เรียกว่าเป็นอีกทริปสุด Exclusive ที่ซี ได้รับเชิญมาที่สิงคโปร์ ประเดิมในการเปิดตัว Apple Developer Center แห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อปั้นนักพัฒนาในภูมิภาค SEA แบบเดียวที่ประสบความสำเร็จในสหรัฐ อินเดียและจีนมาแล้ว ลองไปเจาะลึกดูว่า Apple Developer Center แห่งนี้จะสร้างแรงกระเพื่อมให้กับนักพัฒนาในภูมิภาคนี้ได้อย่างไร
Apple Developer Center แห่งที่ 4 ของโลก
Apple Developer Center ในสาขาสิงคโปร์ได้เริ่มต้นขึ้นแล้วโดยมีเป้าหมายในการสร้างคอมมิวนิตี้ กับนักพัฒนาในภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อให้เชื่องโยงนักพัฒนาสู่ผลงานที่ดีขึ้น บนความช่วยเหลือของทาง ผู้เชี่ยวชาญจาก Apple ที่คอยให้ความช่วยเหลือ
ก่อนหน้านี้จากคำบอกเล่าของนักพัฒนาไทย ที่ติดอันดับแอปยอดนิยมที่มีผู้ดาวน์โหลดติดอันดับ Top 20 และ ล้ำหน้าด้วยการทำแอปลง Vision Pro ก่อนใคร

( คุณ Jakob Lykkegard Pedersen)
คุณเจคอปบอกเราว่า ออฟฟิศแอปเปิ้ลสิงคโปร์เคยเป็นเหมือน ทีมที่ช่วยผลักดัน โปรโมทแอปเพื่อเข้าตลาดโลกมากกว่า เป็นฮับกลางในการช่วยเหลือนักพัฒนาครบวงจรแบบครั้งนี้ จึงถือว่าประสบการณ์การรวมตัวที่ Cupertino อาจไม่จำเป็นต้องเดินทางไกลเพื่อไปทำให้แอปสำเร็จลุล่วง มาที่นี่จะได้ประสบการณ์เหมือนกันและใกล้เมืองไทยด้วย เดินทางสะดวก
แน่นอนว่า อุปกรณ์ Apple ทั่วโลกตอนนี้มีผู้ใช้มากถึง 2,000 ล้านอุปกรณ์ การทำให้อุปกรณ์สร้างความแตกต่างในตลาดได้คือ การส่งเสริมให้นักพัฒนาทั่วโลกที่สร้างเนื้อหาโดนใจมากมาย พัฒนาให้เท่าทันกับความต้องการของผู้ใช้
ในเอเชียในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีนักพัฒนามากถึง 100,000 คนและมีแอปพลิเคชันบน App Store มากกว่า 90,000 แอป ดังนั้นการผลักดันแอปพลิเคชันและเกมทั้งบน iOS, iPadOS, macOS, watchOS และ VisionOS จึงเป็นภารกิจที่สำคัญในการก่อตั้ง Hub นักพัฒนาแอพพลิเคชัน หรือ Apple Developer Center ที่สิงคโปร์แห่งนี้ขึ้นมา

