 Graphene ที่พางานวิจัยของไทยไปไกลถึง CES ครั้งนี้ แถมได้รับความสนใจเยอะมาก ลองไปดูว่าเทคโนโลยีนี้จะน่าสนใจยังไง

ช่วยแนะนำตัวบริษัทว่าทำนวัตกรรมอะไรบ้าง?

บริษัท K2 Graphene เป็นบริษัทใต้ร่มของลาดกระบัง  ตอนนี้เราได้พัฒนาต้นแบบ แบตเตอรีกราฟีนออกไซด์  ที่วัตถุดิบทุกอย่างผลิตขึ้นในประเทศไทย 100% ข้อดีก็คือ วัตถุดิบทุกอย่างเราผลิตได้เองและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสภาพแวดล้อม

ในเฟสแรกนั้น เราพัฒนากราฟีน ให้ใช้งานเป็นแบตเตอรีสำหรับภาคอุตสาหกรรมอุตสาหกรรม กลุ่มที่เป็นโซลลาร์ฟาร์มที่อยู่ในโรงงาน รวมถึงบ้านเรือนที่ต้องการเก็บกักพลังงานจากโซลลาร์เซลล์มาเก็บเอาไว้เพื่อใช้งาน

ข้อจำกัดตอนนี้ คือ แบตเตอรีกราฟีนยังมีคุณสมบัติที่ยังไม่เทียบเท่าแบตเตอรีลิเธียม แต่มีศักยภาพในการพัฒนาต่อได้ ถ้ามีเวลาและเงินทุนสนับสนุนมากพอ เราก็จะสามารถต่อยอดไปถึงจุดที่สามารถชนะแบตเตอรีลิเธียมได้

ได้ข่าวว่าปิดดีลเรียบร้อยแล้วกับบริษัทใหญ่ เตรียมพัฒนาจากผลงานวิจัยไปเป็นสินค้าในเร็วๆนี้

ใช่ครับ ภายในเดือนมกราคม เราจะเซ็นสัญญาร่วมทุนกับบริษัทของประเทศไทย Sun Innovation ซึ่งจะนำเครื่องจักรมาใช้ผลิตในอุตสาหกรรมจริงๆ เป็นปริมาณที่สเกลอัปได้แล้วผลิตในจำนวนที่มากขึ้น

น่าสนใจมากๆ เพราะกราฟีนถือเป็นหนึ่งใน ส่วนสำคัญมากๆของการใช้พลังงานของแบตเตอรี แล้วคู่แข่งของประเทศไทย มีประเทศอื่นๆที่พัฒนานวัตกรรมแบบนี้ออกมาเยอะมั้ยคะ?

ตอนนี้คู่แข่งหลักๆก็มี เกาหลี ญี่ปุ่น จีน แต่ยังไม่มีออกมาในเชิงพาณิชย์ เพราะต้นทุนการผลิตยังสูงอยู่มาก ค่าผลิตกราฟีนตกอยู่ที่กิโลกรัมละ 1- 5 ล้านบาท แต่ไทยสามารถทำได้เองในประเทศ ทำให้ต้นทุนของเราไม่สูงถึงขนาดนั้น ส่งผลทำให้ความสามารถในการแข่งขันของไทยสูงกว่าต่างประเทศ เพราะเราใช้วัตถุดิบในประเทศทั้งหมด

นอกจากนั้น เราสามารถใช้โมเดล BCG เอาของเสียจากอุตสาหกรรมรถยนต์ที่อยู่ในประเทศไทย เอากลับมาแปรรูปเป็นวัตถุดิบของเราได้ ทำให้ต้นทุนของเราจะลดลงไปอีก

เราตั้งเป้าต้นทุนของเราจะอยู่ที่ครึ่งหนึ่งของลิเธียม แล้วประสิทธิภาพจะพอๆกับลิเธียม ทำให้ผู้ใช้จับต้องได้ เข้าถึงได้ง่ายขึ้น แถมเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่ระเบิด ไม่ลุกไหม้

ฟังดูทั้งใจดีกับผู้ใช้และใจดีกับสิ่งแวดล้อม แถมใช้งานได้อย่างปลอดภัย เมื่อก่อนถ้าพูดถึงแบตเตอรีทุกคนจะกลัว ต้องใช้อย่างระมัดระวัง เพราะมีความเสี่ยงที่จะติดไฟหรือระเบิดได้ แต่นวัตกรรมตัวนี้ตอบโจทย์ การทำงานตั้งแต่ปี 2024 ใครๆก็พูดถึงความยั่งยืน ประเทศไหนไม่พูดถึงเรื่องนี้ถือว่าตกเทรนด์มากๆ แต่การที่เอาพลังงานสะอาดแบบนี้มาใช้งาน ต้องสเกลขึ้นไปได้อีกเพื่อให้เข้าถึงในวงกว้าง แล้วปีนี้อยากจะได้ทุนสนับสนุนอีกสักเท่าไหร่คะ?

ตอนนี้เราได้ส่งมอบเทคโนโลยีให้กับบริษัทที่กำลังจะเซ็นสัญญาแล้วครับ ซึ่งบริษัทก็จะรับไม้ตรงส่วนนั้นต่อไป หมายถึงเขาต้องลงทุนในการพัฒนาต่อ

ส่วนในพาร์ตแรก เราจะทำในส่วนของแบตเตอรีเก็บพลังงานในโซลาร์ฟาร์มก่อน ถ้าอยากได้ประสิทธิภาพที่ดีขึ้น เขาจะต้องลงเงินเข้ามาพัฒนาสูตร เราก็จะเป็น R&D พัฒนสูตรให้ดีขึ้น

ข้อได้เปรียบของเราก็คือ เรามีหน่วยวิจัยและพัฒนาในส่วนของมหาวิทยาลัย เพื่อหาสูตรที่ดีขึ้น อย่าลือว่าแบตเตอรีตัวนี้ เราใช้เวลาไม่ถึงปีในการพัฒนา จนไดเต้นแบบที่สามารถนำออกไปใช้ได้จริงแล้ว     ขอแค่มีเวลาและเงินทุนในการทดลอง ในการศึกษาหาสูตรที่ดีขึ้น

เหมือนเราปรุงอาหาร เราต้องลองจนกว่าจะเจอสูตรที่คนชอบรสนี้ รสนี้อร่อย ถึงจะเข้าถึงทุกคน

มาติดตามกันค่ะว่ากราฟีนจะแปลงไปเป็นอะไรบ้าง หลังขายลิขสิทธิ์ตัวสิทธิบัตร Know-How ที่ตัวเองวิจัยและพัฒนาไปแล้ว ยังอยากเห็นว่ายังมีรุปบบใหม่ๆง่ายๆที่ผู้ใช้ทั่วไปได้ทำความรู้จักกับกราฟีนในแบบของคนไทยในอนาคต