เนื่องในโอกาสเปิดงานกิจกรรม e-TRANSACTION LAW MOOT COURT COMPETITION 2024 ที่ทาง สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA จัดขึ้นเพื่อปั้นคนรุ่นใหม่ทางสายกฎหมาย เตรียมความพร้อมสู่สายอาชีพพร้อมทำความเข้าใจกฎหมายธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ให้มากขึ้น

โดยจัดในรูปแบบของศาลจำลอง เปิดโอกาสให้Fต้เถียงปัญหา ‘กฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์’ โดยการแถลงการณ์ด้วยวาจาในชั้นอุทธรณ์ เพื่อให้ใมีความรู้ ความเข้าใจในตัวกฎหมาย และเกิดการนำไปประยุกต์ใช้อนาคต

ทางทีมงาน Dailygizmo เองก็มีโอกาสสัมภาษณ์คุณ ชัยชนะ มิตรพันธ์ ผู้อำนวยการ ETDA ถึงการจัดการแข่งขันในครั้งนี้พร้อมกับความท้ายทายต่างของกฎหมายธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์

คนไทยส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจในกฎหมายธุกรรมอิเล็กทรอนิกส์มากน้อยแค่ไหน?

กฎหมายธุกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีมาตั้งแต่ปี 2544 ในช่วงแรกจะมีข้อติดขัดว่ามันคืออะไร ต่อมาเริ่มมีความเข้าใจมากขึ้นว่า ส่งอีเมลถือเป็นการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ การส่งแฟกซ์ถือเป็นการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

พอคนเริ่มเข้าใจแล้ว ประเด็นถัดมาคือ หน่วยงานที่ตรวจสอบเขาจะเชื่อไหม เวลาที่เราส่งอีเมล ส่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ไปให้ดูก็มีความกังวลกัน

เราต้องไปทำความเข้าใจกับหน่วยงานตรวจสอบ อย่างเช่น สตง. กรมสรรพากร เป้นต้น เขาก็จะมีความเข้าใจมากขึ้น ถึงวันนี้หน่วยงานของรัฐมีความเข้าใจ หน่วยงานเอกชนมีความเข้าใจลึกซึ่ง ประชาชนมีความเข้าใจถึงการใช้งาน แต่ยังไม่เจอกรณีของการโต้แย้งมากนัก จึงมีความไม่มั่นใจใช้ไปแล้วเป็นอย่างไร ได้ผลไหม

ดังนั้นในความเข้าใจพื้นฐานคนส่วนใหญ่ในประเทศมีความเข้าใจแล้ว แต่อาจจะมีความกังวลว่าเมื่อใช้แล้วผลทางกฎหมายจะเป็นอย่างไร เวลามีข้อโต้แย้งอะไรเอาไปใช้ได้ อะไรใช้ไม่ได้ เป็นสิ่งที่ ETDA ต้องทำงานต่อในการให้ความรู้ 

ช่วยยกตัวอย่างกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นแล้ว ที่ทำให้ ETDA สนใจ จำเป็นต้องสร้างความเข้าใจในกฎหมายธุกรรมอิเล็กทรอนิกส์

กรณีที่คนกดเงินสดล่วงหน้าจากตู้ ATM ส่วนใหญ่จะต้องเสียบบัตร กดรหัสผ่าน แล้วกดเลือกเมนูต่างๆว่าเราต้องการถอนเงินสดล่วงหน้า มีคำถามเกิดขึ้นว่า การทำแบบนี้กฎหมายรองรับหรือเปล่า ถือเป็นการกู้เงินตามกฎหมาย เพราะไม่ใช่เงินของเรา เป็นการเบิกเงินสดล่วงหน้าในทางกฎหมายต้องเป็นการกู้ยืมเงินในการกู้ยืมเงินควรจะต้องมีสัญญากู้ยืม สัญญาต้องมีการลงนามซึ่งเป้นเงื่อนไขทางกฎหมาย

มีเคสเกิดขึ้นที่เป็นข้อโต้แย้งทางกฎหมาย มีการพิจารณาในระดับศาลฎีกา ว่าการกดเงินสดล่วงหน้าที่ตู้ ATM ถือเป็นการกู้ยืมเงินตามกฎหมาย การที่เรากดพิน เสียบบัตรถือว่าเป็นการยืนยันตัวตน มีการลงลายมือชื่อแล้ว อันนี้เป็นเคสตัวอย่างที่ทำให้หลายคนมีความเข้าใจมากขึ้น

โครงการ e-TRANSACTION LAW MOOT COURT COMPETITION 2024 มีแนวคิดอย่างไรบ้าง?

กฎหมายธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์หลายคนทราบว่าใช้สื่อออนไลน์ทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ได้ แต่ยังมีความไม่ชัดเจนในอีกหลายประเด็น เพราะว่ายังไม่มีการขึ้นสู่กระบวนการพิจารณาของศาล ดังนั้นคนจะไม่มั่นใจเหมือนเวลามีเคสที่ศาลพิจารณาแล้ว อะไรทำได้ไม่ได้ อะไรทำถูกไม่ถูก ส่วนใหญ่จะเป็นความเห็นทางกฎหมายของหน่วยงานราชการ ของบริษัทที่ปรึกษากฎหมาย

กิจกรรมครั้งนี้เรามีวัตถุประสงค์จะให้นิสิต นักศึกษาสายกฎหมาย มีความเข้าใจตัวกฎหมายและประเด็นที่มีความไม่แน่นอน เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ทำวิจัย ค้นหาข้อมูลเพื่อนำมาใช้โต้เถียงกัน ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์มาทำแนวทางในการวินิจฉัยต่อในอนาคต

เราอยากให้เด็กที่อยู่ในสายนิติศาสตร์ มีความรู้ความเข้าใจกฎหมายธุกรรมอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น เพราะกฎหมายธุกรรมอิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราทุกคน ไม่ว่าจะเป็นการใช้โซเชียลมีเดีย การค้นหาสินค้าหรือบริการทางออนไลน์

คนทั่วไปโดยเฉพาะนักกฎหมายเอง อาจจะไม่ได้เข้าใจประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายธุกรรมอิเล็กทรอนิกส์อย่างลึกซึ้งเพียงพอ การเอาข้อมูลไปใช้ในชั้นศาล การโต้แย้งโต้เถียงในชั้นศาล เอาเหตุผลอะไรมาใช้ในการโต้แย้ง

การจัด Moot Court ในครั้งนี้จะทำให้นักศึกษาเข้าใจ เนื้อหาของตัวกฎหมาย เข้าใจประเด็นของกฎหมายโดนจะได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ที่นำไปใช้จริง ไม่ว่าจะเป็นทางผู้พิพากษา อัยการ สำนักงานที่ปรึกษากฎหมาย ก็จะมาร่วมกันให้ความรู้ รับฟังและให้คะแนนดูว่าการโต้เถียงในปัญหาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายธุกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อะไรเป็นสิ่งที่สำคัญ อะไรเป็นสิ่งที่ศาลยอมรับ

ทาง ETDA มีส่วนสร้างความรู้ความเข้าใจกฎหมายอย่างไรบ้าง?

ถ้าหากเราไม่จัดกิจกรรมนี้ นิสิตนักศึกษาสายกฎหมายอาจจะไม่ได้ใshความสำคัญกับกฎหมายธุกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เพราะกฎหมายมีหลายเรื่องมาก จะทำให้เข้าใจกฎหมายฉบับนี้มากขึ้น รวมถึงอาจารย์ที่เกี่ยวข้องต้องมีความเข้าใจในกฎหมายฉบับนี้มากขึ้น

ในระดับคณะ ในระดับสถาบันการศึกษา ก็จะให้ความสำคัญกับกฎหมายธุกรรมอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น เพราะมีกิจกรรมการแข่งขัน มีเงินรางวัล 

เนื่องจากเป็นเรื่องใกล้ตัวมากๆ เวลาที่นักศึกษากลับไปที่บ้าน บางทีมีเหตุการณ์เกิดขึ้นที่บ้าน เช่น พ่อแม่กดพินในแอป เวลามีปัญหาก็จะช่วยได้โดยใช้ข้อมูลจากกฎหมายฉบับนี้

ตอนนี้เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทาง ETDA มีมาตการยกระดับกฎหมายอย่างไรบ้างให้ทันต่อเหตุการณ์?