คล้ายกันนี้มีการเปิดศูนย์ในลักษณะนี้ที่บังกะลอร์ประเทศอินเดีย และเมืองเซี่ยงไฮ้ที่ประเทศจีนมาก่อนแล้ว ในสาขาที่สี่ที่เปิดที่สิงคโปร์แห่งนี้ ต้องท้าวความไปในปี 2014 สิงคโปร์มีการสร้างชุมชนนักพัฒนาหลายพันคน อย่างต่อเนื่อง และประเทศสิงคโปร์เป็นจุดหมายของนักพัฒนาที่ก้าวเท้าเข้าประเทศ และยังมีการปรับตัวปรับใช้เทคโนโลยีมากมายของภาครัฐและเอกชน จนเป็นที่ยอมรับในภูมิภาคด้านการเป็นผู้นำเทคโนโลยี
สภาพแวดล้อมหนุนการสร้างนวัตกรรม
Apple Developer Center สิงคโปร์เรียกว่าทั้งสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ครบครันเอื้อต่อการเรียนรู้โดยแบ่งออกเป็น
หนึ่ง คือ การสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญจากทาง Apple ที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาให้คำแนะนำ รวมไปถึงการสร้างสภาวะการเรียนรู้ และคลาสในการปรึกษาแบบหนึ่งต่อหนึ่ง เพื่อผลักดันให้แอปพลิเคชันประสบความสำเร็จ
สอง คือ สถานที่ การจัดห้องประชุม ลักษณะเหมือนห้องเทรนนิ่งขนาดใหญ่ทั้งหมดสามห้องที่สามารถขยายกำแพงออกเพื่อเปิดกว้างให้เป็นสัมมนา มากกว่า 100 ที่นั่งได้ โดยในห้องที่ไม่สามารถขยายได้ จะมีโต๊ะยาวที่สามารถนั่งเรียนได้ 8 คนจำนวน 5 แถว รวมทั้งหมดรองรับคนได้ 40 คนต่อห้อง โดยตั้งชื่อห้องเป็นชื่อประเทศในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ห้องสิงคโปร์ 1, ห้องสิงคโปร์ 2 และ ห้องสิงคโปร์ 3
ส่วนห้องย่อยจะมีห้องประเภทการใช้งานเจาะจงในการเข้ากลุ่มพูดคุย โดยใช้เป็นชื่อเมือง เช่น Bangkok, Manila, Hanoi ตั้งแทนชื่อห้อง ภายในห้องจะมีโต๊ะประชุม 5 คน พร้อมโซฟาขนาดใหญ่และทีวี รวมถึงไวท์บอร์ดขนาดใหญ่เต็มกำแพงเพื่อพูดคุยไอเดียระดมความคิด, วิดีโอคอนเฟอเรนซ์เพื่อรับคำปรึกษาหารือ โดยในหน้าจอทีวีขึ้นภาพบรรยากาศห้องประชุมที่คูเปอร์ติโน สหรัฐอเมริกา เหมือนกับเป็นการเจาะหน้าต่างหากันระหว่างการพัฒนาที่สิงคโปร์กับศูนย์การพัฒนาที่ยานแม่หลัก สหรัฐอเมริกา
Apple ยืนยันเรื่องของการสร้างความเชื่อมั่นระหว่างกันที่นักพัฒนามารับคำปรึกษาต้องได้รับความเป็นส่วนตัว จึงได้อธิบายเรื่องการติดตั้งเทคโนโลยีลำโพง ที่สามารถปล่อยเสียง white noise ซึ่งตัดเสียงรบกวนที่เกิดขึ้นจากภัยในห้องประชุม ให้คนภายนอกไม่ได้ยิน ติดตั้งบนเพดานหน้าประตูทางเข้าของห้องประชุมด้วยหลายจุดด้วยกัน สิ่งนี้ทำให้เราเห็นความใส่ใจรายละเอียดเล็กๆน้อยๆด้านการกลั่นกรองข้อมูลลับ ที่นักพัฒนากังวล ตามวัฒนธรรมของ Apple รักษาความลับอย่างดีเยี่ยม
การจัดห้องโถง ที่นั่งพัก พูดคุย นั่งเล่นเพื่อเสริมสร้างคอมมูนิตี้ ของการสนทนากันระหว่างนักพัฒนา โซนครัว แบบแคนทีน มองจากสายตาเราสามารถรองรับคนได้ไม่เกิน 30 ถึง 40 คน ในการจัดเลี้ยงรับรองเครื่องดื่มเครื่อง และอาหารเบรค รวมทั้งอาหารกล่อง

