จากข้อมูลของ Prison Policy Institute พบว่า สหรัฐฯ มีอัตราการจำคุกต่อประชากร 100,000 คนในสหรัฐสูงกว่าประเทศอื่นๆ ใน NATO แถมยังสูงกว่าอีก สหราชอาณาจักร โปรตุเกส แคนาดา ฝรั่งเศส และเบลเยียม รวมกันอีก ซึ่งการดูแลคนกลุ่มนี้ต้องใช้งบประมาณสูงมาก
เพื่อแก้ปัญหานี้ทาง Hashem Al-Ghaili นักชีววิทยาระดับโมเลกุลและนักสื่อสารวิทยาศาสตร์จากเยเมน ได้แรงบันดาลใจจากการให้สัมภาษณ์กับ Wired: เพื่อ สร้างคุกเสมือนจริงขึ้นมาแทนคุกจริง ซึ่งแนวคิดก็คือการสวมแว่นตา VR ให้กับนักโทษ
Al-Ghaili นำเสนอแนวคิดการจองจำด้วยระบบประสาทที่มีชื่อว่า Cognify โดยได้โพสต์วิดีโอลงใน Instagram และ YouTube เพื่อเสนอไอเดีย แทนที่จะกักขังนักโทษไว้ในคุกเป็นเวลานาน
แต่นักโทษจะถูกจำคุกไม่กี่นาที โดยการสวมแว่นตา VR จากนั้นจะถูกปลูกฝังความทรงจำเทียมในสภาพแวดล้อมเสมือนจริง ระบบจะสร้างเนื้อหาที่สร้างโดย AI แบบกำหนดเองซึ่งจะถูกแปลงเป็นข้อมูลภาพและส่งไปยังนักโทษ สมองตลอดจนส่วนของ DNA และ RNA ที่เชื่อมโยงกับการสร้างความจำเพื่อสร้างรูปแบบความจำระยะยาวใหม่ขึ้นมา เรียกว่าเป็นการฟื้นฟูอาชญากรมากกว่าการลงโทษ
ต้องบอกว่านี่เป็นแค่การเสนอแนวคิดเท่านั้นเพราะปัจจุบันยังไม่มีเทคโนโลยีดังกล่าว แต่ทาง Al-Ghaili อ้างว่าการทดลองในสัตว์พิสูจน์ว่ากระบวนการนี้สามารถใช้ได้กับมนุษย์ในอนาคต ซึ่งเขายกตัวอย่างงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
นอกจากนั้นยังมีประเด็นด้านผลกระทบทางจริยธรรมที่ต้องพิจารณา หากแก้ไขได้ก็จะเริ่มทดสอบใช้งานเทคโนโลยีดังกล่าวได้
ที่มา https://www.engadget.com/the-ai-prison-of-the-future-is-just-an-outer-limits-episode-200937257.html?_fsig=e7CG20P9zxXtl0dixJEGWg–%7EA