มาตรการระยะสั้นก็จะมีการศึกษาก่อนว่าเทคโนโลยีที่เดินหน้าไป ทำงานอย่างไร แล้วมีผลต่อการใช้ชีวิตของประชาชน, หน่วยงานของรัฐ, หน่วยงานเอกชนอย่างไร พอเราเริ่มเข้าใจว่าใช้อย่างไร ต่อมาคือการประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น อย่างเช่น  อาจโดนหลอกทำให้เกิดความเข้าใจผิด ข้อมูลผิดพลาดในการใช้เทคโนโลยี พอเราเข้าใจประเด็นแล้วก็จะมีกลไกในการเฝ้าระวัง มี 1212 ในการรับเรื่องร้องเรียน ดังนั้นคนที่มีปัญหาหรือคำถามโทรเข้ามาได้

เราจะใช้กลไกเหล่านี้ในการเฝ้าระวังว่า ประเด็นศึกษาที่เราพบความเสี่ยงเกิดขึ้นจริงไหม ถ้าเกิดขึ้นจริงเราจะต้องมีมาตรการในการรองรับ ก็จะมีหลายขั้นตอน เช่น การออกเป็น อินโฟกราฟิกให้ความรู้ อะไรใช้อะไรไม่ใช่ อะไรถูกอะไรผิด การออกเป็นแนวทางปฏิบัติ Code of conduct หรือ Best Practise ให้ทำตาม เพื่อให้มั่นใจมากขึ้นว่าจะไม่ผิดพลาด จะไม่โดนหลอก ไม่โดนโกง ในทางขนานกันก็นำมาตรการที่ได้ผลมาเตรียมเป็นร่างกฎหมาย หมายความว่าถ้าบางมาตรการที่ได้ผลก็ให้เดินไป มาตรการที่ไม่ได้ผลอาจจะต้องยกระดับเป็นกฎหมายเพื่อบังคับใช้ เพราะมาตรการเราไม่ได้บังคับ เพียงแค่ส่งเสริมให้ทำตาม

เห็นว่าจะมีการแก้ไขกฎหมายเพื่อรองรับ Digital ID ด้วยเพื่อให้รองรับ Digital Wallet

กฎหมายปัจจุบันรองรับ Digital ID อยู่ แต่รายละเอียดอาจจะไม่สอดคล้องกับกฎหมายแม่แบบของต่างประเทศซะทีเดียว จึงต้องปรับปรุงในส่วนนี้อีกเล็กน้อย ส่วน Digital Wallet ตามที่เราเข้าใจน่าจะเป็นวอลเล็ตด้านการเงิน

ทางด้านการเงินเองก็จะมีธนาคารแห่งประเทศไทยมีหน้าที่ในการกำกับดูแล จะมีกฎหมายรองรับอยู่ เช่น e-money, e-payment ซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของแบงก์ชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ทาง ETDA มีส่วนเข้าไปช่วยเฝ้าระวังด้วยหรือเปล่า?

ในมุมของการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้อง เราเข้าไปเฝ้าระวังก็ได้ แต่ต้องมีการพูดคุยกับหน่วยงานที่กำกับดูแล จะได้ไม่ทำงานซ้ำซ้อน แย่างตัวกฎหมายแพลตฟอร์มดิจิทัลก็มีการพูดคุยกันในลักษณะนี้ มีหน่วยงานที่ชัดเจนในการกำกับดูแลก็คือ แบงก์ชาติ กลต. สองหน่วยงานนี้มีการกำกับดูแลแพลตฟอร์มในเรื่องเทคโนโลยีอยู่แล้ว ETDA ไม่จำเป็นต้องไปทำงานซ้ำซ้อนอีก กฎหมายก็มีการยกเว้นอย่างชัดเจน ดังนั้นในการเฝ้าระวังก็จะมีการพูดคุยกันว่าแบ่งงานกันยังไง

ถ้าคนมีปัญหาการล่อลวงทางธุรกิจต้องปรึกษาหน่วยงานไหน?

