ข่าวดีสำหรับคนที่มีความเสี่ยงโรคมะเร็ง ตอนนี้นักวิจัยจาก CSAIL ของ MIT ที่โฟกัสด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ได้พัฒนา AI 2 โมเดลที่สามารถตรรวจจับมะเร็วตับอ่อนได้มีประสิทธิภาพกว่าการวินิจฉัยแบบมาตรฐานทั่วไป
โปรเจคนี้เริ่มพัฒนามาตั้งแต่ 6 ปีที่แล้วโดยมีเป้าหมายพัฒนาเอไอที่ตรวจจับมะเร็งตับอ่อนได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น เพราะที่ผ่านมาผู้ป่วยกว่า 80% กว่าจะตรวจเจอก็สายไปเสียแล้ว
โมเดล AI 2 ตัวนี้จะทำงานร่วมกัน สร้างเป็นโครงข่ายประสาทชื่อว่า “PRISM” ซึ่งมันถูกออกแบบมาเพื่อตรวจจับเซลล์ท่อตับอ่อน [pancreatic ductal adenocarcinoma (PDAC)] เพื่อให้วินิจฉัยได้ระยะเนิ่นๆเพื่อป้องกันมะเร็งตับอ่อนรุกลามจนยากที่จะรักษา
ตอนนี้มาตรฐานการคัดกรอง PDAC ที่ใช้ผู้เชี่ยวชาญนั้นสามารถตรวจจับได้แค่ 10% จากเคสของคนไข้ทั้งหมด เมื่อเทียบกับ “PRISM” ตอนนี้สามารถระบุได้ถึง 35% นั่นเป็นเพราะ PRISM มีความโดดเด่นอยู่ที่การฝึกสอน โดยใช้ข้อมูลสุขภาพจากสถาบันสุขภาพทั่วสหรัฐอเมริกา ครอบคลุมข้อมูลคนไข้กว่า 5 ล้านรายซึ่งปริมาณมากและมีความหลากหลายด้านประชากรกว่าข้อมูลที่โมเดล AI ทั่วไปใช้ในการฝึก
AI นี้ทำงานโดยวิเคราะห์ข้อมูลทางประชากร (เพศ อายุ เชื้อชาติ), การวินิจฉัยโรคก่อนหน้า, ประวัติการรักษาปัจจุบันและที่ผ่านมา และการทดสอบในห้องแล็ป จากนั้นจะเทียบโดยวิเคราะห์กับฐานข้อมูลสุขภาพของคนกว่า 5 ล้านราย โดยมีปัจจัยอื่นๆ เช่น ความเสี่ยงด้านไลฟ์สไตล์
PRISM สามารถช่วยวินิจฉัยได้อย่างรวดเร็ว และเข้าถึงคนในวงกว้างได้ แต่ตอนนี้ยังจำกัดใช้งานเฉพาะใน MIT labs รวมถึงผู้ป่วยบางส่วนที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมทดสอบ การมาของ AI จะช่วยให้คัดกรองผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็ว ช่วยลดภาระของบุคลากรทางการแพทย์ได้มากขึ้น
ที่มา https://www.engadget.com/mit-experts-develop-ai-models-that-can-detect-pancreatic-cancer-early-222505781.html