สาม คือ เรื่องของลักษณะกิจกรรม มีกี่ประเภท คลาสเรียน และ สัมมนากลุ่มย่อยได้ตั้งแต่ 30 ถึง 100 คน โดยผลักดันการเติบโตของแอปพลิเคชันเฉพาะทางทุกกลุ่มประเภท
ห้อง lab ที่มีอุปกรณ์ Apple ครบทุกไลน์ผลิตภัณฑ์ ที่สามารถให้นักพัฒนาเข้ามาทำการทดสอบ และสอบถามความเป็นไปได้ เพื่อให้การพัฒนาสัมฤทธิ์ผล ตามเป้าหมาย แอบบอกให้อีกด้วยว่าในห้อง lab ที่สิงคโปร์มี Apple Vision Pro เพื่อให้นักพัฒนาสามารถทดสอบการพัฒนาแอปพลิเคชันบน visionOS
ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดแอปพลิเคชัน ชื่อ คุณเจเรมี ได้กล่าวได้ว่า พื้นที่ของศูนย์กันพัฒนาแอปพลิเคชั่นที่อินเดียและประเทศจีนมีความคล้ายคลึงกันมาก เช่นเดียวกันกับที่สิงคโปร์ อาจจะมีความแตกต่างกันแค่เรื่องของขนาด แต่ห้องประชุมและการใช้สอยพื้นที่ แทบไม่ค่อยต่างกัน สิ่งสำคัญก็คือชุมชนและผู้คนท้องที่จะสามารถมาแลกเปลี่ยนทัศนะในการพัฒนาเรียนรู้เครื่องมือใหม่ใหม่ ที่ Apple มีมากมาย อย่างเช่น API กว่า 250,000 API , SDK เพื่อรับคำปรึกษา เข้ากลุ่มการเรียนรู้ในบรรยากาศของผู้เชี่ยวชาญ Apple ที่คอยสนับสนุน หรือนัดหมายเพื่อพูดคุยหนึ่งต่อหนึ่งได้
พื้นที่ส่วนกลางยังมีพื้นที่ของล็อกเกอร์ในการจัดเก็บข้าวของของนักพัฒนาที่มานั่งประชุมซึ่งมีทั้งหมด 32 ช่องใส่จัดเก็บโดยใช้การใส่รหัส เหมือนตู้เซฟในแต่ละล็อกเกอร์ เพื่อบริการนักพัฒนาที่มาใช้บริการภายในพื้นที่ และติดกันก็มีโซนที่เหมือน pantry ไม่สามารถประกอบอาหารได้ แต่มีเครื่องดื่มกาแฟ ไว้ค่อยบริการ
ภายในโซนแคนทีน ที่สิงคโปร์จะมีโต๊ะนั่งสำหรับ 2-3 คนทรงกลมทั้งหมดทั้งหมดสี่โต๊ะ , โต๊ะยาวสำหรับนั่งได้ 8 ที่นั่ง หนึ่งโต๊ะ, และมีโซนเคาน์เตอร์สำหรับยืนพูดคุยกัน ในบริเวณของโซน pantry , และมีเคาน์เตอร์ติดหน้าต่างสำหรับนั่งคนเดียว เพื่อปลีกวิเวก ก็ได้เช่นกัน
Apple Developer Center สร้างคอมมูนิตี้ เสริมศักยภาพนักพัฒนา
นักพัฒนาชาวอินโดนีเซีย ได้แบ่งปันประสบการณ์กับเราโดยการให้ความเห็นว่า การมีของ Apple ที่สิงคโปร์ทำให้ได้รับคำปรึกษาอย่างใกล้ชิดเป็นการยกระดับประสบการณ์การใช้แอปพลิเคชันได้อย่างรวดเร็ว, สถานที่เมื่อเทียบกับต้องบินไปสหรัฐอเมริกาก็ต้องบอกว่าสิงคโปร์เข้าถึงได้ง่ายกว่ามาก, ทำให้การสร้างความสัมพันธ์กับทีมนักพัฒนาเป็นไปได้อย่างราบรื่น, ส่งเสริมการสร้างสรรค์บริการและโซลูชันและมีโอกาสได้พบปะนักพัฒนาฝีมือดีภายในภูมิภาคเดียวกันอีกด้วย

เธอได้บอกเล่าถึงประสบการณ์ของการพัฒนาสามฟีเจอร์หลักลงบนแว่น Apple Vision Pro ที่ได้เริ่มเดินทางตั้งแต่ช่วงปลายปี 2023 ที่ที่ผ่านมาคือฟังก์ชันในการนั่งสมาธิ เหมือนว่าไปนั่งสมาธิอยู่ที่ต่างประเทศ โดยที่ภาพ 360 องศาเป็นภาพสร้างขึ้น 100% ไม่ใช่ภาพถ่ายอย่างที่หลายคนคิด, ฟังก์ชันของการเสพเนื้อหาและร่วมเรียนรู้กับผู้อื่นได้ผ่านแว่นตาให้ได้ประสบการณ์เดียวกัน, ฟังก์ชันในการพัฒนาฝีมือและความสามารถของลูกจ้างและพนักงาน อาทิ soft skill ในการพูดในที่สาธารณะ เป็นต้น
เนื่องจากเธอมีความตั้งใจในการพัฒนาแอปพลิเคชัน MindValley ซึ่งเริ่มต้นพัฒนาตั้งแต่ปี 2015 ในการรวบรวมบทเรียนชีวิตเสริมศักยภาพและการปรับตัวให้กับผู้คน ไม่ว่าจะจะต้องรับมือกับภาวะที่มีความกดดันบนพื้นฐานของจิตใจต้องปรับทัศนคติครั้งใหญ่ ภาวะโรคซึมเศร้า, ภาวะความเขินอายไม่กล้าแสดงออกก็สามารถเรียนรู้ด้วยกันได้ทั้งนั้น

(แอป MindValley)
ที่น่าสนใจคือนักพัฒนาทั้งหมดภายในทีมมาจากหลากหลายสัญชาติตั้งแต่เอสโตเนีย, สหรัฐและอังกฤษ โดยใช้พื้นฐานของความเชื่อใจและความรับผิดชอบในการทำงานร่วมกันบนแพลตฟอร์ม KPI tracking
ความสำเร็จของนักพัฒนาเธอบอกว่าวัดผลได้เมื่อมีผู้ใช้แชร์เรื่องราวที่ตัวเองนำไปปรับใช้ในชีวิตจริงและเกิดผลดีต่อชีวิตของตัวเค้าเอง