ปลาไหลถือเป็นปลาอีกชนิดที่คนทั่วโลกนิยมทาน แต่บางครั้งก็ไม่สามารถเลี้ยงได้ทันกัยคนกิน รวมถึงบางสายพันธุ์ตามธรรมชาติเองก็เสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ นั่นจึงทำให้ Forsea Foods สตาร์ทอัพด้านอาหารจากอิสราเอล เอาเทคโนโลยีมาช่วยแก้ปัญหา เพาะเนื้อปลาในห้องแล็ปพร้อมวางขายจริงในปีหน้า

Roee Nir ผู้บริหารและผู้ร่วมก่อตั้งของ Forsea ให้สัมภาษณ์ว่า “ปลาไหลหรืออุนางิ เรียกว่าเป็นอาหารญี่ปุ่นยอดนิยมที่คนเอเชียและคนยุโรปชอบทานกัน แต่ราคาขายของปลาชนิดนี้ค่อนข้างสูง และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสงขึ้น เนื่องจากประชากรปลาตามธรมชาติลดลง 90-95% ตลอดช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้การบริโภคลดลงในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา นั่นหมายความว่า ความต้องการบริโภคปลาไหลไม่สามารถเติมเต็มได้”

ยิ่งเป็นอาหารทะเลปัญหานี้จะทวีความรุนแรงขึ้นไปอีก มีการคาดการณ์ว่า ความต้องการบริโภคอาหารทะเลจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าตัวภายในปี 2050

Forsea จึงได้นำเทคโนโลยีมาช่วยแก้ปัญหาเเพาะเนื้อปลาในห้องแล็ป เพื่อให้ได้รสชาติอาหารที่แท้จริงโดยที่ไม่ต้องฆ่าชีวิตสัตว์น้ำ ทาง Forsea ได้นำเซลล์เอมบริโอของปลาไหลน้ำจืดมาเพาะเลี้ยง ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเพื่อ ก่อเป็นโครงสร้างเนื้อเยื่อสามมิติของกล้ามเนื้อและไขมันได้อย่างเป็นธรรมชาติ

เพื่อแสดงให้เห็นเนื้อปลาจากห้องแล็ปนี้มีรสชาติที่เหมือนธรรมชาติ เขาได้ไปจับมือกับ Katsumi Kusumoto เชฟชาวญี่ปุ่นทำอาหารออกมาสองจาน คือ ข้าวหน้าปลาไหลย่างซอส และ อูนางิโอนิกิริ ข้าวปั้นหน้าปลาไหลขึ้นมา ซึ่งสองเมนูนี้เป็นเมนูยอดนิยมทั่วโลก เพื่อโปรโมตเนื้อปลาแบบใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ก่อนหน้านี้ก็มีบริษัทต่างๆพัฒนาเนื้อปลาประเภทอื่นๆในห้องแล็ปมาแล้ว เช่น Revo Foods ที่พิมพ์เนื้อปลาแซลมอลในห้องแล็บซึ่งวางขายในออสเตรียตั้งแต่ช่วงปลายปีที่แล้ว

เรียกว่าเนื้อสัตว์เพาะในห้องแล็บนั้นเป็นอีกเทรนด์ที่จะมาช่วยแก้ปัญหาอาหารในอนาคต ใครที่ลองทานแล้วก็มาบอกหน่อยว่ารสชาติสู้ปลาไหลจริงได้มั้ย

ที่มา https://nypost.com/2024/01/30/lifestyle/first-lab-grown-eel-meat-unveiled-it-could-be-on-your-plate-soon/