ตอนนี้ที่กระทรวงดิจิทัลก็จะมีหมายเลขหลักก็คือ 1441 จะให้ความสำคัญเป็นอย่างแรกกับการหลอกลวงเกี่ยวกับการเงิน หลอกโอนเงิน Scamเกี่ยวกับการหลอกโอนเงิน บัญชีม้า

เนื่องจาก 1441 ดำเนินงานภายใต้กระทรวงดิจิทัลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็จะมีกลไกที่สามารถดำเนินการได้เร็ว ในการยึดอายัติบัญชีม้า สืบหาผู้กระทำความผิดเพราะมีความร่วมมือตามกฎหมาย ทั้งธนาคารแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย กสทช. บริษัทโทนคมนาคม ตำรวจ DSI ปปง หน่วยงานเหล่านี้มาช่วยดำเนินการเพื่อแก้ปัญหานี้ให้รวดเร็ว

ถ้าเป็นปัญหาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง อาจจะเป็นการหลอกลวงจากการค้าขายออนไลน์ ซื้อของออนไลน์ หรือเรื่องอื่นๆทั่วไป สามารถติดต่อมาไ้ที่เบอร์ 1212 แต่ 1212 กับ 1441 ก็มีการทำงานคู่กัน หมายความว่าถ้าโทรมาที่ 1212 แล้วมีความเกี่ยวข้องกับ 1441 ก็จะโอนสายย้ายกัน ทำงานคู่กันหรือรับเรื่องแทนกันได้ เพื่อให้อะไรที่เกี่ยวกับบัญชีม้าดำเนินการได้เร็วก็เลยมีสายเฉพาะกิจเพื่อให้แก้ปัญหานี้ได้เร็ว

ดูเหมือนว่าปีนี้เป็นปีที่โลกเผชิญความท้าทายด้านการปรับตัวของแพลตฟอร์มดิจิทัลกับ AI ค่อนข้างเยอะ ในประเทศไทยทาง ETDA ก็มีบทบาทสำคัญมาก ปัจจุบันนี้เรากำลังเผชิญกับปัญหาและความท้าทายอะไรบ้าง

การกระจายของเทคโนโลยีที่ไม่จำกัดอยู่ในขอบเขตของประเทศเป็นความท้าทายสูงมาก เนื่องจากไทยเป็นประเทศผู้ใช้เทคโนโลยี การที่เทคโนโลยีและบริการดิจิทัลเข้ามาอยู่ในประเทศ เราคงต้องมาดูเรื่องของความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง เทคโนโลยีต่างๆเหล่านี้ เมื่อมาอยู่ในชีวิตประจำวันแล้วทำให้เกิดความเสี่ยงอะไรบ้าง อย่างเช่น เทคโนโลยีในการนำทางรถ มันอาจประเมินข้อมูลผิดพลาดว่าจะให้เราไปนัดทัน แต่ความจริงแล้วไปไม่ทัน  ไปเส้นทางผิดหรือทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ นี่คือความเสี่งจากการใช้เทคโนโลยีที่เราต้องตระหนักมากขึ้น

อยากให้ฝากโครงการ e-TRANSACTION LAW MOOT COURT COMPETITION 2024

ในปีนี้ ETDA เป็นหน่วยงานภายใต้กระทรวงดิจิทัล จัดโครงการ Moot Court ให้นิสิต นักศึกษาในคณะนิติศาสตร์ได้มีความเข้าใจในกฎหมายธุกรรมอิเล็กทรอนิกส์มากยิ่งขึ้น

การทำธุกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในชีวิตประจำวันของเรา มีข้อดี มีข้อจำกัดอะไรบ้าง แล้วถ้ามีข้อพิพาธเกิดขึ้น เราจะใช้เหตุใช้ผลโต้เถียงกันอย่างไรในชั้นศาล ก็จะทำให้เราเกิดความกระจ่างในการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น

อยากให้ผู็ที่สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการ โดยรวมทีม 2-3 คน จะมีกระบวนการให้ความรู้ และทดลองโต้เถียงกันในปัญหาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายธุกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในศาล