การแข่งขันฟุตบอล Premier League อังกฤษ จะเปลี่ยนระบบตรวจจับล้ำหน้า VAR หันมาใช้สมาร์ทโฟนของ Apple แทน
Premier League หลายแมตช์นั้นทำเอาคนดูหัวร้อนเป็นประจำ เนื่องจากระบบตรวจจับการล้ำหน้าอย่าง VAR ซึ่งบางครั้งก็ตัดสินค้านสายตาคนดู นั่นจึงทำให้ฤดูกาลนี้จึงมีการนำเทคโนโลยีใหม่ที่แม่นยำกว่ามาใช้แทน ซึ่งเทคโนโลยีนี้ขับเคลื่อนด้วย iPhone โดยเทคโนโลยีจับล้ำหน้าแบบกึ่งอัตโนมัติใหม่นี้จะเริ่มใช้ในช่วงปลายฤดูกาล 2024–25 ซึ่งจะมาแก้จุดด้อยของ VAR ตั้งแต่ความล่าช้า ความแม่นยำ รวมถึงข้อผิดพลาดของกระบวนการตัดสินใจของกรรมการ
ระบบนี้มีชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า Dragon พัฒนาโดย Genius Sports และ Second Spectrum ซึ่งเป็นที่รู้จักในวงการบาสเก็ตบอล ในการติดตามและเก็บข้อมูลนักกีฬา
เทคโนโลยี้จะใช้กล้องจาก iPhone หลายสิบเครื่อง มาช่วยเก็บภาพวิดีโอเฟรมเรทสูงๆ จากหลายๆ มุม จากนั้นจะใช้ซอฟท์แวร์ AI ทำให้ไอโฟนทุกเครื่องสื่อสารและทำงานร่วมกันในการประมวลผลข้อมูลภาพ
การทำงานของ Dragon
Genius Dragon จะใช้กล้อง iPhone อย่างน้อย 28 ตัวในทุกสนามกีฬาของพรีเมียร์ลีก (บริษัทระบุว่าอาจมีการใช้กล้องเพิ่มเติมในสนามกีฬาบางแห่งตลอดทั้งปี) ระบบนี้ใช้กล้องของ iPhone 14 หรือใหม่กว่า โดยนำตัวเครื่องมาใส่ในเคสกันน้ำพิเศษที่ติดตั้งพัดลมระบายความร้อนและเชื่อมต่อกับแหล่งจ่ายไฟ ซึ่งทีมงานได้ออกแบบขาตั้งที่สามารถติด iPhone ได้สูงสุด 4 เครื่อง
เมื่อวาง iPhone ไว้รอบสนามแล้ว ก็จะสามารถจับภาพวิดีโอจากมุมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ Dragon สามารถจับการเคลื่อนไหวได้บนร่างกายของนักกีฬาแต่ละคนได้ตั้งแต่ 7,000 – 10,000 จุดได้ตลอดเวลา จากนั้นนำมาสร้างแบบจำลองในรูปแบบฝาแฝดดิจิทัลเสมือนจริง โดยนำปัจจัยต่างๆ เช่น รูปร่าง มวลกล้ามเนื้อ ความแตกต่างของโครงกระดูก และแม้แต่การเดิน มาพิจารณาทำให้การตัดสินล้ำหน้าแม่นยำขึ้น
หากอยากย้ายตำแหน่งขาตั้งกล้องเพื่อเปลี่ยนโซนให้ครอบคลุมในสถานที่บางแห่งก็ทำได้ แต่โดยปกติแล้วจะไม่ขยับในขณะที่แข่งขันอยู่ เพื่อให้แน่ใจว่าครอบคลุมพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม หลีกเลี่ยงความจำเป็นในการปรับการเปรียบเทียบใหม่
Dragon ใช้ประโยชน์จากความสามารถของ iPhone ในการบันทึกวิดีโอด้วยอัตราเฟรมที่สูงมาก ช่วยลดปัญหาการบดบังจุดเตะลูกบอลที่แม่นยำได้ นอกจากนั้นยังเก็บวิดีโอได้ที่เฟรมเรทสูงสุดถึง 200 เฟรมต่อวินาที (ในช่วงแรกจะเก็บวิดีโอที่ 100 เฟรมต่อวินาทีก่อน เพื่อรักษาสมดุลย์ระหว่างความหน่วง ความแม่นยำและค่าใช้จ่าย) โดยระบบสามารถตรวจจับเหตุการณ์สำคัญได้โดยอัตโนมัติ เช่น การตัดสินล้ำหน้า
อีกหนึ่งเบื้องหลังคือ AI ชื่อว่า “Object Semantic Mesh” ที่ทำงานในระบบหลังบ้าน ซึ่ง AI นี้ถูกใช้ในบาสเก็ตบอลมาก่อนแล้ว ไม่ใช่แค่จับภาพการเคลื่อนไหวเท่านั้น แต่ยังสร้างบริบทให้กับการเคลื่อนไหวเหล่านั้นแบบเรียลไทม์ รวมถึงเรียนรู้จากการเคลื่อนไหวเหล่านั้น
ฟุตบอลเป็นเพียงสนามทดสอบแรกของเทคโนโลยีนี้ กีฬาแทบทุกประเภทสามารถใช้ประโยขน์จากการสร้างฝาแฝดทางดิจิทัลได้ และ Genius หวังว่าจะบุกสนามบาสเก็ตบอลและอเมริกันฟุตบอลในเร็วๆ นี้