Circle to Search เป็นฟีเจอร์ Google ใช้เทคโนโลยี AI เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับรูปภาพได้ทันที ซึ่งยังดูได้ถึง ข้อมูลเมตา แหล่งที่มา ตรวจสอบว่ารูปภาพนั้นเป็นรูปจริงหรือไม่
ในบล็อกโพสต์ของ Google ได้เผยแพร่ข้อมูลของฟีเจอร์ “About this image” ใน Circle to Search และ Google Lens ว่า ผู้ใช้สามารถเข้าถึงบริบทของรูปภาพ ไม่ว่ารูปนั้นจะมีที่มาจากไหนก็ตาม
Google ยกตัวอย่างว่า “หากเพื่อนส่งรูปภาพก้อนเมฆที่ดูคล้ายยูเอฟโอมาให้เราทางข้อความ แล้วเราอยากรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น” ผู้ใช้อุปกรณ์ Android ที่รองรับ สามารถเปิดใช้งาน Circle to Search วงกลมหรือแตะที่รูปภาพที่ต้องการ เพื่อค้นหา จากนั้นปัดขึ้นบนผลการค้นหาของ Google เพื่อเข้าถึงแท็บ “เกี่ยวกับรูปภาพนี้” ใหม่
ในนี้จะมีข้อมูลเพื่อช่วยให้ผู้ใช้เรียนรู้เพิ่มเติม เช่น แหล่งที่มาของภาพ วิธีที่ไซต์อื่นใช้และอธิบายภาพเดียวกันนั้น รวมถึงข้อมูลเมตาของภาพอย่างชื่อช่างภาพ และวิธีการสร้างภาพ จนไปถึงรูปนี้ใช้เครื่องมือ AI ประเภทใดสร้างและสร้างขึ้นเมื่อใด
แน่นอนว่าข้อมูลเมตาไม่ใช่สิ่งที่ไร้ข้อผิดพลาดอย่างที่ Google ยอมรับ “สิ่งสำคัญคือต้องจำไว้ว่าผู้ที่โพสต์รูปภาพสามารถเพิ่มหรือลบข้อมูลเมตาได้” Google กล่าว หากบุคคลนั้นไม่ได้ลบหรือแก้ไขข้อมูลเมตา
“About this image” สามารถระบุได้ว่ารูปนั้นถูกสร้างด้วย AI โดยดูจากลายน้ำ SynthID ของ Google DeepMind ฝังอยู่ในพิกเซลของรูปภาพ นี่เป็นข้อควรระวังที่สำคัญ เนื่องจากลายน้ำนี้ปรากฏเฉพาะในรูปภาพ AI ที่สร้างด้วยเทคโนโลยีของ Google เท่านั้น รวมถึง Imagen 2 และ Gemini การระบุรูปภาพ AI ที่มีขอบเขตกว้างขึ้นนั้นต้องใช้ข้อมูลเมตาที่ไม่ได้แก้ไขและการรับผิดชอบจากบริษัท AI อื่นๆ ซึ่งจนถึงขณะนี้ยังพิสูจน์แล้วว่าไม่สอดคล้องกัน
ตอนนี้ “About this image” เปิดให้ใช้งานแล้วใน 40 ภาษาทั่วโลก โดย Circle to Search นั้นมีให้ใช้งานบนอุปกรณ์ Android บางรุ่น รวมถึงสมาร์ทโฟน Samsung และ Pixel รุ่นล่าสุด ส่วน Google Lens มีให้ใช้งานผ่านแอปบน Android และ iOS
ที่มา https://petapixel.com/2024/07/31/googles-circle-to-search-can-now-sometimes-sniff-out-fake-photos/